TikTok ทางลัดธุรกิจ โตไวด้วยอินไซต์ที่ใช่ เจาะกลยุทธ์เด็ดจากผู้เชี่ยวชาญ TikTok ทางลัดธุรกิจ โตไวด้วยอินไซต์ที่ใช่ เจาะกลยุทธ์เด็ดจากผู้เชี่ยวชาญ

TikTok ทางลัดธุรกิจ โตไวด้วยอินไซต์ที่ใช่ เจาะกลยุทธ์เด็ดจากผู้เชี่ยวชาญ ใช้ได้จริง ขายได้ชัวร์

TikTok Expansion Frontier 2025 รู้ทันเทรนด์-เข้าใจอินไซต์-ขยายธุรกิจ จากผู้เชี่ยวชาญตัวจริง จาก K SME SIERRA โดยธนาคารกสิกรไทย

คุณมัณฑิตา จินดา (Founder & MD, Digital Tips Academy) และ ผศ.ดร.ธีรศานต์ สหัสสพาศน์ (ผู้ก่อตั้ง SOdA PrintinG)
วันที่ 20 พ.ค. 2568

ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของแบรนด์ระดับประเทศ หรือ SME ที่กำลังสร้างฐานลูกค้าใหม่ วันนี้ TikTok ไม่ใช่แค่ช่องทาง แต่คือ พรมแดนใหม่ของการทำธุรกิจ ที่เปิดโอกาสเท่ากันสำหรับทุกคน เพราะแพลตฟอร์มนี้ไม่ได้ต้องการงบการตลาดมากที่สุด แต่มันต้องการความเข้าใจมนุษย์มากที่สุด

K SME SIERRA ธนาคารกสิกรไทย จัดโปรแกรม E.D.G.E. ที่ให้ความรู้เพิ่มช่องทางการขาย ขยายตลาด พร้อมลงมือปฏิบัติจริงกับผู้เชี่ยวชาญ และกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ เวิร์กช็อป TikTok Expansion Frontier เพื่อถอดรหัสกลยุทธ์ที่ทำให้คอนเทนต์เล็ก ๆ กลายเป็นพลังขยายธุรกิจ จาก SME หน้าใหม่ ไปจนถึงแบรนด์ใหญ่ที่เลือกปั้นยอดขายผ่านคลิปที่ดู “ธรรมดา” แต่ทรงพลังเกินคาด โดยสองวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ คุณมัณฑิตา จินดา (Founder & MD, Digital Tips Academy) ผศ.ดร.ธีรศานต์ สหัสสพาศน์ (ผู้ก่อตั้ง SOdA PrintinG) ได้ร่วมกันชี้ให้เห็นว่า ความเข้าใจในแพลตฟอร์มนี้ไม่ใช่ “ทางเลือก” แต่คือ “แต้มต่อ” ที่ผู้บริหารยุคใหม่ต้องมี

TikTok เกมที่แข่งกันด้วยไอเดียมากกว่าทุน

คุณมัณฑิตา เปิดประเด็นอย่างชัดเจนว่า “ใน TikTok คนที่มีเงิน ไม่ได้เปรียบเท่ากับคนที่มีความคิดสร้างสรรค์”

TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนด้วย UGC (User-Generated Content) เสียงของลูกค้าจริง มีน้ำหนักมากกว่าเสียงจากแบรนด์ และลูกค้าที่โพสต์รีวิวด้วยความพึงพอใจ มักกลายเป็น "นักการตลาดที่แบรนด์ซื้อไม่ได้"

พฤติกรรมของผู้ใช้ TikTok ยังสะท้อนผ่านแฮชแท็กไวรัลระดับโลกอย่าง #TikTokMadeMeBuyIt และในไทยอย่าง #TikTokป้ายยา ที่รวมโพสต์นับล้าน ซึ่งกลายเป็น แหล่งฟังเสียงลูกค้าที่สำคัญยิ่งเพราะ “สิ่งที่แบรนด์คิดว่าเป็นจุดขาย อาจไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าใช้ในการตัดสินใจซื้อ”

Entertain ≠ ตลก เข้าใจนิยามใหม่ของความบันเทิง

ถ้าศึกษาให้ดีจะพบว่า TikTok ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อขายของโดยตรง แต่ใช้ความบันเทิงเป็นประตูสู่การซื้อ ซึ่งในมุมของคุณมัณฑิตา เธอมองว่าสอดคล้องกับหลักจิตวิทยาที่ว่า "เมื่อคนอารมณ์ดี พวกเขามักใช้เงินมากขึ้น"

