ไทยอาจถูกเก็บภาษี 36% หากยังไม่บรรลุข้อตกลงกับสหรัฐฯ ก่อน 1 ส.ค.

ประเด็นร้อน : สหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย 36%

ไทยอาจถูกเก็บภาษี 36% หากยังไม่บรรลุข้อตกลงกับสหรัฐฯ ก่อน 1 ส.ค.

กดฟัง
หยุด
  • ทรัมป์ส่งจดหมายเตือน 14 ประเทศ รวมถึงไทย อาจถูกเก็บภาษีตอบโต้เริ่ม 1 ส.ค. โดยไทยอาจถูกเก็บภาษีนำเข้าสูงถึง 36% หากยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับสหรัฐฯ ได้ทันเส้นตาย
  • ไทยเร่งยื่นข้อเสนอใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี เช่น การลดภาษีสินค้าสหรัฐฯ เป็น 0%, เพิ่มนำเข้า LNG และ Boeing พร้อมตั้งเป้าลดดุลการค้าใน 5 ปี
  • K WEALTH แนะนำกระจายพอร์ต พร้อมมองบวกเล็กน้อยต่อตราสารหนี้ไทยในระยะสั้น จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาลงและความเสี่ยงต่ำ

การค้าระหว่างไทย–สหรัฐ

  • ทรัมป์ออกจดหมายแจ้ง 14 ประเทศว่าจะถูกเก็บ ภาษีตอบโต้ (reciprocal tariffs) เริ่มบังคับ 1 ส.ค. หากยังไม่บรรลุข้อตกลงภายในเส้นตายวันที่ 1 ส.ค. (ขยายจาก 9 ก.ค.) Text
  • ไทยถูกกำหนดอัตราภาษีนำเข้าสูงถึง 36% เช่นเดียวกับกัมพูชา และสูงกว่าคู่แข่งในอาเซียน เช่น เวียดนาม (20%), มาเลเซีย (25%), อินโดนีเซีย (32%)
  • การเจรจาระหว่างไทย–สหรัฐฯ เมื่อ 2–3 ก.ค. ยังไม่สามารถบรรลุผล โดยสหรัฐฯ เรียกร้องให้ไทยชี้แจงประเด็น transshipment และเสนอการเปิดตลาดสินค้าและบริการเพิ่มเติม
  • ไทยเตรียมยื่นข้อเสนอฉบับใหม่ เน้นแนวทาง Win-Win เช่น ลดภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ เหลือ 0% บางรายการ นำเข้า LNG และเครื่องบิน Boeing เพิ่มขึ้น รวมถึงตั้งเป้าลดดุลการค้าใน 5 ปี

คำแนะนำการลงทุนให้ไทยในระยะสั้น (1–2 สัปดาห์)

  • ลดน้ำหนักหุ้นกลุ่มส่งออกที่พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ
  • เพิ่มน้ำหนักกลุ่ม Domestic Play เช่น โรงพยาบาล, สาธารณูปโภค, ICT ที่มีความอ่อนไหวน้อยต่อสงครามการค้า
  • กระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง

มุมมองการลงทุน

หลังการผ่านร่างกฎหมาย “One Big Beautiful Bill” ทาง KWEALTH มองว่าเป็นปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ระยะสั้น โดยเฉพาะต่อหุ้นกลุ่มพลังงาน การเงิน และการบริโภคจากการลดภาษีและเพิ่มงบประมาณด้านความมั่นคง แต่ในระยะยาวตลาดยังมีความกังวลเรื่องการเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ส่งผลให้พันธบัตรรัฐบาลถูกเทขายบางส่วนและอัตราผลตอบแทน (yield) ปรับตัวสูงขึ้น ทาง KWEALTH แนะนำลงทุนแบบผสมผสานระหว่างหุ้นที่ได้ประโยชน์กับการบริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย


  • K WEALTH มีมุมมอง Slightly Negative ต่อตลาดหุ้นไทยในระยะสั้น จากความเสี่ยงเชิงนโยบายและผลกระทบจากการค้าโลก โดยเฉพาะกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าได้ทันเส้นตาย
  • มุมมอง Slightly Positive ต่อกองทุนตราสารหนี้ไทย มีสภาพคล่องสูง เสี่ยงต่ำ โดยประเมินว่าธปท. จะลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในไตรมาส 4ปีนี้

คำแนะนำการลงทุน

  • สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้นไทย
    • หากมีสัดส่วนมากกว่า 20% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต และนำเงินไปพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น K-SFPLUS
    • หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 20% แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”
  • สำหรับนักลงทุนทั่วไป และผู้ที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนไทย
    • สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนไทย “รอโอกาสลงทุนที่น่าสนใจ”
    • เงินลงทุนระยะยาว เน้นถือการลงทุนแบบ Core Port อย่างกองทุนผสม K-WEALTHPLUS เช่น K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ฯลฯ ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลสัดส่วนเงินลงทุน ซึ่งได้ทยอยลดความเสี่ยงไปบ้างแล้ว
    • แนะนำเพิ่มการลงทุนใน K-FIXEDPLUS เนื่องจากตราสารหนี้ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน รวมทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยยังลงต่อ
    • สำหรับการพักเงินเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS

หมายเหตุ:
  • ระดับความเสี่ยงกองทุน
    • K-SFPLUS, K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
    • K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
    • K-STAR-A, K-VALUE: ไม่มีการลงทุนในต่างประเทศ
  • นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
    • K-SFPLUS: ป้องกันความเสี่ยง100%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง มากกว่า 90%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-USA-A(A), K-USXNDQ-A(A): ป้องกันความเสี่ยง ไม่น้อยกว่ากว่า 75%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
    • K-SFPLUS: T+1
    • K-FIXEDPLUS-A: T+2
    • K-STAR-A, K-VALUE: T+3
    • K-VIETNAM: T+5
    • K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP T+6




คำเตือน

“ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

“ทำความเข้าเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีและผลกระทบหากทำผิดเงื่อนไขก่อนตัดสินใจลงทุน”

ผู้เขียน

KWEALTH

Back to top