ขั้นตอนการกู้ซื้อบ้านมือสองที่มือใหม่ต้องรู้

มือใหม่ต้องรู้! 7 ขั้นตอนกู้ซื้อบ้านมือสอง แบบฉบับเข้าใจง่าย

17 ต.ค. 2565

ขั้นตอนการกู้ซื้อบ้านมือสองที่มือใหม่ต้องรู้
quote

ขั้นตอนการกู้ซื้อบ้านมือสองสำหรับมือใหม่ที่ต้องรู้ มีอะไรบ้าง? แน่นอนว่าบ้านมือสองเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ที่สนใจจะหาที่อยู่อาศัยใหม่ แต่งบประมาณมีจำกัด หรืออยากประหยัดงบ ซึ่งบ้านมือสองมักมีราคาถูกกว่าบ้านมือหนึ่ง อีกทั้งบ้านบางหลังยังตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ไว้เรียบร้อยแล้ว วันนี้ทางธนาคารกสิกรไทย รวบรวม 7 ขั้นตอนการกู้ซื้อบ้านมือสอง แบบฉบับเข้าใจง่าย ครบจบไว้ที่นี่เรียบร้อยแล้ว ไปดูกันเลย!

quote
เลือกโครงการเพื่อกู้ซื้อบ้านมือสองที่ตัวเองสนใจ
เลือกโครงการเพื่อกู้ซื้อบ้านมือสองที่ตัวเองสนใจ
  1. เลือกโครงการบ้านมือสองที่ตัวเองสนใจ

    เริ่มด้วยการเลือกโครงการบ้านมือสองที่ตนเองสนใจ แนะนำให้มีการกำหนดรูปแบบ รายละเอียดที่ต้องการในการซื้อบ้านมือสองก่อน โดยอิงจากปัจจัยเหล่านี้

    • ทำเลและสภาพแวดล้อม เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่พลาดไม่ได้ เนื่องจากการเลือกทำเลที่ดี มีเส้นทางการเดินทางที่สะดวกสบาย เช่น ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า ใกล้กับห้างสรรพสินค้า ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการเจริญเติบโตของถิ่นที่อยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น
    • สภาพของที่ดินและบ้านที่สนใจ เมื่อได้ทำเลเรียบร้อยแล้ว ให้ดูเรื่องของสภาพที่ดิน สิ่งปลูกสร้างรอบ ๆ บ้าน และการตกแต่งภายในว่ามีสภาพสมบูรณ์หรือไม่
    • ลองมองหาบ้านที่เคยเป็นที่ให้เช่ามาก่อน บ้านที่เคยให้เช่า ถือว่าเป็นทำเลที่น่าสนใจ เนื่องจากมีผู้เคยเช่าแล้ว แปลว่าทำเลตรงนั้นอาจสามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจ หรือสามารถบำรุงซ่อมแซมบ้าน แล้วอาจปล่อยขายต่อเก็งกำไรได้ในอนาคต
    • เลือกบ้านที่มีเงื่อนไขหรือข้อเสนอต่าง ๆ มารองรับ แน่นอนว่าการซื้อบ้านนั้น เป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ทำให้หลาย ๆ คนอาจเลือกยื่นกู้ซื้อบ้านมากกว่าการซื้อสด ซึ่งผู้ซื้อสามารถยื่นขอสินเชื่อบ้านมือสองกับทางธนาคารได้เลย ทั้งนี้ให้ดูรายละเอียด อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาผ่อนให้ดีก่อนตัดสินใจเลือกยื่นขอสินเชื่อบ้าน
    • เลือกบ้านมือสองที่เป็นทรัพย์ธนาคาร บ้านที่เป็นทรัพย์ของธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินรอการขาย (NPA) หรือทรัพย์สินฝากขายนั้น มีข้อดีคือมีความน่าเชื่อถือสูงมาก มีตัวเลือกหลากหลาย มักมีการคัดกรองทำเลที่ดีมาแล้ว และสามารถตรวจสอบได้จริง รวมถึงมักมีการจัดโปรโมชันมากมาย การติดต่อขอสินเชื่อก็อาจมีอัตราดอกเบี้ยที่เอื้อกับผู้ซื้อและเพิ่มโอกาสในการจัดการสินเชื้อให้ผ่านได้สะดวกขึ้นอีกด้วย ใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสนใจ สามารถค้นหาทรัพย์ทำเลดีทั่วไทยกับ K-Property ได้ ที่นี่
  2. ติดต่อสถาบันการเงิน

