ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิถุนายนของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น +2.7% เทียบกับปีก่อนหน้า โดยต้นทุนภาษีนำเข้าถูกส่งผ่านมายังผู้บริโภคเร็วขึ้น

ประเด็นร้อน: ภาษีนำเข้าเริ่มแผลงฤทธิ์ ทำเงินเฟ้อสหรัฐฯ มิ.ย. เพิ่มขึ้น

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิถุนายนของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น +2.7% เทียบกับปีก่อนหน้า โดยต้นทุนภาษีนำเข้าถูกส่งผ่านมายังผู้บริโภคเร็วขึ้น

กดฟัง
หยุด
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิถุนายนของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น +2.7% เทียบกับปีก่อนหน้า โดยต้นทุนภาษีนำเข้าถูกส่งผ่านมายังผู้บริโภคเร็วขึ้น ขณะที่ Core CPI เพิ่มขึ้น +2.9% เทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาด
  • แม้ Core CPI จะต่ำกว่าคาด แต่ต้องติดตามตัวเลข Core PCE เดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ Fed ใช้ประเมินการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยและติดตามความเคลื่อนไหวของรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อ Fed จึงแนะนำให้รอประเมินสถานการณ์ก่อนเข้าลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ

Market Update

วันที่ 15 ก.ค. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิถุนายนของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น +2.7% (YoY) จาก 2.4% ในเดือนก่อนหน้า และ +0.29% (MoM) สอดคล้องกับคาดการณ์ ขณะที่ Core CPI อยู่ที่ +2.9% (YoY) และ +0.23% (MoM) ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาด


รายงานชี้ว่า ต้นทุนภาษีนำเข้าถูกส่งผ่านมายังผู้บริโภคเร็วขึ้น โดยเฉพาะในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์กีฬา และเฟอร์นิเจอร์


อย่างไรก็ตาม หมวดสินค้า รถยนต์มือสอง (-0.7%) รถใหม่ (-0.3%) และโรงแรม (-2.9%) ยังลดลงต่อเนื่อง ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคเริ่มจำกัดการใช้จ่ายในสินค้าฟุ่มเฟือย ท่ามกลางความไม่แน่นอนด้านรายได้


Related Indices & Funds
  • S&P 500 -0.40% ปิดที่ 6,243.76 จุด
  • NASDAQ +0.18% ปิดที่ 20,677.80 จุด
  • Dow Jones ลดลง -0.98% ปิดที่ 44,023.29 จุด

(ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.ค. 2568)


มุมมองตลาด

แม้ Core CPI จะต่ำกว่าคาด แต่จากคาดการณ์ดัชนีราคาผู้ผลิต และตัวเลขเงินเฟ้อที่ออกมาคาดว่า Core PCE (ประกาศ 31 ก.ค.) จะเร่งขึ้น จากผลของตลาดหุ้นที่ปรับขึ้นแรงตั้งแต่เดือนเมษายน


ตลาดยังคงคาดการณ์ การลดดอกเบี้ยราว 1-2 ครั้งในปีนี้ โดยส่วนใหญ่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี


ปัจจัยหลักที่ต้องติดตาม

  • ตัวเลข Core PCE เดือนมิถุนายน ตัวชี้วัดที่ Fed ใช้ประเมินการดำเนินนโยบายดอกเบี้ย
  • ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อ Fed หลังเงินเฟ้อไม่เร่งตัวขึ้นเร็วตามที่คาด
  • การตอบสนองของผู้บริโภคต่อราคาสินค้าที่ได้รับผลจากภาษีนำเข้า หากอุปสงค์เริ่มอ่อนแรง

คำแนะนำการลงทุน

  • สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้นสหรัฐฯ
    • หากมีสัดส่วนมากกว่า 30% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต และนำเงินไปพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น K-SFPLUS-A
    • หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 30% แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน” หรือ ทยอยลงทุนในประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวสูงอย่างเช่น อินเดีย และ เวียดนาม
  • สำหรับนักลงทุนทั่วไป และผู้ที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ
    • สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ “แนะนำรอประเมินสถานการณ์ก่อนเข้าลงทุน”
    • เงินลงทุนระยะยาว เน้นถือการลงทุนแบบ Core Port อย่างกองทุนผสม K-WealthPLUS Series เช่น K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ฯลฯ ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลสัดส่วนเงินลงทุน ซึ่งได้ทยอยลดความเสี่ยงไปบ้างแล้ว
    • แนะนำเพิ่มการลงทุนใน K-FIXEDPLUS-A เนื่องจากตราสารหนี้ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน รวมทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยยังลงต่อ
    • สำหรับการพักเงินเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS-A

หมายเหตุ:
  • ระดับความเสี่ยงกองทุน
    • K-SFPLUS-A, K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
    • K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
    • K-VIETNAM, K-INDIA-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
  • นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
    • K-SFPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง 100% ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยงมากกว่า 90% ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-INDIA-A: ป้องกันความเสี่ยงไม่น้อยกว่ากว่า 75% ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP, K-VIETNAM: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
    • K-SFPLUS-A: T+1
    • K-FIXEDPLUS-A: T+2
    • K-INDIA-A: T+4
    • K-VIETNAM: T+5
    • K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: T+6




คำเตือน

“ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

“ทำความเข้าเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีและผลกระทบหากทำผิดเงื่อนไขก่อนตัดสินใจลงทุน”

ผู้เขียน

K WEALTH

Back to top