เมื่อเข็มนาฬิกาเคลื่อนไปถึง “1 สิงหาคม”: ภาษีทรัมป์ในฉบับ “กึ่งข้อตกลง”
แม้เส้นตายเดิมในวันที่ 9 กรกฎาคม 2025 จะถูกจับตามองอย่างมากในโลกการค้า แต่ในท้ายที่สุด ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ประกาศขยายเวลาการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้า (Reciprocal Tariffs) ออกไปอีก 3 สัปดาห์ โดยกำหนดใหม่เป็น วันที่ 1 สิงหาคม 2025 พร้อมทยอยส่ง "Tariff Letters" ถึงกว่า 20 ประเทศ
อัตราภาษีที่ประกาศล่าสุดเมื่อวันที่ 8–9 กรกฎาคม ส่งสัญญาณชัดเจนว่า “การขึ้นภาษีเต็มรูปแบบ” อาจยังไม่เกิดขึ้นในทันที โดย จากการประเมินของ Lombard Odier, JPMorgan และ Capital Economics ระบุว่า
อัตราภาษีนำเข้าเฉลี่ยของสหรัฐฯ (Effective Tariff Rate) หลังจากมีข้อตกลงกับ เวียดนาม และเมื่อรวมกับอัตราภาษีที่ระบุในจดหมายล่าสุด หากไม่ได้มีข้อตกลงก่อนวันที่ 1 สิงหาคม และจัดเก็บด้วยอัตราดังกล่าว ส่งผลให้อัตราภาษีจะปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย มาอยู่ที่ประมาณ 15-17% ใกล้เคียงกับกรณี Base Case ที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้า
การคงระดับภาษีไว้ที่ “กึ่งกลาง” นี้ ไม่ใช่สัญญาณของความสำเร็จในเชิงข้อตกลงโดยสมบูรณ์ แต่กลับสะท้อนความตั้งใจทางการเมืองของทรัมป์ในการ “ดึงเวลา” เพื่อใช้ Tariff เป็นเครื่องมือต่อรอง โดยเฉพาะการกดดันให้ประเทศคู่ค้าต่าง ๆ ยอมกลับเข้ามาบนโต๊ะเจรจา และทำข้อตกลงแบบทวิภาคีมากขึ้น
Tariffs เพื่อการเจรจา ไม่ใช่แค่เครื่องมือเศรษฐกิจ
การเลื่อนและทยอยประกาศภาษีนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความล่าช้าทางเทคนิค แต่สะท้อนกลยุทธ์เชิงการเมืองของทรัมป์อย่างชัดเจน คือใช้ภาษีเป็นเครื่องมือต่อรองทางการทูต โดยเฉพาะการกดดันให้ประเทศต่างๆ ยอมเจรจาแบบทวิภาคีเพื่อหลีกเลี่ยงอัตราภาษีเต็มรูปแบบ เช่น กรณีของเวียดนาม สหราชอาณาจักร และอินเดีย ที่เลือกเสนอเงื่อนไขตอบแทนทางการค้า เพื่อแลกกับอัตราภาษีที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
ในทางกลับกัน ประเทศที่ไม่มีการตอบรับที่ชัดเจน เช่น บราซิล กลับได้รับอัตราภาษีใหม่สูงถึง 50% โดยมีการแนบประเด็นทางการเมืองภายในมาเป็นเหตุผลประกอบ จึงตอกย้ำว่า Tariffs ภายใต้ยุค Trump 2.0 เป็นกลไกเจรจาเชิงอำนาจ มากกว่านโยบายเศรษฐกิจตามหลักการเดิม
เวียดนาม: จากคู่ค้า สู่จุดสมดุลใหม่ของเอเชีย
หนึ่งในประเทศที่น่าจับตามองที่สุดคือ เวียดนาม เพราะถือเป็นประเทศต้นแบบของการจัดทำข้อตกลงแบบ "Framework Deal" คือเวียดนามยอมรับอัตราภาษี 20% จากสหรัฐฯ โดยไม่มีมาตรการตอบโต้ และในทางกลับกัน เวียดนามตกลงที่จะลดภาษีสินค้าสหรัฐฯ เหลือ 0% และร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการควบคุมการใช้เวียดนามเป็นเส้นทางหลบเลี่ยงภาษีจากประเทศอื่น (transshipment)
ความยืดหยุ่นทางการเมืองและภูมิศาสตร์ ทำให้เวียดนามกลายเป็นพันธมิตรสำคัญที่สหรัฐฯ สามารถใช้เป็น "ตัวกลาง" ในการเจรจากับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
บทสรุปเชิงเปรียบเทียบ: ทำไมเวียดนามจึง “น่าคบหา” ที่สุด?
