อาการไข้หวัดใหญ่ VS ไข้หวัดธรรมดา มีอาการแตกต่างกันอย่างไร? อาการไข้หวัดใหญ่ VS ไข้หวัดธรรมดา มีอาการแตกต่างกันอย่างไร?

อาการไข้หวัดใหญ่ VS ไข้หวัดธรรมดา ต่างอย่างไร?

เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน โรคยอดฮิตประจำฤดูคงหนีไม่พ้น โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) โรคที่หลายคนคิดว่าไม่รุนแรง เพราะสามารถหายเองได้ แต่ในบางครั้งก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นมาทำความรู้จักโรคไข้หวัดใหญ่ให้มากขึ้น อาการไข้หวัดใหญ่เป็นอย่างไร? มีวิธีป้องกันและรักษาอย่างไร? เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับหน้าฝนกันดีกว่า

ทำความเข้าใจอาการไข้หวัดใหญ่กับไข้หวัดธรรมดา

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) และไข้หวัดธรรมดา (Common Cold) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเกิดหายใจ ทำให้ลักษณะอาการมีความใกล้เคียงกัน จนทำให้ผู้ป่วยแยกโรคได้เองค่อนข้างยาก หากไม่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ อย่างไรก็ตามทั้งสองโรคมีอาการเฉพาะที่แตกต่างกันอยู่บ้าง ดังต่อไปนี้

ไข้หวัดใหญ่อาการเป็นอย่างไร?

อาการของไข้หวัดใหญ่เป็นอย่างไร ไข้หวัดใหญ่ วิธีรักษา

โรคไข้หวัดใหญ่ อาการมักเกิดขึ้นอย่างฉันพลันและรุนแรงว่าไข้หวัดธรรมดา โดยแบ่งอาการออกเป็น 2 ระดับคือ อาการทั่วไปของไข้หวัดใหญ่ และอาการที่ร้ายแรง ควรรีบพบแพทย์

อาการทั่วไปของไข้หวัดใหญ่

  • มีไข้สูง อาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส
  • หนาวสั่น และเหงื่อออก
  • ปวดเมื่อยตามตัว และอ่อนเพลีย
  • เจ็บคอและไอแห้ง โดยอาการไอจะรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา
  • มีน้ำมูกและจาม
  • ปวดตา
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้
  • ผู้ป่วยที่เป็นเด็กอาจมีอาการท้องเสียและอาเจียนร่วมด้วย

อาการที่ร้ายแรงของไข้หวัดใหญ่

  • หากมีอาการไข้หวัดใหญ่ดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที
  • ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง
  • เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หายใจถี่
  • มีอาการชัก
  • โรคประจำตัวกำเริบหรือทรุดตัว
  • ไอเยอะ มีเสมหะข้นสีเหลืองหรือเขียว

ไข้หวัดธรรมดาอาการเป็นอย่างไร?

อาการของไข้หวัดธรรมดาป็นอย่างไร ไข้หวัด วิธีรักษา

โรคไข้หวัดธรรมดา จะมีอาการป่วยไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับอาการไข้หวัดใหญ่ สามารถหายเองได้ใน 3-4 วัน แต่สำหรับอาการน้ำมูกไหลอาจจะอยู่ได้ 1 สัปดาห์ พบบ่อยทั้งผู้ใหญ่และเด็ก โดยแบ่งอาการออกเป็น 2 ระดับคือ อาการทั่วไปของไข้หวัดธรรมดา และอาการที่ร้ายแรง ควรรีบพบแพทย์

อาการทั่วไปของไข้หวัดธรรมดา

  • ไข้ต่ำ ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส หรือไม่มีไข้
  • มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลียเล็กน้อย
  • น้ำมูกไหล คัดจมูก หายใจไม่สะดวก
  • ไอ จาม เจ็บคอ
  • เจ็บหน้าอก แต่ไม่รุนแรง
  • ระคายเคืองตา หรือมีตาแดง

อาการที่ร้ายแรงของไข้หวัดธรรมดา

หากมีอาการไข้หวัดธรรมดาดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที

  • น้ำมูกหรือเสลดมีสีเหลือง หรือเขียว ซึ่งเกิดจากการอักเสบแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรีย
  • เจ็บหน้าอกรุนแรง เหนื่อย หอบ หมดสติ โดยมักเกิดในผู้สูงอายุหรือผู้มีโรคประจำตัว

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A กับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B คืออะไร?