    หลังจากเลือกโครงการหรือทำเลที่ถูกใจเรียบร้อยแล้ว ให้ติดต่อธนาคาร เพื่อทำการขอกู้ซื้อบ้านมือสอง ซึ่งก่อนที่จะยื่นขอสินเชื่อบ้านมือสองนั้น แนะนำให้สอบถามรายละเอียด เงื่อนไขต่าง ๆ ของแต่ละธนาคาร แล้วนำมาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย คำนวณวงเงินกู้ และอัตราดอกเบี้ยให้เรียบร้อยว่าควรเลือกยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารใดถึงจะคุ้มค่าที่สุด

    สำหรับการกู้สินเชื่อบ้านมือสองที่เป็นทรัพย์ธนาคารของ K-Property นั้น เมื่อเลือกทรัพย์ที่สนใจได้แล้ว สามารถตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดทรัพย์ และนำราคาไปคำนวณวงเงินกู้สินเชื่อบ้านมือสองและยอดผ่อนต่อเดือนก่อนการตัดสินใจผ่านเว็บไซต์ของธนาคารกสิกรไทยได้ ที่นี่ ทั้งนี้ หากต้องการดูทรัพย์จริงก็สามารถติดต่อเจ้าหน้าธนาคารที่ได้

    ซึ่งทางธนาคารกสิกรไทยก็มีช่วงเวลาจัดโปรโมชันให้กับผู้ที่ต้องการกู้ซื้อบ้านมือสองคอยติดตามได้ทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นลดราคาบ้านมือสอง อัตราดอกเบี้ย หรือระยะเวลาการกู้ โดยเข้าไปเลือกบ้าน ดูรายละเอียดโปรโมชันเพิ่มเติม และติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ เว็บไซต์ของธนาคารกสิกรไทย

  3. เตรียมเอกสารให้พร้อม

    เมื่อติดต่อสถาบันการเงินเรียบร้อยแล้ว ให้เตรียมเอกสารในการยื่นขอสินเชื่อบ้านมือสอง สำหรับธนาคารกสิกรไทยนั้น ใช้เอกสารดังนี้

    • ใบสมัครสินเชื่อ
    • หนังสือให้ความยินยอมที่กรอกรายละเอียดครบถ้วนแล้วโดยผู้กู้และผู้ร่วมกู้
    • เอกสารยืนยันตัวตน
      • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรข้าราชการของผู้กู้ กู้ร่วม
      • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส
        (หากมี)
      • สำเนาทะเบียนสมรส หรือหนังสือยืนยันสถานภาพสมรส ทั้งของผู้กู้และผู้กู้ร่วม
        (หากมี)
      • สำเนาทะเบียนบ้าน โดยต้องมีสำเนาครบทุกหน้า
      • สำเนาทะเบียนบ้านและสูติบัตรของบุตร (หากมี)
      • ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (หากมี)
    • เอกสารยืนยันรายได้
      • หนังสือรับรองเงินเดือนที่อยู่ในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน หรือ ใบแจ้งเงินเดือน (payslip) ฉบับล่าสุด 1 เดือน
      • ใบแจ้งโบนัส (ถ้ามี)
      • เอกสารการเดินบัญชี (Statement) ย้อนหลังอย่างต่ำ 6 เดือน
    • เอกสารยืนยันหลักทรัพย์
      • สำเนาโฉนดที่ดิน (นส.3 / นส.3ก) หรือใช้เป็นหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ พร้อมสารบัญจดทะเบียนครบทุกหน้า
    • เอกสารยื่นเป็นหลักประกัน สำหรับการซื้อสินทรัพย์รอการขาย (NPA) กับทางธนาคาร จะต้องมีเอกสารเหล่านี้
      • แบบฟอร์มประสงค์ซื้อทรัพย์สินรอการขาย และคำเสนอซื้อทรัพย์สินรอการขาย
      • หลักฐานการวางเงินประกันสินทรัพย์ตามมูลค่าที่ทางธนาคารกำหนด
      • หากมีการซ่อมแซม ต่อเติมบ้าน ให้แนบใบประมาณการก่อสร้าง และใบอนุญาตทำการต่อเติมด้วย
  4. การทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านในการกู้ซื้อบ้านมือสอง
    การทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านในการกู้ซื้อบ้านมือสอง
  5. ทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้าน

    หลังจากเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว ในขั้นตอนต่อไปคือการทำสัญญาสำหรับการซื้อขายบ้านและที่ดิน ซึ่งจะต้องมีหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน (ทด.13) แบบเป็นลายลักษณ์อักษร มาดูรายละเอียดสำคัญที่ต้องระบุอยู่ในสัญญาการซื้อขายกันก่อน ว่าจำเป็นต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง

    • ระยะเวลาของสัญญา ในสัญญาจะต้องมีการกำหนดระยะเวลา รวมถึงวันที่จะทำการโอนกรรมสิทธิ์อย่างชัดเจน
    • รายละเอียดของคู่สัญญา จะต้องมีรายละเอียดของผู้ซื้อและผู้ขายระบุไว้อย่างถูกต้องทั้งอายุ ที่อยู่ ชื่อ-สกุลของคู่สัญญา รวมถึงช่องที่ให้ลงชื่อของคู่สัญญาและพยานในส่วนท้ายของสัญญา เพื่อยืนยันว่าคู่สัญญาได้รับรู้สัญญาฉบับนี้
    • รายละเอียดของสินทรัพย์ มีการระบุเลขที่โฉนด ขนาดที่ดิน และเลขที่สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งมีการระบุที่อยู่ของสินทรัพย์ที่ถูกต้อง
    • รายละเอียดการจดทะเบียนและโอนกรรมสิทธิ์ ระบุใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย และค่าจดจำนอง รวมถึงระบุรายละเอียดวันที่ที่จะมีการส่งมอบที่ดิน และวันโอนกรรมสิทธิ์
    • รายละเอียดเงื่อนไขในกรณีที่ผิดสัญญา ระบุเงื่อนไข รายละเอียดที่ระบุว่าเป็นการผิดสัญญา พร้อมความรับผิดชอบของฝ่ายที่ผิดสัญญา
    • ข้อตกลงและรายละเอียดอื่น ๆ สัญญาจะต้องมีการระบุข้อยกเว้น เงื่อนไขต่าง ๆ เช่น กรณีการผิดสัญญา หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยกเลิกสัญญาจะต้องชำระค่าปรับอย่างไร เงื่อนไขการคืนเงินมัดจำ การรับประกันบ้าน เป็นต้น
  6. วางเงินประกันการเสนอซื้อตามที่ตกลงกับผู้ขาย

    โดยปกติการซื้อบ้านมือสองจะไม่สามารถผ่อน์ได้ ผู้ซื้อจะต้องวางเงินประกันการเสนอซื้อตามที่ตกลงเท่านั้น ซึ่งการวางเงินประกันการเสนอซื้อ เป็นการรักษาสิทธิ์ในการจองบ้าน ดังนั้นผู้ซื้อจะต้องมีเงินสำรองไว้จ่ายค่าเงินประกันการเสนอซื้อบ้านประมาณ 5-20% ของราคาบ้านในวันที่นัดไปทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์

    สำหรับผู้ที่กู้ซื้อบ้านมือสองกับทางธนาคารหรือกู้ซื้อบ้านซึ่งเป็นทรัพย์ของธนาคารนั้น จะต้องดูรายละเอียดของอัตราดอกเบี้ย หรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม รวมทั้งเงื่อนไขและนโยบายต่าง ๆ ของธนาคารอีกด้วย

  7. ตรวจเช็กสภาพในการกู้ซื้อบ้านมือสองก่อนนัดโอน
    ตรวจเช็กสภาพในการกู้ซื้อบ้านมือสองก่อนนัดโอน
  8. ตรวจเช็กสภาพบ้านมือสองก่อนนัดโอน