ที่สำคัญ TikTok ยังมีข้อมูลเชิงพฤติกรรมผู้บริโภคลึกระดับ Micro ดูคลิปไหน, หยุดตรงไหน, ซื้อหรือไม่ซื้อ ซึ่งเป็น ทองคำทางการตลาด ที่สามารถนำไปต่อยอดได้หลากหลาย

ดังนั้น TikTok ไม่ใช่แพลตฟอร์มที่ควร “ลองเล่น” แต่คือแพลตฟอร์มที่ควร “ลงมือจริง”

อย่างไรก็ดีแม้ TikTok จะถูกมองว่าเป็นแพลตฟอร์มของการร้อง เล่น เต้น หรือเน้นความบันเทิงเป็นหลัก แต่คำว่า “Entertain” ในบริบทของ TikTok ไม่ได้หมายถึงความตลกเสมอไป หากหมายถึงคอนเทนต์ที่ดึงดูดผู้ชมให้อยู่กับเราได้

#TikTokUni คือ ชุมชนใหม่ของคนรักความรู้ ที่เปลี่ยนคลิปสั้นเสิร์ฟพอดีคำ Bite-sized Knowledge เช่น คลิปภาษา DIY วิทยาศาสตร์ หรือทักษะชีวิต ที่สื่อสารได้ในเวลาไม่กี่วินาที แต่ตราตรึงและมีประโยชน์

นี่คือช่องทางใหม่ของแบรนด์ที่อยากขายความรู้ หรือวางตัวเองเป็น “ผู้เชี่ยวชาญ” ในหมวดสินค้า/บริการที่ต้องอธิบาย เช่น เครื่องมือช่าง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือเทคโนโลยี

สูตรสำเร็จ TikTok จริง ไว เฉียบ และมีเป้าหมาย

เพราะผู้ใช้บนแพลตฟอร์มนี้มักเสพคอนเทนต์ในลักษณะรวดเร็วและต่อเนื่อง คลิปวิดีโอที่สามารถดึงดูดความสนใจได้ตั้งแต่วินาทีแรกจึงได้เปรียบสูงสุด คุณมัณฑิตา แนะนำว่า หลักการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ได้ผลบน TikTok ประกอบด้วย

สำหรับคอนเทนต์ที่ TikTok ให้ค่ามากที่สุดคือคลิปที่ คนดูจบ แชร์สูง บันทึกบ่อย และคอมเมนต์เยอะ โดยไม่จำเป็นต้องใช้โปรดักชันอลังการ สิ่งสำคัญคือ เข้าใจแพลตฟอร์มและอารมณ์คนดูอย่างลึกซึ้ง

คุณมัณฑิตาย้ำว่า ความสำเร็จของการทำคลิปบน TikTok จึงไม่ได้อยู่ที่จำนวนคลิป แต่อยู่ที่ ความชัดเจนของเป้าหมายในการทำคลิป เช่น

“สิ่งสำคัญที่สุดคือความ ‘จริง’ ที่ไม่ต้องประดิษฐ์มาก คลิปที่ดีไม่จำเป็นต้องไวรัลเสมอไป ขอเพียงสื่อสารได้ ‘เฉียบ’ เข้าถึงใจ และปิดการขายได้ตามเป้าหมาย นั่นคือความสำเร็จที่แท้จริง”

TikTok ไม่ใช่แค่แพลตฟอร์ม แต่คือ “TRUSTonomics” ในรูปแบบที่มีชีวิต

ในโลกที่ผู้บริโภคจดจ่อกับหน้าจอมือถือมากกว่าโทรทัศน์ ความสำเร็จของแบรนด์ไม่ได้วัดจากงบโฆษณาเท่านั้น แต่วัดจากความสามารถในการ "ยึดพื้นที่ในใจ" ผ่าน News Feed ของผู้คน และ TikTok กำลังกลายเป็นสนามที่ทรงพลังที่สุดสำหรับการยึดพื้นที่นั้น

ผศ.ดร.ธีรศานต์ เปิดมุมคิดใหม่ว่า “ลูกค้าจะซื้อจากคนที่เห็นหน้าบ่อยที่สุด” นี่คือประโยคที่อธิบายพฤติกรรมผู้บริโภคยุคนี้ได้ดีที่สุด ซึ่งบน TikTok ความเชื่อเกิดขึ้นได้จาก ความถี่ในการปรากฏตัว (Repetition) : Creator หรือแบรนด์ที่ปรากฏใน Feed บ่อย มีโอกาสสร้างความเชื่อถือมากขึ้น แม้จะไม่ได้พูดขายของโดยตรง

