แรงผลักดันจากปัจจัยในด้านต่างๆ เช่น มาตรการและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมโลก ความต้องการของผู้บริโภค รวมไปถึงกลยุทธ์และเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกจากบริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์ระดับโลก มีผลกระทบให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยต้องปรับตัว
ผลกระทบด้านความเสี่ยงและโอกาสต่อธุรกิจจากปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม |
หากไม่ดำเนินการ |
หากดำเนินการ |
ตัวอย่าง |
กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้น |
- ต้นทุนสูงขึ้น จากการจ่ายค่าปรับ ภาษี หรือค่าธรรมเนียม
- เผชิญมาตรการกีดกันทางการค้า
- สูญเสียภาพลักษณ์
|
หากปรับตัวได้ก่อนคู่แข่ง สินค้าจะเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆให้แก่บริษัท |
กฎระเบียบสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดผลักดันให้ Toyota วางแผนลงทุนใน Low-Carbon Vehicle รวม 7 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ในช่วงระยะเวลาถึงปี 2030 |
ลูกค้ามีความต้องการสินค้าที่ปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกต่ำ
(Low-Carbon Product)
เพิ่มมากขึ้น
|
- สูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาด
- ยอดขายลดลง
- ผลประกอบการทางการเงินลดลง
|
- รักษาฐานลูกค้าเดิม
- เพิ่มโอกาสและรายได้จากการขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่
- สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของผู้บริโภคและคู่ค้า
|
- ลูกค้าธุรกิจ: Suppliers ราว 30,000 รายทั่วโลกต้องปรับตัว เนื่องจาก Toyota ตั้งเป้าลดการปล่อยคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทานลง 30% ภายในปี 2030
- ลูกค้าบุคคล: ผู้บริโภคทั่วโลกกว่า 57% พิจารณาที่จะเลือกซื้อ Low-Carbon Product ในการซื้อสินค้าครั้งถัดไป (สำรวจโดย BCG ช่วงธันวาคม 2023)
|
สถาบันการเงินนำปัจจัยด้าน ESG มาใช้ในการพิจารณาสินเชื่อ |
- ความสามารถในการเข้าถึงบริการทางการเงินลดลง
- ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น
|
- กิจกรรมทางธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น เนื่องจากเป็นไปตามเกณฑ์ Thailand Taxonomy
- ต้นทุนทางการเงินดีขึ้น เนื่องจากเป็นกิจกรรมทางธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
|
กลุ่มธนาคารในยุโรปร่วมมือให้สินเชื่อ Sustainability- Linked Loan (SLL) แก่ Volkswagen โดยอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามผลการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกของบริษัท |
เทคโนโลยีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
ตามไม่ทันคู่แข่งด้านเทคโนโลยี ทำให้มีข้อเสียเปรียบในการพิจารณาคัดเลือกเป็นคู่ค้าของลูกค้ารายสำคัญ
|
หากบริษัทเริ่มปรับตัวก่อน จะสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันท่วงที ในขณะที่สามารถวางแผนการเงินและบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
BMW วางแผนที่จะใช้เหล็กจากกระบวนการผลิตที่ใช้พลังงานทดแทนเพื่อผลิตรถยนต์ที่จะขายในตลาดยุโรปภายในปี 2030 โดยต้องใช้เงินลงทุนกว่า 5.4 พันล้านยูโร |
ความเสี่ยงจากภัยพิบัติต่างๆ |
- กระบวนการผลิตหยุดชะงัก กระทบต่อรายได้
- ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการฟื้นฟูเยียวยาหลังภัยพิบัติ
- อาจจะถูกยกเลิกจากการเป็นคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน
|
หากป้องกันและรับมือภัยพิบัติได้ดี จะได้รับความเชื่อมั่นจากคู่ค้า ในด้านการรับมือต่อความเสี่ยงและการป้องกันธุรกิจหยุดชะงัก
|
Denso ประเมินรายได้ที่อาจจะลดลงหากเกิดภัยน้ำท่วมที่ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงักในเอเชียราว 9 หมื่นล้านเยน จึงลงทุนในระบบเชื่อมโยงและติดตามสถานะการผลิตของ suppliers เพื่อสามารถควบคุมและปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานได้ในกรณีเกิดภัยพิบัติ |
ขอบเขตการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
Solutions / ทางเลือกในการปรับตัวของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และผู้ประกอบรถยนต์ |
อายุการใช้งาน (ปี) |
Scope 1
ปรับปรุงประสิทธิภาพ
การใช้พลังงานใน
กระบวนการผลิต |