ประเทศ
| สินค้าอ่อนไหวหลัก
| ท่าทีการเจรจา
| ข้อตกลงล่าสุด
| แนวโน้มต่อรอง
|
จีน
| สินค้าอีเล็กทรอนิกส์, ยา
| แข็งกร้าว–ชะลอ
| Geneva Deal (ชั่วคราว)
| กดดันต่อเนื่อง
|
ญี่ปุ่น
| รถยนต์, เหล็ก
| ปรับตามขั้นตอน
| ไม่มีข้อตกลงใหม่
| รอความชัดเจน
|
เกาหลีใต้
| สินค้าอีเล็กทรอนิกส์, รถยนต์
| ผ่อนปรนบางส่วน
| อยู่ระหว่างเจรจา
| มีโอกาสปรับโครงสร้าง
|
เวียดนาม
| สิ่งทอ, อิเล็กทรอนิกส์แบบรับจ้างผลิต (OEM
| รวดเร็ว–ยืดหยุ่น
| 20% + ลดภาษีสหรัฐฯ เหลือ 0%
| กลายเป็นแม่แบบ
|
กลยุทธ์การลงทุน: จากการเลื่อนภาษี สู่กลยุทธ์ลงทุนแบบปรับตัว
การขยายเวลาไปถึงวันที่ 1 สิงหาคม และการประกาศภาษีรอบใหม่ แสดงให้เห็นว่า “ภาษี” ยังถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเจรจา มากกว่าจะเป็นการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบสุดโต่ง ณ ตอนนี้
นักลงทุนจึงยังควร เดินเกมแบบยืดหยุ่น โดยเฉพาะในพอร์ตควรมีการกระจายการลงทุนที่หลากหลาย ทั้งสินทรัพย์ และภูมิภาค
สำหรับผู้ต้องการความสมดุล
กลยุทธ์ที่เหมาะสมคือการ กระจายไปในหลากหลายประเภทสินทรัพย์ โดยเลือกกองทุนผสมที่มีการจัดสรรสินทรัพย์หลากหลาย เช่น K WealthPLUS Series หรือ K All Road Series ที่สามารถสร้างโอกาสจากการลงทุนในหุ้นทั่วโลก ขณะเดียวกันก็มีส่วนป้องกันความเสี่ยงด้วยตราสารหนี้และสินทรัพย์ทางเลือก ซึ่งจะช่วยรองรับความผันผวนหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงแบบไม่คาดคิด นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการลงทุนแบบกระจุกตัว และเลือกกองทุนที่กระจายภูมิภาคหรือธีมการลงทุน เช่น K-GSELECT หรือ K-GPIN
สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง
เน้นลงทุนในตลาดที่มีโอกาสได้รับประโยชน์จากโครงสร้างการค้ารูปแบบใหม่ โดยเฉพาะตลาดอินเดีย ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตจากแรงขับเคลื่อนภายในประเทศผ่านกองทุน K-INDIA และเวียดนาม ที่กลายเป็นฐานสำคัญของห่วงโซ่การผลิตในเอเชียและมีความร่วมมือใกล้ชิดกับสหรัฐฯ ซึ่งอาจช่วยให้สามารถขยายการส่งออกโดยไม่ถูกกีดกันจากภาษี ผ่านกองทุน K-VIETNAM
สำหรับนักลงทุนที่กังวลและต้องการลดความเสี่ยง
แนะนำให้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้คุณภาพสูง เช่น K-FIXEDPLUS-A และ K-SFPLUS-A เพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพของพอร์ต ขณะรอความชัดเจนเพิ่มเติมจากผลการเจรจารอบถัดไป และลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงินโลก