ตลาดหุ้นไทยและต่างประเทศผันผวนในเดือนมิ.ย. แต่กองทุนตราสารหนี้ขึ้นแท่นผลตอบแทนท๊อปฟอร์มบวกต่อเนื่อง 6 เดือนติดต่อกัน K WEALTH ยังแนะนำลงทุนในตราสารหนี้ในปีนี้ จากหลายความเสี่ยงที่รออยู่ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มเป็นขาลงในครึ่งปีหลัง

อัปเดตภาพรวมกองทุนตราสารหนี้ ฉบับเดือน ก.ค. 68

ตลาดหุ้นไทยและต่างประเทศผันผวนในเดือนมิ.ย. แต่กองทุนตราสารหนี้ขึ้นแท่นผลตอบแทนท๊อปฟอร์มบวกต่อเนื่อง 6 เดือนติดต่อกัน K WEALTH ยังแนะนำลงทุนในตราสารหนี้ในปีนี้ จากหลายความเสี่ยงที่รออยู่ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มเป็นขาลงในครึ่งปีหลัง

กดฟัง
หยุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยและสหรัฐฯ ปรับตัวลงในเดือนมิ.ย. จากความคาดหวังการลดอัตราดอกเบี้ย และความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงประเด็นทางการเมือง
  • กองทุนตราสารหนี้ที่เราแนะนำทำผลตอบแทนบวกต่อเนื่อง 6 เดือนติดต่อกันในปีนี้
  • K WEALTH มองว่าตราสารหนี้ยังเป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจในปีนี้ จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ยังเป็นขาลง แม้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะเพิ่งทำจุดสูงสุดใหม่ไป แต่ความเสี่ยงหลายประการยังคงอยู่ เช่น ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ความเสี่ยงด้านนโยบายการค้า ความไม่แน่นอนของนโยบายการเงิน ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดผันผวน ดังนั้นเรายังคงแนะนำลงทุนในกองทุนตราสารหนี้อย่าง K-SF-A, K-SFPLUS-A, K-FIXED-A และ K-FIXEDPLUS-A เพื่อลดความผันผวนของพอร์ต

Bond Yield สหรัฐฯ และไทยปรับตัวลดลงในเดือนมิ.ย. หนุนกองทุนตราสารหนี้

  • ในเดือนมิ.ย.อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ (US Bond Yield) ปรับตัวลดลง โดย Bond Yield 10 ปี ปรับตัวลดลงมาแตะ 4.22% และ Bond Yield 2 ปี ปรับตัวลดลงมาแตะ 3.71% นับว่าเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน โดย นักลงทุนมองว่าโอกาสที่ Fed จะลดอัตราดอกเบี้ยมีมากขึ้น จากเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงต่อเนื่อง ตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวส่งสัญญาณที่อ่อนแอ อีกทั้งถ้อยแถลงของคณะกรรมการ Fed บางรายที่เริ่มออกมาในโทนที่ผ่อนคลาย (Dovish) มากขึ้นปัจจุบัน ตลาดมองว่า Fed มีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นจากเดือนพ.ค. ตลาดมองไว้ที่ 0.5% เป็น 0.65% ภายในสิ้นปีนี้ นอกจากนี้ Fund flow ยังคงไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างตราสารหนี้ จากความตึงเครียดในตะวันออกกลาง ทั้งนี้แม้อิสราเอลและอิหร่านบรรลุข้อตกลงหยุดยิง แต่ Bond Yield สหรัฐฯ ยังปรับตัวลดลงต่อ เนื่องจากนักลงทุนเริ่มกันไปสนใจเส้นตายการระงับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ในวันที่ 8 ก.ค.
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทย (TH Bond Yield) ในเดือนมิ.ย. ปรับตัวลดลงมาก โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีปรับตัวลดลงจาก 1.55% ณ สิ้นเดือนพ.ค. มาอยู่ที่ 1.4% ณ สิ้นเดือนมิ.ย.และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีปรับตัวลดลงจาก 1.78% ในสิ้นเดือนพ.ค. มาอยู่ที่ 1.7% ณ สิ้นเดือนมิ.ย. จากความคาดหวังว่ากนง.จะลดอัตราดอกเบี้ยในปลายปี แม้ในการประชุมรอบมิ.ย. กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยตามคาดก็ตาม แต่กนง. มองเศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงในครึ่งปีหลังจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ และมีท่าทีที่พร้อมผ่อนคลายมากขึ้นหากเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น ปัจจุบันนักวิเคราะห์มองกนง. ลดอัตราดอกเบี้ยอีกช่วงปลายปีนี้ราว 1-2 ครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นผลจากความไม่แน่นอนทางการเมือง ทำให้เกิดความกังวลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล นักลงทุนจึงหันไปถือสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น ขณะที่หุ้นไทยมีการปรับตัวลดลงมากในเดือนมิ.ย.