    ในการซื้อบ้านมือสองจำเป็นต้องตรวจบ้านก่อนโอนอย่างละเอียดอีกครั้ง ขอแนะนำให้เริ่มตรวจสอบตัวบ้านตั้งแต่โครงสร้างของบ้าน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรอบบ้าน งานประปา งานไฟฟ้าต่าง ๆ รวมไปถึงรอยร้าว รอยแตกตามผนัง และเพดานว่าอยู่ในสภาพที่รับได้หรือไม่

  9. นัดโอนบ้านที่สำนักงานที่ดิน

    นัดวันโอนบ้าน ณ สำนักงานที่ดิน เมื่อผู้ซื้อและผู้ขายได้ทำการตกลงการซื้อขายกันเรียบร้อยแล้ว จะต้องตกลงนัดวันโอนบ้านร่วมกันที่สำนักงานที่ดินตามแต่ละเขต โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้

    1. ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อทำการรับบัตรคิว รอการโอนบ้าน
    2. ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายทำการเซ็นชื่อในเอกสารต่อหน้าเจ้าหน้าที่
    3. เจ้าหน้าที่จะสรุปค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมการโอน ค่าประเมินทุนทรัพย์ และให้นำไปชำระเงิน
    4. เมื่อชำระเงินเรียบร้อย จะได้รับใบเสร็จรับเงินสีเหลือง และสีฟ้า โดยให้ถ่ายเอกสารใบเสร็จสีฟ้าเอาไว้ และยื่นเอกสารให้กับเจ้าหน้าที่
    5. เจ้าหน้าที่ทำการพิมพ์สลักหลังโฉนด ให้ทำการตรวจสอบความถูกต้อง
    6. เจ้าหน้าที่ส่งมอบโฉนดพร้อมสัญญาซื้อขาย (ทด.13) ให้แก่ผู้รับโอน *ในกรณีที่เป็นการกู้ซื้อบ้าน ธนาคารจะเป็นผู้เก็บโฉนดตัวจริงเอาไว้ โดยเจ้าของในโฉนดจะเป็นชื่อธนาคาร จนกว่าผู้ซื้อจะทำการผ่อนชำระจนหมด*

    ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการโอน มีดังนี้

    • ค่าธรรมเนียมการโอน คิด 2% จากราคาประเมิน เช่น ราคาประเมินอยู่ที่ 2,000,000 บาท จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมิน 2,000,000 บาท คือ 40,000 บาท (ขึ้นอยู่กับรายละเอียดในสัญญาว่าใครจะเป็นผู้จ่าย หรือแบ่งชำระคนละครึ่ง)
    • ค่าจดจำนอง สำหรับผู้ที่ยื่นกู้ซื้อบ้าน จะต้องจ่ายค่าจดจำนอง 1% จากราคาจำนอง แต่จะเสียไม่เกิน 200,000 บาท เช่น ซื้อบ้าน 2,000,000 บาท จะต้องเสียค่าจดจำนอง 1% ซึ่งก็คือ 20,000 บาท (โดยปกติผู้ซื้อจะต้องเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายส่วนนี้) และหากเป็นการซื้อสด จะไม่ต้องเสียค่าจดจำนอง
    • ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายตามกำหนดของกรมสรรพากร ในกรณีที่ผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษี เพราะถือว่ามีรายได้มาจากการซื้อขาย ซึ่งจะถูกคิดภาษีแบบอัตราก้าวหน้า หรือแบบขั้นบันได (โดยปกติผู้ขายจะต้องเป็นผู้ชำระส่วนนี้ เนื่องจากถือว่าผู้ขายจะได้รับรายได้เข้ามา แต่ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการตกลงซื้อขายระหว่างคู่สัญญา)
    • ค่าอากรแสตมป์ (ค่าใช้จ่ายของผู้ขาย) คิดอัตรา 0.5% ตามราคาขายบ้านหรือราคาประเมินจากสำนักงานที่ดิน (โดยใช้เกณฑ์การคำนวณตามอัตราที่สูงกว่า) ซึ่งในกรณีที่ผู้ขายไม่ได้เสียค่าธุรกิจเฉพาะ จะต้องเสียค่าอากรแสตมป์
    • ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ค่าใช้จ่ายของผู้ขาย) คิดเป็น 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมินจากสำนักงานที่ดิน (โดยใช้เกณฑ์การคำนวณตามอัตราที่สูงกว่า) ซึ่งโดยปกติผู้ขายจะต้องครองบ้านในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี หากถือเกิน 5 ปีขึ้นไป หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี จะไม่ต้องเสียค่าธุรกิจเฉพาะ แต่ให้เสียค่าอากรแสตมป์แทน
ประโยชน์ของการกู้ซื้อบ้านมือสอง
ประโยชน์ของการกู้ซื้อบ้านมือสอง