- ติดตั้งระบบควบคุมการผลิตอัจฉริยะ*
- นำความร้อนในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่**
- ใช้ Electric forklift
- ปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดการใช้พลังงาน
|
|
Scope 2
การใช้พลังงานสะอาด/ ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า
|
- ติดตั้ง Solar rooftop
- ติดตั้งหลอดไฟ LED
- ติดตั้งระบบปรับอากาศประหยัดพลังงาน***
|
|
Scope 3
ปรับปรุงการจัดหาวัตถุดิบหรือชิ้นส่วน
|
- จัดหาวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจาก suppliers ที่มีการดำเนินกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม
- ใช้วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนภายในประเทศหรือประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการขนส่งระหว่างประเทศ
|
-
|
หมายเหตุ
* ระบบควบคุมการผลิตอัจฉริยะ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในสายการผลิต และลดความสูญเสียที่เกิดจากชิ้นงานบกพร่องจากการผลิต
** การนำความร้อนในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่ เหมาะกับผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ต้องอาศัยพลังงานความร้อนในกระบวนการผลิต ได้แก่ ผู้ผลิตชิ้นส่วนขึ้นรูป และผู้ผลิตยางล้อ
*** ระบบปรับอากาศ หรือ Heating, Ventilation, and Air Conditioning (HVAC) คือระบบที่มีไว้เพื่อควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงงาน เช่น อุณหภูมิ ความชื้น การไหลของอากาศ และการกรองอากาศ เป็นต้น
ธนาคารกสิกรไทยพร้อมให้การสนับสนุนเพื่อช่วยให้ภาคธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ดังนี้
ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน |
รายละเอียด |
สินเชื่อ/การลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม
Green Loan/Bond
|
สินเชื่อและการลงทุนสำหรับโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น สินเชื่อพลังงานทดแทน สินเชื่อรถยนต์ไฟฟ้า สินเชื่อโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสินเชื่อเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม |
สินเชื่อ/การลงทุนที่เชื่อมโยงกับ
การดำเนินงานด้านความยั่งยืน
Sustainability-Linked Loan/Bond
|
สินเชื่อและการลงทุนเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยกำหนดเงื่อนไขของอัตราดอกเบี้ยเชื่อมโยงกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของผู้ขอสินเชื่อภายในระยะเวลาที่กำหนด |
สินเชื่อ/การลงทุนเพื่อ
การเปลี่ยนผ่าน
Transition Loan/Bond
|
สินเชื่อและการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจให้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อช่วยสนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย Paris Agreement |
ผลิตภัณฑ์และบริการที่มากกว่าบริการทางการเงิน |
รายละเอียด |
ผลิตภัณฑ์และบริการที่มากกว่าบริการทางการเงิน
|
- การสนับสนุนความรู้ด้าน ESG เพื่อธุรกิจ ที่มุ่งเน้นการส่งมอบความรู้และคำแนะนำ (Knowledge Provider) จากสถาบันชั้นนำด้าน ESG รวมไปถึงการบริการให้คำปรึกษาเชิงเทคนิค และการจับคู่ธุรกิจกลุ่ม ESG
- การพัฒนาโซลูชั่นเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับลูกค้าทั้งบุคคลและผู้ประกอบการ (Reduction Solution) เช่น WATT'S UP และ ปันไฟ (Punfai)
- แพลตฟอร์มขึ้นทะเบียนและขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) เพื่ออำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนและขายใบรับรอง REC
- โซลูชั่นเพื่อการวัดผล รายงาน และตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon MRV) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับประเทศและระดับสากลให้แก่ผู้ประกอบการ
- การสนับสนุนความรู้ในมิติอื่นๆ ของระบบนิเวศ
ด้านคาร์บอนเครดิต เช่น การขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อเป็นคาร์บอนเครดิต,
ทิศทางตลาดคาร์บอนเครดิตในประเทศและต่างประเทศ
|
บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
“The Edge of Decarbonization ชวนธุรกิจเร่งปรับตัว คว้าโอกาสใหม่ไร้คาร์บอน”
หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการปรึกษาวิธีการลดก๊าซเรือนกระจก สามารถติดต่อ email: decarbonization@kasikornbank.com