กองทุนตราสารหนี้กสิกรไทย ผลตอบแทนโดดเด่น ปีนี้บวกต่อเนื่องทุกเดือน

กองทุนตราสารหนี้ที่เราแนะนำยังทำผลตอบแทนบวกต่อเนื่องทุกเดือนตลอดทั้งปีนี้ โดยทำผลตอบแทนได้โดดเด่นในเดือนมิ.ย. นับจากต้นปีถึงสิ้นเดือนมิ.ย.กองทุน K-SF-A +1.02%, K-SFPLUS-A +1.20%, K-FIXED-A +3.06% และ K-FIXEDPLUS-A +3.13%




ถ้าไม่อยากตกรถ รีบกระโดดขึ้นรถ กองทุนตราสารนี้ขึ้นแท่นท๊อปฟอร์มปีนี้

นักลงทุนหลายท่านคงสงสัยว่ากองทุนตราสารหนี้ที่ทำผลตอบแทนบวกทุกเดือนขนาดนี้ ยังไปต่อได้อีกหรอ Bond Yield ปรับตัวลงมามากแล้วหรือยัง K-WELATH ยังมองว่าตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจในปีนี้ และ Bond Yield ยังมีโอกาสปรับตัวลดลงต่อ จากทั้ง Fed และกนง.ที่ยังมีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปีนี้ อีกทั้งความไม่แน่นอนในการขึ้นภาษีนำเข้า (Tariffs) ยังอยู่ในช่วงของการเจรจา ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทำ All Time High รอบใหม่ไปแล้ว ดังนั้นนักลงทุนควรกระจายการลงทุนในตราสารหนี้เพื่อรองรับผวนดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นในตลาดหุ้นที่มีหลายความเสี่ยงรออยู่


  • ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risk) ยังอยู่ แม้ความตึงเครียดในตะวันออกกลางระหว่างอิสราเอลและอิหร่านดูเหมือนจะผ่อนคลายลง แต่สงครามรัสเซีย-ยูเครนยังปะทุขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดการแตกแยกระหว่างสหรัฐฯ และพันธมิตรในยุโรป อีกทั้งการเพิ่มการใช้จ่ายด้านสงครามและราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น อาจทำให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงชั่วคราวได้ ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันตลาด
  • สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนยังดำเนินต่อไป ขณะที่ประเทศอื่นๆ ก็ยังอยู่ในช่วงการเจรจาต่อรองอัตราภาษีนำเข้า ทำให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูง
  • ความไม่แน่นอนของนโยบายการเงิน ยังมีความไม่แน่นอนว่า Fed จะลดอัตราดอกเบี้ยช่วงไหนซึ่ง Fed จะจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญเป็นหลัก หากเงินเฟ้อไม่ชะลอตัวลง ก็เป็นความเสี่ยงที่ Fed อาจลดอัตราดอกเบี่ยช้ากว่าที่ตลาดคาดได้

คำแนะนำในการลงทุน

  • K-SF-A : ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นทั้งในและต่างประเทศ สภาพคล่องสูง แนะนำลงทุน 3 เดือนขึ้นไป
  • K-SFPLUS-A : ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นทั้งในและต่างประเทศ สภาพคล่องสูง แนะนำลงทุน 6 เดือนขึ้นไป
  • K-FIXED-A : ลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาวในประเทศเท่านั้น แนะนำลงทุน 1 ปีขึ้นไป
  • K-FIXEDPLUS-A : ลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาวทั้งในและต่างประเทศ แนะนำลงทุน 1 ปีขึ้นไป



คำเตือน


ผู้เขียน

K WEALTHปาณิศา เจียรพุฒิ

Back to top