ประโยชน์ของการกู้ซื้อบ้านมือสอง

ข้อดีของการกู้ซื้อบ้านมือสองมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการเลือกสภาพบ้าน ทำเล และจัดสรรบ้านตามงบประมาณที่มีอยู่ และช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินขอบคุณได้มากขึ้น ซึ่งรายละเอียดของข้อดีที่ว่านี้นั้น สามารถสรุปเป็นใจความหลัก ๆ ได้ ดังนี้

  • ซื้อบ้านมือสอง ราคาเบาสบายกว่าซื้อบ้านมือหนึ่ง แน่นอนอยู่แล้วว่าบ้านมือหนึ่งจะต้องมีราคาที่สูง อีกทั้งต้องแย่งชิง จับจองทำเลที่ใช่กันอีก ดังนั้นการซื้อบ้านมือสอง จะช่วยให้คุณสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก
  • มีสิทธิพิเศษ โปรโมชัน ส่วนลดต่าง ๆ ให้กับผู้ซื้อ เนื่องจากบ้านมือสองที่เป็นสินทรัพย์รอขายจากธนาคาร หรือเป็นสินทรัพย์ฝากขาย มักต้องการผู้ซื้อที่ซื้อเร็ว ซื้อไว ทางธนาคารจึงจัดโปรโมชันเพื่อกระตุ้นให้คนซื้อบ้านมากขึ้น เช่น การฟรีค่าโอน หรือฟรีดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน ฯลฯ
  • เมื่อโอนรับบ้านเสร็จ สามารถเข้าอยู่ได้ทันที บ้านมือสองบางหลังนั้น จะเป็นบ้านที่ตกแต่งเรียบร้อยแล้ว พร้อมย้ายเข้าไปอยู่ได้ โดยไม่ต้องมีระยะเวลาในเรื่องของการขนส่งรอเฟอร์นิเจอร์ หรือก่อสร้างอื่น ๆ เพิ่มเติม
  • สามารถซื้อไว้เก็งกำไร สำหรับสายลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ อยากมีรายได้เพิ่มเข้ามา ด้วยการซื้อบ้านมือสองแล้วนำมาปรับปรุง ซ่อมแซมบ้าน ก็สามารถนำบ้านที่ซื้อมา ประกาศขาย หรือประกาศเช่า เพื่อเพิ่มรายได้ของตนเองได้อีกด้วย

การกู้ซื้อบ้านมือสอง อาจดูมีรายละเอียดที่จำเป็นค่อนข้างเยอะที่ต้องรู้ อีกทั้งขั้นตอนการซื้อบ้านมือสองค่อนข้างซับซ้อนกว่าการซื้อบ้านใหม่ แต่การกู้ซื้อบ้านมือสองก็ยังเป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ด้วยคนซื้อมีโอกาสที่จะได้บ้านในทำเลที่เทียบเท่ากับบ้านมือหนึ่งในราคาที่เป็นมิตร แล้วยังสามารถต่อรองราคา สอบถามโปรโมชัน ขอส่วนลด สิทธิพิเศษต่าง ๆ ได้อีกด้วย และสำหรับผู้ที่กำลังมองหาบ้านมือสอง ทำเลดี ราคาเลือกได้ตามงบประมาณ ขอแนะนำ K-Property ของธนาคารกสิกรไทย ที่คุณสามารถเข้าไปเลือกบ้านที่ชอบ พร้อมจองบ้านออนไลน์ได้เลย!