เศรษฐกิจจีนไตรมาส 2 ปี ขยายตัว 5.2% เทียบกับปีก่อนหน้า สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ โดยได้รับแรงหนุนสำคัญจากมาตรการกระตุ้นภาครัฐ

ประเด็นร้อน : GDP จีนไตรมาส 2 โตเกิดคาด แม้ถูกสหรัฐฯ กดดัน

เศรษฐกิจจีนไตรมาส 2 ปี ขยายตัว 5.2% เทียบกับปีก่อนหน้า สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ โดยได้รับแรงหนุนสำคัญจากมาตรการกระตุ้นภาครัฐ

กดฟัง
หยุด
  • เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 ขยายตัว 5.2% เทียบกับปีก่อนหน้า สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ โดยได้รับแรงหนุนสำคัญจากมาตรการกระตุ้นภาครัฐ ท่ามกลางแรงกดดันจากภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้ยุทธศาสตร์การค้าที่แข็งกร้าวของทรัมป์
  • ตลาดหุ้นจีนยังมีความสามารถในการประคองเศรษฐกิจให้เติบโตตามเป้าหมายทั้งปีที่ 5% ได้ แต่ยังต้องติดตามมาตรการสนับสนุนภาคอสังหาฯ อย่างใกล้ชิดในไตรมาสถัดไป จึงแนะนำให้รอประเมินสถานการณ์ก่อนเข้าลงทุนในกองทุนหุ้นจีน

Market Update

วันที่ 15 ก.ค. เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 ขยายตัว 5.2% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 5.1% และแม้ต่ำกว่าไตรมาสแรก (5.4%) แต่ยังถือว่าแข็งแกร่ง ท่ามกลางแรงกดดันจากภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ โดยเฉพาะภายใต้ยุทธศาสตร์การค้าแข็งกร้าวของทรัมป์

  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้น 6.8% สูงกว่าที่คาด (5.6%)
  • การบริโภคภายในผ่านยอดค้าปลีกโตเพียง 4.8% ต่ำกว่าคาด
  • การลงทุนสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น 2.8% แต่การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ยังหดตัวถึง 11.2%
  • อัตราการว่างงานในเมืองคงที่ที่ 5%

แรงหนุนสำคัญมาจากมาตรการกระตุ้นภาครัฐ เช่น การอัดฉีดเงินผ่านพันธบัตรพิเศษ และเงินอุดหนุนสินค้าคงทน ช่วยประคองการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน ขณะเดียวกันธนาคารกลางจีนยังคงดำเนินนโยบายแบบเฉพาะจุด หลีกเลี่ยงการใช้นโยบายการเงินกระตุ้นแบบวงกว้าง


Related Indices & Funds
  • Shanghai Composite +1.03%
  • CSI300 +1.45%
  • Hang Seng +0.92%
  • MSCI China +1.21%
  • K-CHINA +1.07%
  • K-CCTV +1.38%
  • K-GOLD -0.23%

(ข้อมูล ณ วันที่ 14 ก.ค. 2025)


มุมมองตลาด

เศรษฐกิจจีนแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นในการรับแรงกดดันจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากสงครามการค้า แม้ว่าความเสี่ยงในภาคอสังหาฯ และการบริโภคภายในประเทศจะยังคงอยู่ แต่การที่รัฐบาลยังมีวงเงินพันธบัตรอีกกว่า 7 ล้านล้านหยวนในครึ่งปีหลัง แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการสนับสนุนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง


K WEALTH ประเมินว่า จีนยังมีความสามารถในการประคองเศรษฐกิจให้เติบโตตามเป้าหมายทั้งปีที่ 5% ได้ แต่ยังต้องติดตามมาตรการสนับสนุนภาคอสังหาฯ อย่างใกล้ชิดในไตรมาสถัดไป


คำแนะนำการลงทุน

  • สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้นจีน
    • หากมีสัดส่วนมากกว่า 20% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต และนำเงินไปพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น K-SFPLUS-A
    • หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 20% แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน” หรือ ทยอยลงทุนในประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวสูงอย่างเช่น อินเดีย และ เวียดนาม
  • สำหรับนักลงทุนทั่วไป และผู้ที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นจีน
    • สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นจีน “แนะนำรอประเมินสถานการณ์ก่อนเข้าลงทุน”
    • เงินลงทุนระยะยาว เน้นถือการลงทุนแบบ Core Port อย่างกองทุนผสม K-WealthPLUS Series เช่น K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ฯลฯ ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลสัดส่วนเงินลงทุน ซึ่งได้ทยอยลดความเสี่ยงไปบ้างแล้ว
    • แนะนำเพิ่มการลงทุนใน K-FIXEDPLUS-A เนื่องจากตราสารหนี้ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน รวมทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยยังลงต่อ
    • สำหรับการพักเงินเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS-A

หมายเหตุ:
  • ระดับความเสี่ยงกองทุน
    • K-SFPLUS-A, K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
    • K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
    • K-VIETNAM, K-INDIA-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
  • นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
    • K-SFPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง 100%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยงมากกว่า 90% ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-INDIA-A: ป้องกันความเสี่ยงไม่น้อยกว่ากว่า 75% ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP, K-VIETNAM: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
    • K-SFPLUS-A: T+1
    • K-FIXEDPLUS-A: T+2
    • K-INDIA-A: T+4
    • K-VIETNAM: T+5
    • K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: T+6




คำเตือน

“ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

“ทำความเข้าเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีและผลกระทบหากทำผิดเงื่อนไขก่อนตัดสินใจลงทุน”

ผู้เขียน

K WEALTH

Back to top