ประเด็นร้อน: หุ้นไทยสดใส ขานรับกองทุนวายุภักษ์พร้อม ครม.ชุดใหม่

• หุ้นไทยบวกแรง โดยเฉพาะหุ้นใหญ่ ขานรับ ครม.ชุดใหม่ ที่พร้อมเดินหน้าต่อนโยบายเดิม และกองทุนรวมวายุภักษ์ ที่คาดจะมีเม็ดเงินไหลเข้าตลาดทุน 1.5 แสนล้านบาท ในปลายปี


• K WEALTH ยังมีมุมมองเป็นกลางต่อตลาดหุ้นไทย โดยแนะนำขายกองทุนหุ้นไทยส่วนที่กำไร หรือส่วนที่ลงทุนเกิน 30% เพื่อนำเงินไปลงทุนในกองทุน K-GHEALTH K-VIETNAM และ K-WPULTIMATE




5 ก.ย. 67 SET Index ซึ่งเป็นดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้น 2.84% จากหุ้นใหญ่ที่มีการปรับขึ้นแรงกว่า 3% เห็นได้จาก SET100 Index และ SET50 Index ที่ปรับตัวขึ้น +3.19% และ +3.27%เทียบกับวันก่อนหน้า ตามลำดับ โดย SET Index ณ 5 ก.ย. 67 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น +10.23% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา (นับตั้งแต่ 6 ส.ค. 67)


จากดัชนีหุ้นไทยที่ปรับตัวขึ้น ส่งผลให้กองทุนหุ้นไทยต่างๆ ของ บลจ.กสิกรไทย ณ 5 ก.ย. 67 ปรับตัวขึ้นแรงเช่นเดียวกัน เช่น

• กองทุนหุ้นไทยทั่วไป K-VALUE +3.2306% K-EQUITY +3.6406% K-STAR-A(A) +3.3987%

• กองทุนหุ้นไทยขนาดกลางขนาดเล็ก K-MIDSMALL 3.4210%

• กองทุนหุ้นไทยกลุ่มอุตสาหกรรม อย่าง K-BANKING +2.3080% K-ENERGY +3.0338% โดยเฉพาะ K-ICT +5.2664% ที่ปรับตัวแรงกว่าตลาดหุ้นในภาพรวม

• รวมไปถึงกองทุนลดหย่อนภาษี ที่เน้นลงในหุ้นไทย อย่าง K-TNZ-ThaiESG +3.2064% K-STAR-SSF + 3.3989% และ KSTARRMF +3.4170%

• ส่วนกองทุน LTF ที่นักลงทุนหลายคนถืออยู่และมีส่วนที่ครบเงื่อนไขแล้ว หรือกำลังจะครบเงื่อนไขต้นปี 68 ก็ปรับตัวขึ้นเช่นกัน เช่น KDLTF +3.8144% K20SLTF +3.1766% K70LTF +2.6581%



ทำไมหุ้นไทยปรับตัวขึ้นแรง

สาเหตุที่ 5 ก.ย. หุ้นไทยมีการปรับตัวขึ้นแรง หลักๆ มาจาก 2 สาเหตุภายในประเทศ ได้แก่


• ข่าวการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ที่รายชื่อไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก ส่งผลให้เชื่อว่านโยบายขับเคลื่อนต่างๆ จะยังคงดำเนินการต่อเนื่องได้ ต่อจากคณะรัฐมนตรีชุดเดิมก่อนหน้านี้


• ความชัดเจนของกองทุนวายุภักษ์ ที่เป็นหนึ่งตัวเลือกที่อาจเป็นที่น่าสนใจจากผู้ลงทุนทั่วไป ซึ่งมีคุณลักษณะหรือกลไกสร้างผลตอบแทนที่ต่างจากกองทุนรวมทั่วไป โดยคาดว่าจะเริ่มเสนอขายได้ครึ่งหลังของเดือน ก.ย. ซึ่งคาดว่าจะมีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ตลาดราว 1.5 แสนล้านบาท โดยหุ้นส่วนใหญ่ที่กองทุนฯ ลงทุนคาดว่าอยู่ที่หุ้นกลุ่มขนาดใหญ่เป็นหลัก


อีกทั้งปัจจัยภายนอก อย่างความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตามที่ K WEALTH ได้เคยออก “ประเด็นร้อน: ภาคการผลิตสหรัฐฯ หดตัว ทำหุ้น Chip & AI ร่วง ฉุดตลาด” ไปก่อนหน้านี้ ทำให้มีเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทย ซึ่งเงินลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่ก็มักถูกนำไปลงทุนในหุ้นกลุ่มขนาดใหญ่เป็นหลัก เช่นเดียวกับเงินลงทุนของกองทุนวายุภักษ์ โดยในวันนี้นักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ส.ค. ที่จะประกาศเย็นวันศุกร์ที่ 6 ก.ย. เวลาประมาณ 19.30 (ตามเวลาประเทศไทย) ว่าจะมีแรงหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ปรับลดดอกเบี้ยลงหรือไม่ด้วย



ทำความรู้จักกองทุนรวมวายุภักษ์

กองทุนรวมวายุภักษ์ ถือว่าไม่ใช่ของใหม่ โดยนักลงทุนทั่วไปได้เคยมีโอกาสลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์แล้วไปเมื่อประมาณปี ธ.ค. 2546 และครบกำหนดการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนทั่วไปไปแล้ว โดยจากข้อมูล ณ 28 มิ.ย. 67 กองทุนรวมวายุภักษ์ มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในประเทศรวมประมาณ 320,000 ล้านบาท


