Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล


ธนาคารมุ่งบริหารจัดการงานทรัพยากรบุคคลเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ K-Strategy ที่ให้ความสำคัญต่อการเพิ่มอำนาจให้ทุกชีวิตและธุรกิจของลูกค้า (Customer Empower Organization) ภายใต้ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมและบริบทขององค์กร โดยมีองค์ประกอบ 5 มิติ ดังนี้

  • การออกแบบองค์กรเพื่อการเติบโตและประสิทธิภาพการทำงาน (Organization Design for Growth)
  • การทำงานรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพ (Effective New Way of Work)
  • การพัฒนาแบบบูรณาการ (Integrated Development)
  • การกำหนดผลตอบแทนจากผลการปฏิบัติงาน (Performance-Driven Reward)
  • ความเป็นผู้นำที่มีจุดมุ่งหมายและเน้นการทำได้จริง (Purposeful & Practical Leadership)

กระบวนการสรรหาและคัดเลือกพนักงาน
ธนาคารได้มีการจัดอบรมและมีคู่มือสำหรับผู้ที่เป็นกรรมการสัมภาษณ์ในการคัดเลือกบุคลากรเข้าสู่ธนาคาร และมีการจัดกิจกรรมหรือช่องทางในการสรรหาใหม่ๆ เช่น K Career Day สัมภาษณ์ทันทีรู้ผลทันใจ และ Roadshow KBank and KBTG "U.S. Roadshow 2023: Great Future & Grow Together" เป็นต้น เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสรรหาพนักงานให้เพียงพอต่อความต้องการขององค์กร โดยธนาคารคัดเลือกผู้ที่มีคุรสมบัติสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กรเพิ่มเติมจากการพิจารณาทักษะความรู้และความสามารถ เพื่อให้พนักงานใหม่สามารถทำงานและเติบโตไปพร้อมกังองค์กรได้อย่างยั่งยืน


การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน
ธนาคารส่งเสริมให้พนักานมีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีโอกาสได้เติบโตในหน้าที่การงานหรือสาขาอาชีพ จึงจัดให้มีการพัฒนาศักยภาพของพนักงานทุกระดับอย่างเป็นระบบ ดังนี้

  1. การเสริมสร้างลักษณะความเป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง
  2. การเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้พนักงาน

ตัวอย่างโปรแกรมพัฒนาศักยภาพของพนักงานที่สำคัญ
Data Talent bootcamp
Product Manager Capability Development Program


การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน
ธนาคารประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานปีละ 2 ครั้ง โดยใช้หลักการประเมินผลอย่างยุติธรรม เพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและมีความคล่องตัวในการทำงาน สร้างวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมและกระตุ้นการสร้างสรรค์ทางธุรกิจ การกำหนดเป้าหมายของพนักงานจะเป็นไปตามเป้าหมายทางธุรกิจของธนาคาร ซึ่งรวมถึงตัวชี้วัดของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder Matric) ความยั่งยืน (Sustainability) และตัววัดที่มุ่งเน้นในการปฏิบัติงาน (Areas of Focus)


ความผูกพันของพนักงาน
ธนาคารจัดทำ Employee Engagement Pulse Survey 2023 โดยแบ่งเป็น 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ ความเป็นผู้นำ สุขภาวะทากายและใจ และความผูกพันต่อองค์กรในภาพรวม โดยมุ่งหวังที่จะประเมินความพึงพอใจในงาน (Job Satisfaction) ความมุ่งหวัง (Purpose) ความสุขในการทำงาน (Happiness) และความเครียดจากการทำงาน (Stress) เพื่อให้ผู้บริหารสายงานนำผลสำรวจมาพัฒนาความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด


Employee Engagement
2020 2021 2022 2023 2023 Target
Percentage of engaged employees75777780*77
Percentage of employees who responded to the survey10010010093

touch

* ผลการประเมินความผูกพันของพนักงานประจำปี 2566 จากการจัดทำ Employee Engagement Pulse Survey เมื่อตอนสิ้นปี 2566 ซึ่งการสรุปผลลัพธ์ถูกดำเนินการแล้วเสร็จหลักจากที่มีการเผยแพร่รายงานการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ปี 2566 ไปแล้ว ดังนั้น ข้อมูลในรายงานการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนปี 2566 จึงอ้างอิงผลการประเมินจากปีก่อนหน้า ซึ่งจะแตกต่างจากผลการประเมินประจำปี 2566


การจัดสรรสวัสดิการ
ธนาคารได้จัดสรรสวัสดิการให้พนักงานทุกคนเพื่อลดความกังวลและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี อันจะส่งผลต่อการปฏิบัติงาน และการดำรงชีวิตที่ดีของพนักงาน ตลอดจนครอบครัวของพนักงาน โดยแบ่งเป็น 3 เรื่อง ได้แก่

