วิธีคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในการส่งมอบอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า Pro Rata Forward = อัตราแลกเปลี่ยนตั้งต้น ณ วันทำธุรกรรม (Base Rate) + ((Swap Point ต่อวัน) x n) n = จำนวนวัน นับหลังจากวันที่ 2 จนถึงวันที่ลูกค้าส่งมอบ
วิธีคำนวณผลตอบแทน (กำไร/ขาดทุน)
คำนวณจากส่วนต่างระหว่าง อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Rate) กับอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด (Spot Rate) ณ วันส่งมอบ คูณกับจำนวนยอดธุรกรรม หากอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าสูงกว่า อัตราแลกเปลี่ยนในตลาด ณ วันส่งมอบ ผู้ส่งออกจะได้กำไรจากการทำธุรกรรม ในทางกลับกัน หากอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าต่ำกว่าอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด ณ วันส่งมอบ ผู้นำเข้าจะได้กำไรจากการทำธุรกรรม
ตัวอย่างการคำนวณ อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Rate in USD/THB) = 35.00, อัตราแลกเปลี่ยนในตลาด (Spot Rate) = 36.00 ยอดธุรกรรม (Notional amount) 1,000,000 USD กรณีผู้ส่งออก : (อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า - อัตราแลกเปลี่ยนในตลาด) x ยอดธุรกรรม : (35.00 - 36.00) * 1,000,000 USD = - 1,000,000 บาท ผู้ส่งออกจะขาดทุนจากการทำธุรกรรมเป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท
การจำลองผลกำไรขาดทุนในสถานการณ์ต่างๆ ( Scenario Analysis) ของธุรกรรมตัวอย่างกรณีผู้ส่งออก
Spot Rate on Settlement Date | Contract Rate* | Notional Amount (USD) | Gain/Loss vs. Spot Rate on Settlement Date (THB)** |
---|
32.00 | 35.00 | 1,000,000.00 | 3,000,000.00 | 33.00 | 35.00 | 1,000,000.00 | 2,000,000.00 | 34.00 | 35.00 | 1,000,000.00 | 1,000,000.00 | 35.00 | 35.00 | 1,000,000.00 | 0.00 | 36.00 | 35.00 | 1,000,000.00 | (1,000,000.00) | 37.00 | 35.00 | 1,000,000.00 | (2,000,000.00) | 38.00 | 35.00 | 1,000,000.00 | (3,000,000.00) |
* Contract Rate คือ อัตราแลกเปลี่ยนสำหรับส่งมอบตามสัญญา กรณี Forward Outright และถ้าเป็นกรณีธุรกรรม Pro Rata Forward นั้น Contract rate อาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับวันที่ทำการส่งมอบ
** Gain/Loss vs. Spot Rate on Settlement Date (หน่วย: บาท) คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับส่งมอบ เทียบกับ อัตราแลกเปลี่ยนในตลาด ณ วันส่งมอบ
หมายเหตุ ผู้ขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าจะขาดทุนจากการเสียโอกาสการขายเงินตราต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ หาก อัตราแลกเปลี่ยนในตลาด ณ วันส่งมอบ ปรับตัวสูงขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับส่งมอบที่ผู้ขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าได้รับไปมากขึ้นเรื่อยๆ
กรณีผู้นำเข้า : (อัตราแลกเปลี่ยนในตลาด - อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า) x ยอดธุรกรรม : (36.00 - 35.00) * 1,000,000 USD = 1,000,000 บาท ผู้นำเข้าจะกำไรจากการทำธุรกรรมเป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท
การจำลองผลกำไรขาดทุนในสถานการณ์ต่างๆ (Scenario Analysis) ของธุรกรรมตัวอย่างกรณีผู้นำเข้า
Spot Rate on Settlement Date | Contract Rate* | Notional Amount (USD) | Gain/Loss vs. Spot Rate on Settlement Date (THB)** |
---|
32.00 | 35.00 | 1,000,000.00 | (3,000,000.00) | 33.00 | 35.00 | 1,000,000.00 | (2,000,000.00) | 34.00 | 35.00 | 1,000,000.00 | (1,000,000.00) | 35.00 | 35.00 | 1,000,000.00 | 0.00 | 36.00 | 35.00 | 1,000,000.00 | 1,000,000.00 | 37.00 | 35.00 | 1,000,000.00 | 2,000,000.00 | 38.00 | 35.00 | 1,000,000.00 | 3,000,000.00 |
*
Contract Rate คือ อัตราแลกเปลี่ยนสำหรับส่งมอบตามสัญญา
กรณี Forward Outright และถ้าเป็นกรณีธุรกรรม Pro Rata Forward นั้น Contract rate อาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับวันที่ทำการส่งมอบ
** Gain/Loss vs. Spot Rate on Settlement Date (หน่วย: บาท) คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับส่งมอบ เทียบกับ อัตราแลกเปลี่ยนในตลาด ณ วันส่งมอบ
หมายเหตุ ผู้ซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าจะขาดทุนจากการเสียโอกาสการซื้อเงินตราต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ หาก อัตราแลกเปลี่ยนในตลาด ณ วันส่งมอบ ปรับตัวลดลงจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับส่งมอบที่ผู้ซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าได้รับไปมากขึ้นเรื่อยๆ
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรม Forward- กรณีผู้ส่งออก : หากอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด ณ วันส่งมอบสูงกว่า Contract rate ใน Forward Contract ที่ได้ทำไว้ ผู้ขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าจะเสียโอกาสที่จะขายเงินตราต่างประเทศที่อัตราแลกเปลี่ยนในตลาด
- กรณีผู้นำเข้า : หากอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด ณ วันส่งมอบต่ำกว่า Contract rate ใน Forward Contract ที่ได้ทำไว้ ผู้ซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าจะเสียโอกาสที่จะซื้อเงินตราต่างประเทศที่อัตราแลกเปลี่ยนในตลาด
- ความเสี่ยงจากสถานะด้านเครดิตของธนาคาร
|