ซึ่งในปี 2567 นี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้มีการออกประกาศการเสนอขาย เงื่อนไข หรือลักษณะการลงทุนที่ชัดเจน แต่จากข้อมูลที่เปิดเผยออกมาเบื้องต้น ก็ถือว่ากองทุนรวมวายุภักษ์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ลงทุน ที่สนใจการลงทุนหรือคาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นไทย แต่กังวลใจกับความเสี่ยงกับความเสี่ยงที่จะขาดทุน เนื่องจากกองทุนรวมวายุภักษ์มีแนวทางการจัดการ เพื่อเป้าหมายให้ได้ผลตอบแทนตามที่ตั้งใจไว้ และเพื่อลดความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนจะขาดทุนจากเงินที่ลงทุน ตลอดระยะเวลาการลงทุน 10 ปีตามเงื่อนไข โดยกลไกดังกล่าวอาจไม่สามารถทำได้สำหรับกองทุนรวมทั่วไป


อย่างไรก็ตามกองทุนรวมวายุภักษ์ แม้เป็นกองทุนรวมที่จองซื้อได้ผ่านช่องทางธนาคาร แต่มีลักษณะที่แตกต่างจากกองทุนทั่วไปที่ซื้อผ่านธนาคาร (ข้อมูลเบื้องต้น จากที่เปิดเผย ณ ปัจจุบัน) เช่น

• ระยะเวลาการลงทุน 10 ปีเต็ม ไม่สามารถขายคืน บลจ. ก่อนกำหนด


• แต่สามารถขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ โดยผู้ลงทุนอาจต้องเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ เพื่อขายกองทุนดังดังกล่าว โดยราคาที่ขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ อาจไม่เท่ากับราคา NAV ที่ บลจ. ประกาศ ไว้


• การจองซื้อเป็นแบบ Small Lot First คือ รูปแบบการจัดสรรให้ผู้จองซื้อจำนวนต่ำก่อน โดยจะทยอยจัดสรรเป็นรอบๆ ในมูลค่าที่เท่ากัน และเวียนไปเรื่อยๆ จนครบจำนวนผู้จองซื้อหุ้นทั้งหมด ทำให้ผู้ลงทุนอาจไม่ได้ยอดลงทุนตามที่ตั้งใจ ซึ่งเงินลงทุนส่วนที่เหลือหากยังต้องการลงทุนต่อ อาจต้องพิจารณาลงทุนในกองทุนรวมอื่นแทน



คำแนะนำจาก K WEALTH

K WEALTH มีมุมมองการลงทุนเป็นกลาง ต่อกองทุนหุ้นไทย

• สำหรับผู้ที่ถือกองทุนหุ้นไทย น้อยกว่า 30%ของเงินลงทุนทั้งหมด

o หากมีกำไร สามารถพิจารณาขายส่วนที่กำไรได้

o แต่หากยังขาดทุน ก็ยังคงสามารถถือต่อได้อยู่ เพื่อรอให้ราคาปรับตัวขึ้นอีกครั้ง


• สำหรับผู้ที่ถือกองทุนหุ้นไทย เกิน 30%ของเงินลงทุนทั้งหมด หากไม่ใช่กองทุนลดหย่อนภาษี แนะนำพิจารณาหาโอกาสขายเพื่อลดสัดส่วนให้เหลือน้อยกว่า 30%ของเงินลงทุนทั้งหมด


• สำหรับกองทุนลดหย่อนภาษีกลุ่ม SSF/RMF อาจหากปัจจุบันมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไทยเกิน 30% อาจพิจารณาทยอยสับเปลี่ยนไปกลุ่มกองทุน SSF (หรือ RMF) เดียวกัน เช่น K-GINCOME-SSF สำหรับกองทุนกลุ่ม SSF หรือ KWPULTIRMF สำหรับกองทุนกลุ่ม RMF เป็นต้น


สำหรับเงินที่ได้จากการขายคืนกองทุนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการขายทำกำไรหรือขายเพื่อลดสัดส่วนกองทุนหุ้นไทย รวมไปถึงกรณีมีเงินใหม่ที่ต้องการลงทุนเพิ่ม แนะนำให้นำเงินดังกล่าวไปลงทุนในกองทุนของแนะนำของ K WEALTH เช่น K-GHEALTH, K-VIETNAM เป็นต้น



สำหรับผู้ที่กังวลกับความเสี่ยงจากความผันผวนในตลาดหุ้นบางประเทศ หรือบางสินทรัพย์ แนะนำลงทุนในกองทุนผสมที่มีการกระจายเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายและมีผู้จัดการกองทุนในการพิจารณาปรับพอร์ตการลงทุนอย่างเหมาะสม เช่น K-WPULTIMATE K-WPBALANCED


กองทุน
ความเสี่ยงกองทุน
(สูงสุด 8 ระดับ)
นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
ขายคืนได้ทุกวันทำการ โดยวันที่ได้รับเงินค่าคืน อยู่ที่*
K-GHEALTH(UH)
ระดับ 7
ไม่ป้องกันความเสี่ยง
T+4
K-GHEALTH
ระดับ 6
ไม่น้อยกว่า 75% ของมูลค่าเงินลงทุนต่างประเทศ
T+4
K-VIETNAM
ระดับ 6
ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
T+5
K-WPULTIMATE
ระดับ 6
ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
T+6
K-WPBALANCED
ระดับ 5
ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
T+6
K-GINCOME-SSF
ระดับ 5
ไม่น้อยกว่า 75% ของมูลค่าเงินลงทุนต่างประเทศ
T+4
(ต้องลงทุนตามเงื่อนไขสรรพากร)
KWPULTIRMF
ระดับ 6
ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
T+5
(ต้องลงทุนตามเงื่อนไขสรรพากร)

*ตัวอย่าง T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์)


Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”



คำเตือน


ผู้เขียน

K WEALTH ราชันย์ ตันติจินดา CFP®
Back to top