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A กับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B คืออะไร อาการเป็นอย่างไร

ไข้หวัดใหญ่จะแบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก คือ สายพันธุ์ A (Influenza A) สายพันธุ์ B (Influenza B) และสายพันธุ์ C (Influenza C) โดยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A กับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B (Influenza B) คือสายพันธุ์ที่พบบ่อยที่สุด โดยอาการไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A จะมีความรุนแรงมากที่สุด และสามารถระบาดได้ทั่วโลก ส่วนสายพันธุ์ B จะระบาดระดับภูมิภาค โดยจะเจริญเติบโตได้ดีในอากาศเย็น จึงมักระบาดในช่วงฤดูฝนและหนาว แต่อาการไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B จะรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์ A

ใครมีความเสี่ยงเป็นไข้หวัดใหญ่บ้าง?

คนที่มีความเสี่ยงเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ง่าย แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้

  • เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี เพราะเป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง ทำให้มีโอกาสติดเชื้อไวรัสได้ และมีอาการรุนแรง
  • หญิงตั้งครรภ์ จะมีความเสถียรของภูมิคุ้มกันไม่แน่นอน มีโอกาสเป็นไข้หวัดใหญ่กว่าคนทั่วไปถึง 4 เท่า รวมถึงคุณแม่หลังคลอด 2 สัปดาห์
  • ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ระบบภูมิคุ้มกันจะเริ่มเสื่อมถอยตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีโอกาสติดเชื้อและมีอาการที่รุนแรง
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด โรคไต ซึ่งผู้ป่วยโรคเหล่านี้จะมีโอกาสติดเชื้อและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ง่าย
  • ผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น
  • ผู้ป่วยน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัม หรือน้ำหนักเกินมาตรฐาน BMI ส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานหนัก เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • ผู้พิการทางสมอง การดูแลป้องกันตนเองอาจทำได้ไม่ดีเท่าคนทั่วไป ทำให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่าย

วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่ด้วยตัวเอง

หากมีอาการไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ไม่รุนแรงสามารถรักษาตามอาการที่บ้านได้ เช่น รับประทานยาลดไข้เมื่อมีไข้ ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตามตัว รับประทานยาลดน้ำมูก ยาละลายเสมหะเมื่อมีน้ำมูก ดื่มน้ำให้เพียงพอ แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัดใหญ่รุนแรง แนะนำให้รีบพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการอย่างใกล้ชิด

  • ล้างมือเป็นประจำด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะก่อนและหลังรับประทานอาหาร
  • ไม่ใช้มือสัมผัสตา จมูก และปาก
  • ทำความสะอาดสิ่งของที่สัมผัสบ่อย
  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
  • หากมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในบ้าน ควรแยกของใช้ให้ชัดเจน
  • หลีกเลี่ยงการไปสถานที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค

วิธีรักษาไข้หวัดใหญ่

หากมีอาการไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ไม่รุนแรงสามารถรักษาตามอาการที่บ้านได้ เช่น รับประทานยาลดไข้เมื่อมีไข้ ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตามตัว รับประทานยาลดน้ำมูก ยาละลายเสมหะเมื่อมีน้ำมูก ดื่มน้ำให้เพียงพอ แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัดใหญ่รุนแรง แนะนำให้รีบพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการอย่างใกล้ชิด

วิธีรักษาไข้หวัดใหญ่ ด้วยตัวเอง

อาการไข้หวัดใหญ่มีทั้งอาการทั่วไปที่สามารถหายเองได้ และอาการรุนแรงที่ต้องรีบพบแพทย์ ดังนั้นกันไว้ย่อมดีกว่าแก้ด้วยการปฏิบัติตามวิธีป้องกันโรคที่เราแนะนำไปข้างต้น นอกจากนี้ยังสามารถสร้างความอุ่นใจด้วยการซื้อประกันสุขภาพเพื่อช่วยแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาล เพราะในการป่วยแต่ละครั้งเราไม่มีทางรู้เลยว่าจะมีอาการเพียงเล็กน้อย พบแพทย์แล้วกลับบ้านได้เลย หรือมีอาการรุนแรงจนต้องนอนโรงพยาบาล แต่การมีประกันสุขภาพ คุณจะสามารถใช้สิทธิ์ได้ทั้งผู้ป่วยนอก OPD และผู้ป่วยใน IPD ตามแผนที่เลือก ช่วยบริหารความเสี่ยงด้านการเงินในยามที่เจ็บป่วย ไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่หนักอึ้ง อุ่นใจกว่าที่เคย

ช่วยค้นหาประกันที่ใช่
ดูแล คุ้มครองได้ตรงใจคุณ

เพียงเลือกสิ่งที่คุณสนใจ และให้เราเลือกประกัน
ที่เหมาะที่สุดสำหรับคุณ

ช่วยค้นหาประกันที่ใช่ ดูแล คุ้มครองได้ตรงใจคุณ

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

back to top