-
ทรัมป์ขู่นำเข้า “ภาษีตอบโต้” กับ 14 ประเทศ หากเจรจาการค้าไม่สำเร็จภายใน 1 ส.ค. โดยญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นเป้าหมายหลัก ขณะที่ไทยอาจถูกเก็บภาษีสูงถึง 36%
-
คำสั่งบริหารล่าสุดเลื่อนการบังคับใช้ภาษีจาก 9 ก.ค. เป็น 1 ส.ค. อัตราภาษีนำเข้าจะเพิ่มเฉลี่ยจาก 15.5% เป็น 17.3% สูงสุดในรอบหลายสิบปี หากมาตรการนี้มีผลจริง
-
K WEALTH มองว่านี่เป็นหมากทางการเมืองและการเจรจา ไม่ใช่สงครามภาษีเต็มรูปแบบ นักลงทุนควรจับตาการเจรจาใน 2–3 สัปดาห์ข้างหน้า และประเมินผลกระทบต่อเงินเฟ้อและบริโภคในสหรัฐฯ
ความคืบหน้าด้านนโยบายภาษี
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศผ่าน "จดหมาย" ขู่นำเข้าอัตราภาษีแบบตอบโต้ (Reciprocal Tariff) สำหรับ 14 ประเทศ หากไม่สามารถเจรจาข้อตกลงการค้าได้ภายในวันที่ 9 ก.ค. โดยเฉพาะญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ซึ่งถือเป็นเป้าหมายหลัก แต่ทรัมป์ได้มีการลงนามในคำสั่งบริหารเพื่อเลื่อนการเก็บภาษีออกไปเป็นวันที่ 1 ส.ค. ซึ่งมีการระบุชัดเจนว่า
- สินค้าจากญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, คาซัคสถาน และตูนิเซีย จะถูกเก็บภาษี 25%
- สินค้าจากแอฟริกาใต้และบอสเนีย โดนภาษี 30%
- อินโดนีเซีย 32%, บังคลาเทศและเซอร์เบีย 35%, กัมพูชาและไทย 36%
- สินค้าจากลาวและเมียนมา สูงสุดที่ 40%
หากภาษีเหล่านี้ถูกนำมาใช้จริง อัตราภาษีนำเข้าเฉลี่ยของสหรัฐฯ จะเพิ่มจาก 15.5% เป็น 17.3% สูงสุดในรอบหลายสิบปี เทียบกับระดับปกติที่ 2.5% ในอดีต
Related Indices & Funds
- Dow Jones -0.94%
- S&P 500 -0.79%
- Nasdaq -0.92%
- NIKKEI225 +0.31%
- KOSPI +1.13%
(ข้อมูล ณ วันที่ 7-8 ก.ค. 2025)
มุมมองการลงทุน
การส่งจดหมายภาษีรอบนี้สะท้อนชัดว่าเป้าหมายหลักของประธานาธิบดีทรัมป์คือ “การใช้แรงกดดันทางภาษีเป็นเครื่องมือเจรจา” มากกว่าการเร่งบังคับใช้ในทันที โดยมุ่งหวังให้ประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ยอมเปิดตลาดมากขึ้นและลดการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ
ในช่วงเวลาที่เหลือก่อนถึงเส้นตายวันที่ 1 สิงหาคม คาดว่าจะเห็นความพยายามในการเจรจาจากทุกฝ่าย เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ ในขณะเดียวกัน ฝั่งสหรัฐฯ เองก็มีแรงจูงใจที่จะไม่ผลักดันภาษีให้สูงจนเกินไป เพราะอาจย้อนกลับมากระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในประเทศ และลดแรงขับเคลื่อนการบริโภคภายใน
ด้วยเหตุนี้ บรรยากาศในระยะสั้นจึงอยู่ภายใต้ภาวะการเจรจา ที่ยังไม่ใช่สงครามภาษีเต็มรูปแบบ แต่เป็นการวางหมากเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางการค้าที่เอื้อต่อสหรัฐฯ มากขึ้น นักลงทุนควรติดตามผลการเจรจาอย่างใกล้ชิดในช่วง 2–3 สัปดาห์ข้างหน้า
คำแนะนำการลงทุน
- สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้น
- หากมีสัดส่วนมากกว่า 20% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต และนำเงินไปพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น K-SFPLUS
- หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 20% แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน” หรือ ทยอยลงทุนในประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวสูงอย่างเช่น อินเดีย และ เวียดนาม
- สำหรับนักลงทุนทั่วไป และผู้ที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้น
- สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้น “แนะนำทยอยสะสมกองทุนหุ้นทั่วโลก”
- เงินลงทุนระยะยาว เน้นถือการลงทุนแบบ Core Port อย่างกองทุนผสม K-WEALTHPLUS เช่น K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ฯลฯ ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลสัดส่วนเงินลงทุน ซึ่งได้ทยอยลดความเสี่ยงไปบ้างแล้ว
- แนะนำเพิ่มการลงทุนใน K-FIXEDPLUS เนื่องจากตราสารหนี้ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน รวมทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยยังลงต่อ
- สำหรับการพักเงินเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS
หมายเหตุ:
- ระดับความเสี่ยงกองทุน
- K-SFPLUS, K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
- K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
- K-VIETNAM, K-INDIA-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
- นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
- K-SFPLUS: ป้องกันความเสี่ยง100%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง มากกว่า 90%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-INDIA-A: ป้องกันความเสี่ยง ไม่น้อยกว่ากว่า 75%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP, K-VIETNAM : ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
- ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
- K-SFPLUS: T+1
- K-FIXEDPLUS-A: T+2
- K-INDIA-A: T+4
- K-VIETNAM: T+5
- K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: T+6