มีสติ ระวังสักนิดก่อนคลิกลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน

Banner Desktop Banner Mobile

การคลิกลิงก์ไม่ระวังเพียงหนึ่งครั้งอาจมีผลกระทบร้ายแรงกว่าที่คุณคิด

มิจฉาชีพมีมุกใหม่หลอกลวงเหยื่อโดยทำเนียน
แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
หรือสถาบันการเงินติดต่อเหยื่อผ่านช่องทางต่าง ๆ
เช่น SMS โซเชียลมีเดีย โทรศัพท์ แล้วล่อลวงด้วยสถานการณ์ที่ทำให้หวาดกลัว
เช่น เกี่ยวข้องกับยาเสพติด คดีฟอกเงิน
เพื่อให้เหยื่อคลิกลิงก์ติดตั้งโปรแกรมอันตราย
ซึ่งจะเห็นจากข่าวบ่อย ๆ
ในตอนนี้ ที่เรียกว่า แอปดูดเงิน

sms ปลอม sms ปลอม

แอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกลวงให้เหยื่อติดตั้งเป็น
แอปพลิเคชันที่ใช้ควบคุมเครื่องจากระยะไกล
(Remote Desktop)

เมื่อไหร่ที่คุณคลิกลิงก์ติดตั้งโปรแกรม และกดยินยอมให้ผู้อื่นเข้าถึงโทรศัพท์มือถือได้
มิจฉาชีพจะเข้าควบคุมโทรศัพท์คุณได้ทันที
รวมถึงเห็นข้อมูลทุกอย่างที่ดำเนินการบนโทรศัพท์ เช่น รหัสโทรศัพท์ PIN
หรือรหัสผ่านในการเข้าสู่แอปพลิเคชัน
ทางการเงิน ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องยากที่มิจฉาชีพจะเข้าแอปธนาคารของเหยื่อ
แล้วโอนเงินออกเองจนหมดบัญชี

วิธีการป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ

icon1
1. มีสติไม่คล้อยตามสถานการณ์หลอกลวง
มิจฉาชีพจะหลอกลวงด้วยสถานการณ์ที่ทำให้ตื่นตระหนก หวาดกลัว และส่งเอกสารปลอมเพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง ควรหยุดสนทนาทันที และรีบติดต่อหน่วยงานที่ถูกแอบอ้างเพื่อยืนยันข้อมูล
icon2
2. ไม่คลิกลิงก์ที่ไม่แน่ใจแหล่งที่มา
ระวังการคลิกลิงก์ต่าง ๆ ที่ถูกส่งมาจากบุคคลที่ไม่รู้จัก ไม่น่าเชื่อถือ เพราะลิงก์นั้นอาจนำไปสู่การติดตั้งแอปดูดเงิน หรือหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว
icon3
3. ไม่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ
ควรดาวน์โหลดจาก Google Play Store หรือ App Store เท่านั้น
icon3
4. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงิน
เช่น รหัสโทรศัพท์ PIN / รหัสผ่าน สำหรับเข้าแอปพลิเคชันทางการเงิน รหัส OTP เป็นต้น เพราะอาจถูกนำไปทำทุจริตได้
icon1
1. มีสติไม่คล้อยตามสถานการณ์หลอกลวง
มิจฉาชีพจะหลอกลวงด้วยสถานการณ์ที่ทำให้ตื่นตระหนก หวาดกลัว และส่งเอกสารปลอมเพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง ควรหยุดสนทนาทันที และรีบติดต่อหน่วยงานที่ถูกแอบอ้างเพื่อยืนยันข้อมูล
icon2
2. ไม่คลิกลิงก์ที่ไม่แน่ใจแหล่งที่มา
ระวังการคลิกลิงก์ต่าง ๆ ที่ถูกส่งมาจากบุคคลที่ไม่รู้จัก ไม่น่าเชื่อถือ เพราะลิงก์นั้นอาจนำไปสู่การติดตั้งแอปดูดเงิน หรือหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว
icon3
3. ไม่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ
ควรดาวน์โหลดจาก Google Play Store หรือ App Store เท่านั้น
icon3
4. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงิน
เช่น รหัสโทรศัพท์ PIN / รหัสผ่าน สำหรับเข้าแอปพลิเคชันทางการเงิน รหัส OTP เป็นต้น เพราะอาจถูกนำไปทำทุจริตได้

วิธีแก้ไขเมื่อรู้ตัวว่าติดตั้งแอปดูดเงิน หรือถูกควบคุมเครื่องแล้ว

icon1
1. ตัดการเชื่อมต่อ
หากโทรศัพท์มือถือถูกควบคุมแล้ว จะไม่สามารถปิดเครื่องได้ ให้รีบดึงซิมการ์ดออกจากเครื่อง
และตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั้งหมด เช่น ปิดไวไฟ เป็นต้น
icon2
2. ติดต่อธนาคารทันที
กรณีตรวจพบการทำธุรกรรมที่ผิดปกติของบัญชีธนาคาร ให้รีบแจ้งธนาคารเจ้าของบัญชีโดยเร็วที่สุด
icon3
3. ลบแอปพลิเคชันออกทันที
หลังตัดการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และสามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือได้แล้วให้ลบแอปพลิเคชันออกทันที
icon3
4. รีเซ็ตการตั้งค่าโทรศัพท์เป็นค่าเริ่มต้นจากโรงงาน
เนื่องจากแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้ติดตั้ง อาจจะปรับตั้งค่าบางอย่างของโทรศัพท์มือถือเพื่อใช้เป็นช่องทางในการควบคุมในอนาคตได้
icon1
1. ตัดการเชื่อมต่อ
หากโทรศัพท์มือถือถูกควบคุมแล้ว จะไม่สามารถปิดเครื่องได้ ให้รีบดึงซิมการ์ดออกจากเครื่อง และตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั้งหมด เช่น ปิดไวไฟ เป็นต้น
icon2
2. ติดต่อธนาคารทันที
กรณีตรวจพบการทำธุรกรรมที่ผิดปกติของบัญชีธนาคาร ให้รีบแจ้งธนาคารเจ้าของบัญชีโดยเร็วที่สุด
icon3
3. ลบแอปพลิเคชันออกทันที
หลังตัดการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และสามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือได้แล้ว ให้ลบแอปพลิเคชันออกทันที
icon3
4. รีเซ็ตการตั้งค่าโทรศัพท์เป็นค่าเริ่มต้นจากโรงงาน
เนื่องจากแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้ติดตั้ง อาจจะปรับตั้งค่าบางอย่างของโทรศัพท์มือถือเพื่อใช้เป็นช่องทางในการควบคุมในอนาคตได้

ช่องทางรับแจ้งเหตุ
และภัยจากมิจฉาชีพ

หากพบภัยทุจริตทางการเงิน
ที่เกี่ยวข้องกับธนาคารกสิกรไทย
ติดต่อแจ้งข้อมูลทันที

ตามช่องทางต่อไปนี้

  • Line Official

    Line Official

    โดยพิมพ์
    แจ้งปัญหาเกี่ยวกับมิจฉาชีพ
    ในช่องแชต

  • ศูนย์รับแจ้งเหตุและให้ข้อมูล

    ศูนย์รับแจ้งเหตุและให้ข้อมูล

    ภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพ

    ศูนย์รับแจ้งเหตุและให้ข้อมูล 02-8888888 กด 001
  • แจ้งเบาะแสมิจฉาชีพ
                                  ด้วยตนเอง

    แจ้งเบาะแสมิจฉาชีพ
    ด้วยตนเอง