หลังการประชุมเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนของสหประชาชาติ หรือที่รู้จักกันในชื่อของ COP (Conference of the Parties) ครั้งที่ 16 ที่จัดชึ้นในปี 2010 ทั่วโลกเริ่มเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น
อย่างที่ทราบกันดีว่าปริมาณก๊าซที่ถูกปล่อยออกมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่มากที่สุด คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อันเกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิล รวมกับปริมาณพื้นที่สีเขียวอย่างต้นไม้และป่าไม้ที่ลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะเรือนกระจก ซึ่งเป็นภาวะที่การสะท้อนของรังสีอินฟาเรดที่ดูดซับก๊าซต่างๆ ไปยังชั้นบรรยากาศโลกและสะท้อนกลับมาสู่ผิวโลก ส่งผลให้อากาศเหนือพื้นผิวโลกมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นรวมถึงผิวโลกก็มีอุณภูมิที่สูงขึ้นตามกันเป็นลำดับ
ดังนั้นเมื่อทั่วโลกเริ่มเห็นถึงความสำคัญในการปกป้องสิ่งแวดล้อม ทำให้แนวคิดการทำธุรกิจแบบ ESG ถูกนำมาเป็นแนวนโยบายการบริหารงานของหลายๆ บริษัทชั้นนำทั่วโลก ซึ่งแนวคิดธุรกิจแบบ ESG นั้น เป็นการคิดพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับ 3 ด้านหลัก คือ ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) ด้านสังคม (Social) และด้านธรรมาภิบาล (Governance)
เมื่อแนวคิดดังกล่าวประกอบรวมกับความต้องการลงทุนของนักลงทุนและสถาบันการเงินในด้านความยั่งยืนที่เพิ่มมากขึ้น จึงส่งผลให้เศรษฐกิจโลกกำลังเกิดแนวคิดการปฏิวัติเพื่อความยั่งยืน (The Sustainability Revolution) นั่นคือเป็นการส่งเสริมธุรกิจให้เติบโตขึ้นโดยไม่ทิ้งความเสียหายไว้ให้กับโลก เพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจแบบ CLIC Economy ซึ่งย่อมาจาก
- Circular : การใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียน
- Lean : การลดความสูญเปล่าหรือการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
- Inclusive : ความเท่าเทียมกันทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม
- Clean : เศรษฐกิจบนสิ่งแวดล้อมสะอาด
โดยการปฏิวัติครั้งนี้จะทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างธุรกิจกลุ่มที่ตระหนักและปรับตัวเข้ากับระบบเศรษฐกิจใหม่ที่กล่าวมาข้างต้นได้ และกลุ่มที่ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงก็จะถูกจำกัดการดำเนินธุรกิจ อาจไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ หรือไม่ได้รับการยอมรับในกลุ่มผู้บริโภค และสุดท้ายก็จะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันไป
แล้วมีธุรกิจอะไรบ้างที่เริ่มปรับตัวให้เข้ากับยุคปฎิวัติเศรษฐกิจสู่ความยั่งยืน
ตัวอย่างใกล้ตัวที่หลายคนคุ้นเคย คือ บริษัทเทคโนโลยีแนวหน้าของโลก ไม่ว่าจะเป็น Apple ที่หันมาใช้พลังงานหมุนเวียนภายในบริษัทอย่างเต็มรูปแบบ Google ที่เน้นใช้พลังงานลม แสงอาทิตย์และก๊าซซีวภาพมากกว่า 70% หรือบริษัทชั้นนำในโลกฝั่งตะวันออกอย่าง SAMSUNG ก็หันมาใช้พลังไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรวมถึงการผลิตอุปกรณ์ที่เน้นประหยัดพลังงานเช่นกัน นอกจากนี้ บริษัทแฟชั่นกีฬาระดับโลกอย่าง NIKE เองก็ได้เน้นการนำมาใช้ซ้ำโดยใช้วัสดุรีไซเคิลมาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ รวมไปถึง ร้านกาแฟเจ้าดังอย่าง STARBUCKS ก็ได้ออกนโยบายว่าจะหยุดใช้แก้วพลาสติกและถ้วยกระดาษให้ได้ภายในปี 2025
จะเห็นว่าการผลักดันเพื่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนนั้น เริ่มเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นทั้งจากความร่วมมือของรัฐบาล นักลงทุน และภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดธุรกิจยั่งยืนแบบ ESG หรือการปฏิวัติความยั่งยืนเพื่อกลายเป็นระบบเศรษฐกิจแบบ CLIC Economy ต่างมีจุดหมายเดียวกันคือ Net Zero ลดการปล่อยคาร์บอนไดร์ออกไซด์ให้ได้มากกว่าที่เคยปล่อย เพื่อควบคุมไม่ให้อุณภูมิโลกพุ่งขึ้นสูงเกิน 2 องศา
แม้กระทั่งธนาคารกสิกรไทยเองก็เช่นกันก็ถือเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกที่สามารถชดเชยคาร์บอนเป็นศูนย์ เพื่อร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ดังนั้นจึงเป็นที่แน่นอนแล้วว่าโลกทั้งโลกกำลังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และเช่นเดียวกัน ในโลกของการลงทุนก็คงต้องให้การสนับสนุนและตอบรับบริษัทที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและหลีกเลี่ยงหรือไม่สนับสนุนในบริษัทที่ยังคงดำเนินวิถีแบบดั้งเดิมที่ไม่รักษ์โลก
ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของนักลงทุนที่ต้องตระหนักและเริ่มสนใจในรายละเอียดของการลงทุนว่า สิ่งที่ท่านลงทุนอยู่นั้นได้ยึดถือปฎิบัติ CLIC Economy หรือไม่อย่างใด เพราะ KBank Private Banking ในฐานะผู้ให้คำแนะนำด้านการลงทุนว่าเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าแนวคิดนี้จะสามารถเพิ่มโอกาสในสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนด้วยเช่นกัน
เพราะถ้าหากดูจากผลตอบแทนของกองทุนเพื่อความยั่งยืนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าส่วนใหญ่มีผลการดำเนินงานเหนือกว่าดัชนีชี้วัด ซึ่งเป็นเครื่องสะท้อนว่าการลงทุนเปลี่ยนโลกเพื่อมุ่งไปสู่ความยั่งยืน ไม่ใช่การเสียสละ หรือเป็น 'ทางเลือก' ที่มีต้นทุนสูงกว่าราคาเฉลี่ย แต่เป็นการสร้าง 'ทางรอด' ให้กับพอร์ตการลงทุนในอนาคต
ที่มา: TNN Online