User-generated Content (UGC) : สร้างคอนเทนต์ ความจริงใจและความเป็นธรรมชาติ กลายเป็นต้นทุนทาง “ความน่าเชื่อถือ” ที่ซื้อไม่ได้

การเล่าเรื่องแบบ “จริงใจและตรงประเด็น” คอนเทนต์สายมู สายตลก หรือสายดรามาที่ดูเหมือนไม่มีแผน เบื้องหลังหลายครั้งคือแผนการตลาดที่วางมาแล้วหลายเดือน เพื่อปูทางสู่ “ยอดขายระเบิด” ในวันเดียว

“วันนี้ TikTok กลายเป็น “ทีวี-ตลาดนัด-ห้องเรียน-ร้านขายของ” รวมอยู่ในจอเดียว ผู้คนใช้เพื่อดูข่าว เข้าใจบริบทใน 1 นาที”

CEO Marketing ยุคนี้ “เจ้าของ” ต้องลงมาเล่าเอง

ประสบการณ์ตรงจากการทำธุรกิจ ผศ.ดร.ธีรศานต์ เผยว่า ผู้บริโภคยุคใหม่ไม่ได้สนใจแค่ “แบรนด์ดีอย่างไร” แต่สนใจว่า “แบรนด์นี้คิดอย่างไรกับโลกใบนี้” นี่จึงเป็นยุคของ CEO Marketing การที่เจ้าของธุรกิจลงมาเล่าเรื่องด้วยตนเอง ไม่ใช่แค่ผ่านโฆษณา หรือพรีเซนเตอร์

AI คิดแทนไม่ได้ ถ้าคุณไม่คิดให้ฉลาดก่อนสั่ง

แม้วันนี้จะมีตัวช่วยคิดคอนเทนต์ แต่ถ้าอยากใช้ ChatGPT ให้คุ้ม ผศ.ดร.ธีรศานต์ ให้คำแนะนำว่า ต้อง “สั่งให้เป็น” โดยเริ่มจากการเขียนข้อมูลธุรกิจตัวเองลงไปอย่างละเอียด ขายอะไร, ขายใคร, จุดแข็งคืออะไร, ช่วงราคาเท่าไหร่ แล้วค่อยใช้ Prompt ที่ชัดเจน เช่น “คิดคอนเทนต์ TikTok สำหรับกลุ่มผู้จัดการมีลูกคนแรก รายได้ 70,000” แล้วเลือกหัวข้อที่ชอบก่อน จากนั้นให้ AI ช่วยเขียนสคริปต์ภายใต้สไตล์ที่ต้องการ เช่น อบอุ่นแบบนิ้วกลม หรือยิงตรงแบบ Tiktoker มืออาชีพ และอย่าลืมระบุความยาวเพื่อให้ได้คลิปพอดี เช่น 2 นาที (พูดจริงเหลือ 1.30 นาที) เพราะ AI ที่ดีคือผู้ช่วย ไม่ใช่คนคิดแทนเรา

“แนะนำให้ใช้ ChatGPT เวอร์ชันเสียเงิน เพราะศักยภาพในการวิเคราะห์และช่วยคิดซับซ้อนจะต่างจากเวอร์ชันฟรีอย่างชัดเจน ถ้าคุณลงทุนถูกจุด เครื่องมือก็จะคืนผลลัพธ์ที่คุ้มค่ากลับมาได้มากกว่า”

ไม่ว่าคุณจะเป็น CEO, SME หรือแบรนด์เริ่มต้น วันนี้ทุกคนมี “พื้นที่” เท่ากันในเกมนี้อยู่ที่ว่าใคร “กล้าลงสนาม” และ “กล้าทำให้ไว” มากกว่ากันเพราะ TikTok ไม่ได้เปลี่ยนแค่พฤติกรรมการดูคลิปแต่มันเปลี่ยนวิธีคิดของธุรกิจไปตลอดกาล

หมายเหตุ: การเข้าร่วมกิจกรรม สงวนสิทธิ์เฉพาะลูกค้าที่ใช้สินเชื่อธุรกิจธนาคารกสิกรไทยตามเกณฑ์ของโปรแกรม K SME SIERRA เท่านั้น (สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขการเข้าร่วมโปรแกรม K SME SIERRA กรุณาติดต่อผู้ดูแลสินเชื่อของท่าน หรือติดต่อธนาคารกสิกรไทยทุกสาขา)