5 เคล็ดลับการจัดการค่าใช้จ่ายเรื่องบ้านสำหรับคนที่ยังผ่อนบ้าน 5 เคล็ดลับการจัดการค่าใช้จ่ายเรื่องบ้านสำหรับคนที่ยังผ่อนบ้าน

5 เคล็ดลับการจัดการค่าใช้จ่ายเรื่องบ้านสำหรับคนที่ยังผ่อนบ้าน

การจัดการค่าใช้จ่ายเรื่องบ้านเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เจ้าของบ้านสามารถบริหารการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดภาระหนี้สิน และป้องกันปัญหาทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีภาระผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน ซึ่งหากไม่มีการวางแผนการเงินที่ดี อาจส่งผลให้เกิดหนี้สินสะสมหรือขาดสภาพคล่องทางการเงินได้

ในบทความนี้ เราจะแนะนำเคล็ดลับการบริหารค่าใช้จ่ายบ้านและการผ่อนชำระสินเชื่อให้มีประสิทธิภาพ พร้อมตัวอย่างแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อช่วยให้คุณสามารถควบคุมงบประมาณและมีความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว

1. ประเมินค่าใช้จ่ายรายเดือนในบ้าน

ก่อนจะควบคุมหรือลดค่าใช้จ่าย ควรเริ่มจากการทำความเข้าใจว่ารายละเอียดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง

ประเมินค่าใช้จ่ายรายเดือนในบ้าน

ตัวอย่างค่าใช้จ่าย

  • ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต: ค่าใช้จ่ายพื้นฐานที่ต้องจ่ายทุกเดือน
  • ค่าส่วนกลาง (กรณีอยู่คอนโด/หมู่บ้านจัดสรร): ค่าดูแลส่วนกลาง เช่น ระบบรักษาความปลอดภัย สระว่ายน้ำ หรือสนามเด็กเล่น
  • ค่าซ่อมบำรุงบ้าน: ค่าบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ประปา หลังคา เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ
  • ค่าอาหารและของใช้จำเป็น: ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต

วิธีการจัดการค่าใช้จ่าย

ใช้แอปพลิเคชัน เช่น Money Manager หรือบันทึกรายละเอียดค่าใช้จ่ายใน Microsoft Excel หรือ Google Sheets เพื่อให้เห็นภาพค่าใช้จ่ายทั้งหมด และเป็นตัวช่วยในการควบคุมดูแลค่าใช้จ่าย

2. ตั้งงบประมาณและวางแผนสำหรับค่าใช้จ่ายในบ้าน

ทำการตั้งงบประมาณเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้คุณสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายและกันเงินสำรองไว้สำหรับสิ่งจำเป็นด้วยการแบ่งงบประมาณแบบ 50/30/20

  • 50% สำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็น เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าน้ำไฟ ค่าอาหาร
  • 30% สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ช้อปปิ้ง ท่องเที่ยว บันเทิง
  • 20% สำหรับการออมเงินและการลงทุน เพื่ออนาคตที่มั่นคง

3. ลดค่าใช้จ่ายในบ้านที่ไม่จำเป็นและลงทุนเพื่อประหยัดในระยะยาว

ลดค่าใช้จ่ายในบ้านที่ไม่จำเป็นและลงทุนเพื่อประหยัดในระยะยาว

ตัวอย่างวิธีลดค่าใช้จ่ายภายในบ้าน

  • ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน เช่น หลอดไฟ LED เครื่องปรับอากาศ Inverter
  • ค่าอาหาร: วางแผนมื้ออาหารล่วงหน้า ลดการสั่งอาหารเดลิเวอรี่
  • ตรวจสอบบ้านเป็นประจำเพื่อลดค่าซ่อมใหญ่ในอนาคต
  • ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อลดค่าไฟฟ้าในระยะยาว
  • ซื้อของเข้าบ้านแบบล็อตใหญ่เพื่อลดต้นทุนต่อหน่วย

4. วางแผนการผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน

ภาระผ่อนบ้านเป็นค่าใช้จ่ายที่ใหญ่ที่สุดของหลาย ๆ คน หากจัดการไม่ดี อาจส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงินได้

กลยุทธ์ผ่อนบ้านให้หมดไว

  • โปะเงินต้น: จ่ายมากกว่าขั้นต่ำทุกเดือนเพื่อลดดอกเบี้ยรวมที่ต้องจ่าย
  • รีไฟแนนซ์ (Refinance): หากดอกเบี้ยลดลง สามารถขอรีไฟแนนซ์เพื่อปรับอัตราดอกเบี้ยใหม่
  • เพิ่มรอบการชำระ: แบ่งการจ่ายเงินเป็นรายปักษ์แทนรายเดือนเพื่อลดภาระดอกเบี้ย

ตัวอย่างการจัดการ

  • ตรวจสอบโปรโมชันรีไฟแนนซ์ของธนาคารทุก 3-5 ปี
  • วางแผนการเงินให้สามารถจ่ายเงินต้นเพิ่มได้ทุกปี

5. ออมเงินเผื่อฉุกเฉินและเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

ออมเงินเผื่อฉุกเฉินและเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

เตรียมสำรองเงินเพื่อค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด เช่น ค่าซ่อมบ้าน ค่ารักษาพยาบาล ที่อาจเกิดขึ้นได้เพื่อช่วยลดความเสี่ยงทางการเงิน การเตรียมแหล่งเงินสำรอง สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

วิธีนำไปใช้:

  • การมีบัญชีออมทรัพย์ และเก็บออมเงินสำรองอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน และใช้บัญชีแยกจากบัญชีใช้จ่ายปกติ เพื่อลดโอกาสถอนมาใช้โดยไม่จำเป็น
  • การสำรองเงินในกองทุนรวมตลาดเงิน ที่เป็นการลงทุนเงินสำรองในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยและถอนออกได้ง่าย
  • หักเงิน 10% ของรายได้ทุกเดือนเก็บเข้ากองทุนฉุกเฉิน

การจัดการค่าใช้จ่ายเรื่องบ้านและการผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมการเงินได้ดีขึ้น ลดภาระหนี้สิน และสร้างความมั่นคงในระยะยาว แล้วคุณจะพบว่าการมีชีวิตที่สมดุลทั้งการมีบ้านในฝันพร้อมไปกับมีความมั่นคงทางการเงินนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ง่ายขึ้นเยอะ และหากคุณผ่อนสินเชื่อบ้านกับสินเชื่อธนาคารกสิกรไทย และต้องการตัวช่วยยามวิกฤติทางการเงิน ธนาคารมีสินเชื่อบ้าน กู้เพิ่มได้ สินเชื่อวงเงินก้อนสำหรับใช้จ่ายอเนกประสงค์ ผ่อนได้นานสูงสุด 30 ปี ดอกเบี้ยพิเศษถูกกว่าสินเชื่อส่วนบุคคล

แล้วคุณมีเคล็ดลับการจัดการค่าใช้จ่ายบ้านที่ใช้ได้ผลหรือไม่? แชร์ความคิดเห็นของคุณกับเราได้เลย!


กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 6%-8% ต่อปี


สมมติฐานการคำนวณมาจากอัตราดอกเบี้ย MRR ถึง MRR+0.55% ต่อปี โดยอัตราดอกเบี้ย MRR ณ วันที่ 4 มีนาคม 2568 = 7.08% ต่อปี ทั้งนี้ "อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้" ศึกษารายละเอียดการคำนวณเพิ่มเติมได้ คลิกที่นี่

อ่านบทความสินเชื่อบ้าน
และเรื่องบ้านเพิ่มเติม

คลิกเลย
สนใจสมัครสินเชื่อบ้าน
กรอกข้อมูลเพื่อให้ธนาคารติดต่อกลับ
สมัครเลย
แตะเพื่อเปิด