  1. ด้านการเงิน ธนาคารให้ความช่วยเหลือพนักงานด้านต่างๆ ได้แก่ เงินช่วยเหลือต่างๆ เช่น เงินเกษียณอายุสำหรับพนักงาน เงินช่วยเหลือค่าใช้จ่ายของบุตร เงินกู้ยืมสำหรับที่อยู่อาศัย รถยนต์ การศึกษา การสมรส การบรรเทาทุกข์อื่นๆ เช่น การศึกษาของบุตรและบุตรบุญธรรม การรักษาพยาบาลของพนักงาน บิดามารดา คู่สมรส บุตรธิดาของพนักงาน กองทุนต่างๆ รวมถึงเรื่องครอบครัวที่ธนาคารอนุญาตให้พนักงานหญิงที่มีบุตรและบุตรยังอยู่ในช่วงวัยที่ต้องดื่มน้ำนมจากมารดา สามารถหยุดพักการทำงานระหว่างวันเพื่อให้นมบุตร หรือทำการเก็บน้ำนมให้กับบุตรได้ โดยไม่นับเป็นการขาดชั่วโมงการทำงาน และให้สิทธิพนักงานหญิงลาคลอดได้ทั้งก่อนและหลังคลอด ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน โดยได้รับค่าจ้าง และพนักงานหญิงที่ลาคลอดสามารถได้กลับมาทำงานในตำแหน่งเดิม และได้รับค่าตอบแทนไม่น้อยไปกว่าเดิม
  2. ด้านสุขภาพที่ครอบคลุมเรื่องการตรวจสุขภาพประจำปี ดูแลสุขภาพจิตของพนักงาน การให้การรักษาพยาบาล การเบิกค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล และสนับสนุนการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ
  3. การยืนหยุ่นเวลาทำงานและการทำงานจากที่บ้าน เพื่อตอบโจทย์ให้พนักงานสามารถบริหารเวลาการทำงานและชิวิตส่วนตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การร้องทุกข์ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารมีการกำหนดระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจนและเข้มงวดในการจัดการกับข้อร้องเรียนของพนักงานและการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน พร้อมกับให้ความสำคัญในการรับฟังความคิดเห็นจากพนักงาน การปรึกษาหารือร่วมกับตัวแทนของลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานเสมอ โดยมีขั้นตอนการยื่นเรื่องร้องทุกข์ของพนักงาน ดังนี้

  1. การร้องทุกข์
    พนักงานที่ต้องการร้องทุกข์สามารถร้องทุกข์เป็นลายลักษณ์อักษรได้โดยตรงกับฝ่ายพนักงานสัมพันธ์ สายงานทรัพยากรบุคคล โดยหนังสือร้องทุกข์ต้องมีข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง สังกัดของผู้ยื่นร้องทุกข์ ระบุเรื่องหรือประเด็นที่ต้องการร้องทุกข์ รายละเอียดผู้เกี่ยวข้อง เช่น ชื่อ, พยาน, เหตุการณ์ต่าง ๆ และวัตถุประสงค์หรือความต้องการในการร้องทุกข์
  2. การสอบสวนและพิจารณาข้อร้องทุกข์
    หาข้อเท็จจริง วิเคราะห์ และพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ (หรือในกรณีที่จำเป็นอาจจะมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงก็ได้) จากนั้นจะแจ้งผลเป็นหนังสือให้พนักงานผู้ร้องทุกข์และผู้เกี่ยวข้องทราบภายใน 30 วัน พร้อมติดตามผลการดำเนินการตามคำวินิจฉัย
  3. การอุทธรณ์ผลวินิฉัยข้อร้องทุกข์
    หากพนักงานเห็นว่าผลการพิจารณายังไม่เป็นธรรม สามารถอุทธรณ์ต่อ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ หรือ รองผู้จัดการใหญ่ สายงานทรัพยากรบุคคล เป็นหนังสือภายใน 15 วันนับจากวันที่รับทราบผล หากไม่ยื่นอุทธรณ์วันตามกำหนด ให้ถือเป็นการยุติเรื่องและไม่สามารถยื่นร้องทุกข์ในเรื่องเดิมได้อีก
  4. ความคุ้มครองผู้ร้องทุกข์และผู้เกี่ยวข้อง
    ธนาคารจะปกปิดชื่อผู้ร้องทุกข์และผู้เกี่ยวข้องเป็นความลับหากไม่ประสงค์เปิดเผย และจะไม่นำเรื่องร้องทุกข์ไปใช้ในการพิจารณาผลการปฏิบัติงานหรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ นอกจากนี้ ธนาคารจะไม่ดำเนินการใดๆ ที่เป็นผลร้ายต่อผู้ร้องทุกข์หรือผู้เกี่ยวข้องที่ร้องทุกข์โดยสุจริต

flowchart process

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
การบริหารความแตกต่างหลากหลาย





บริการทุกระดับประทับใจ