1/2/2565

มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19

มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยการรวมหนี้ประเภทต่าง ๆ ที่ธนาคารกำหนด เพื่อแบ่งเบาภาระในการชำระหนี้ของลูกค้า โดยที่ลูกค้ายังสามารถใช้วงเงินบัตรที่เหลือได้ และจะไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิตกับธนาคาร ทั้งนี้ ลูกค้าต้องใช้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันในการเข้าร่วม ระยะเวลาการขอเข้าร่วมมาตรการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 - 31 ธันวาคม 2566

ข้อควรพิจารณาในการเข้าร่วมมาตรการ

  1. ต้องมีการจำนองหลักประกันที่เป็นประกันหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเดิม
  2. มีค่าใช้จ่ายในการจดจำนองและค่าอากรแสตมป์
  3. ต้องปิดบัตร หรือวงเงินสินเชื่อเดิม หรือถูกลดวงเงินบัตรเดิมลง
  4. มีประวัติปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคาร
  5. กรณีไม่สามารถชำระหนี้วงเงินสินเชื่อใหม่จากการรวมหนี้ได้ อาจถูกดำเนินการทางกฎหมายกับหลักประกันที่อยู่อาศัย
  6. ระยะเวลาในการผ่อนชำระยาวขึ้น

รายละเอียดมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยการรวมหนี้

  • เป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยการรวมหนี้ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับ ลูกหนี้รายย่อยด้วยวิธีการรวมหนี้ (Debt Consolidation)
  • ผู้ที่สามารถเข้าร่วมมาตรการนี้ได้ ได้แก่ ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19

ตัวอย่าง : ยอดผ่อนชำระรายเดือน, เงินต้นรวมดอกเบี้ยทั้งหมดตลอดการชำระหนี้, และระยะเวลาชำระหนี้ สำหรับลูกค้าที่ผ่อนชำระด้วยเงื่อนไขปกติก่อนเข้าร่วมมาตรการ และภายหลังการเข้าร่วมมาตรการ

คลิกและเลื่อนเพื่อดูข้อมูล
การรวมหนี้-pc การรวมหนี้-mb

การรวมหนี้มีได้ 3 รูปแบบ

  • 1เป็นการรวมหนี้ภายในธนาคารเดียวกัน : มีหนี้สินเชื่อบ้านกับธนาคารกสิกรไทย และมีหนี้บัตรกับธนาคารกสิกรไทย
  • 2เป็นการรวมหนี้โดยการโอนหนี้บัตรจากสถาบันการเงินอื่นมารวมกับหนี้สินเชื่อบ้านของธนาคารกสิกรไทย
  • 3เป็นการ Refinance สินเชื่อบ้านมาจากสถาบันการอื่น พร้อมกับขอรวมหนี้บัตรจากสถาบันการอื่นและหนี้บัตรของธนาคารกสิกรไทย

หมายเหตุ

  • ผลิตภัณฑ์ของธนาคารกสิกรไทย ที่สามารถเข้าร่วมมาตรการรวมหนี้ได้ มีดังนี้
    • บัตรเครดิตกสิกรไทย
    • บัตรเงินด่วน Xpress Cash
    • สินเชื่อเงินด่วน Xpress Loan
    • สินเชื่อเงินด่วนแบบผ่อนระยะยาวเพื่อธุรกิจ (KCL)
    • Dolfin Money by KBank (CJD)

    ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อของ Kleasing ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการรวมหนี้ได้

  • ผลิตภัณฑ์ของต่างธนาคาร ที่สามารถเข้าร่วมมาตรการรวมหนี้ได้ มีดังนี้
    • บัตรเครดิต
    • สินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งรวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
    • สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน
    • สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ
    • ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อหรือธุรกรรมที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับ

    ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อของ Kleasing ไม่สามารถเข้ารวมโครงการรวมหนี้ได้

  • อัตราดอกเบี้ยสำหรับมาตรการรวมหนี้ : กำหนดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยภายหลังช่วงส่งเสริมการขาย (Teaser Rate) บวกไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี
  • ระยะเวลากู้สูงสุด : สูงสุด 7 ปี
  • หมายเหตุ ภายใต้หลักเกณฑ์อายุของผู้กู้เมื่อรวมกับระยะเวลาการผ่อนชำระแล้วต้องไม่เกิน 70 ปี (ทุกประเภทอาชีพ)

  • วงเงินให้กู้สูงสุด : เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของธนาคาร
  • กรณีสินเชื่อบ้านกสิกรไทยเป็นการกู้ร่วม สินเชื่อใหม่จากการรวมหนี้จะต้องเป็นการกู้ร่วมเช่นเดียวกัน
  • ต้องลงนามสัญญาเงินกู้ และต้องนำหลักประกันของสินเชื่อบ้านไปจำนองเพิ่มเติม เต็มตามวงเงินสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นจากการรวมหนี้ โดยลูกค้าต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าอากรแสตมป์, ค่าใช้จ่ายในการจดจำนอง
  • ในกรณีที่ลูกหนี้มีการผิดนัดชำระหนี้ภายหลังการรวมหนี้ จะมีดอกเบี้ย / ค่าปรับผิดนัดชำระหนี้ ตามเงื่อนไขของสินเชื่อมีหลักประกันตามที่ธนาคารกำหนด
  • ธนาคารสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกบัตร / ปรับลดวงเงิน ตามวงเงินรวมบัตรเครดิต / บัตรเงินด่วน / บัตรกดเงินสดคงเหลือ หลังจาการรวมหนี้ โดยธนาคารจะแจ้งให้ทราบ
เงื่อนไขเพิ่มเติมสำหรับการรวมหนี้

คำถามที่พบบ่อย

มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้รายย่อย โดยวิธีการรวมหนี้ มีข้อดีอย่างไร
ถ้าเข้าร่วมโครงการแล้วจะยกเลิกได้หรือไม่
ถ้ายกเลิกบัตรเครดิตแล้วแต่ยังมียอดหนี้อยู่ สามารถเข้าร่วมมาตรการรวมหนี้ได้หรือไม่
กรณีที่บัตรเครดิต / บัตรเงินด่วน / สินเชื่อเงินด่วน ของลูกค้าเป็น NPL หรือมีวันค้างชำระ สามารถขอเข้าร่วมมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยการรวมหนี้ได้หรือไม่
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมมาตรการฯ ที่ต้องจดจำนองให้ในอัตราร้อยละ 1 ของวงเงิน หมายความว่า จะคิดจากยอดหนี้ใด
อัตราดอกเบี้ยที่ลูกค้าจะได้รับ คิดอย่างไร
ลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการรวมหนี้ จะจ่ายชำระมากกว่ายอดที่ธนาคารเรียกเก็บได้หรือไม่
บัตรเครดิต / บัตรเงินด่วน ที่เข้าร่วมมาตรการรวมหนี้ จะต้องยกเลิกบัตรหรือไม่
ผู้ถือบัตรเสริมเป็นผู้กู้สินเชื่อบ้านจะสามารถแปลงหนี้บัตรเสริมได้หรือไม่
กรณีสินเชื่อบ้านมีผู้กู้ร่วม 2 ท่าน สามารถแปลงหนี้บัตรเครดิตของผู้กู้ทั้ง 2 ท่าน หรือบัตรเครดิตของผู้กู้คนใดคนหนึ่งได้หรือไม่