คนที่มีเงินเก็บหรือคิดว่าไหนๆ จะเก็บเงินแล้วทั้งทีก็ต้องได้เงินคืนภาษีเพิ่มด้วย พอใกล้สิ้นปีทีไรก็ต้องมาคิดและตัดสินใจหาทางเลือกลดหย่อนภาษีทุกที วันนี้ K WEALTH จะมาบอก 4 ขั้นตอนที่ทำได้จริง ในการเลือกกองทุนลดหย่อนภาษี ซึ่งสามารถเซฟเก็บไว้ใช้ได้ ไม่ต้องคิดใหม่ทุกปี
I: เลือก บลจ. ที่มีทางเลือกหลากหลาย
เพื่อให้เงินลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษี สามารถสับเปลี่ยนภายในกองทุนประเภทเดียวกันได้ เช่น สับเปลี่ยนจาก RMF ไป RMF (ไม่สามารถสับเปลี่ยนจาก RMF ไป SSF หรือ ThaiESG) เพราะหากเป็นการสับเปลี่ยนภายใน บลจ. เดียวกัน มักไม่มีค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยน ดังนั้นการเลือก บลจ. ที่มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลายภายในกองทุนกลุ่มเดียวกัน ย่อมมีความน่าสนใจและได้ประโยชน์อย่างแน่นอน เช่น บลจ.กสิกรไทย ที่
• มีทั้งกองทุนตราสารหนี้ & กองทุนหุ้น: สามารถ เพิ่ม/ลด สัดส่วนเงินลงทุนในกองทุนหุ้น เพื่อปรับความเสี่ยงของเงินลงทุนให้สอดคล้องกับระยะเวลาการลงทุนที่เหลืออยู่ เช่น ทยอยสับเปลี่ยนกองทุน K-TNZ-ThaiESG / K-USA-SSF / KUSARMF ที่เป็นกองทุนหุ้น ไปกองทุน K-ESGSI-ThaiESG / K-SF-SSF / KSFRMF ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ ในช่วงเวลาที่ใกล้ครบเงื่อนไขการลงทุน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจขาดทุนลง
• มีกองทุนหุ้นหลายประเทศ: สามารถจับจังหวะสับเปลี่ยนไปกองทุนที่มีโอกาสทำผลตอบแทนได้สูงกว่า เช่น สับเปลี่ยนจากกองทุน K-CHINA-SSF / KCHINARMF ที่เน้นลงทุนหุ้นจีน ไปกองทุน K-VIETNAM-SSF / KVIETNAMRMF ที่เน้นลงทุนหุ้นเวียดนาม ซึ่ง K WEALTH มองว่าปัจจุบันหุ้นเวียดนามมีความน่าสนใจมากกว่าหุ้นจีน ในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้า เป็นต้น อย่างไรก็ตามปัจจัยนี้ไม่สามารถใช้กับกองทุน ThaiESG ที่นโยบายถูกกำหนดให้ต้องเน้นลงทุนในประเทศไทยเป็นหลักเท่านั้น
• มีทั้งกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น & กองทุนตราสารหนี้ระยะยาว: เป็นทางเลือกสำหรับผู้รับความเสี่ยงจากการลงทุนหุ้นไม่ได้ หรือต้องการพักเงินให้เหมาะสมกับระยะเวลาก่อนครบเงื่อนไขลงทุน เช่น กองทุน SSF/RMF หากต้องการลงทุนในทางเลือกความเสี่ยงค่อนข้างต่ำหรือพักเงิน 1-3 ปี สามารถสับเปลี่ยนจากกองทุนเดิมไปกองทุน K-FIXEDPLUS-SSF / KFIRMF (ความเสี่ยงระดับ 4) ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะยาวที่มีอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ 2-4 ปี (ณ 30 ส.ค. 67) และเมื่อเหลือระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี ก่อนครบเงื่อนไข จึงสับเปลี่ยนไปกองทุน K-SF-SSF / KSFRMF ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้สั้นที่มีอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ไม่ถึง 1 ปีได้ (ณ 30 ส.ค. 67) เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสอดคล้องกับระยะเวลาพักเงินและลดความเสี่ยงในการขาดทุนได้
II: เลือกสินทรัพย์ ที่ลงทุน
กองทุนที่ลงทุนสินทรัพย์ต่างกัน ย่อมให้ผลตอบแทนและมีความเสี่ยงที่ต่างกัน การเลือกสินทรัพย์ที่ลงทุนจึงขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่รับได้และประสบการณ์ลงทุนที่ผ่านมา ได้แก่
• ไม่เคยลงทุนมาก่อน หรือยังกล้าๆ กลัวๆ กับการลงทุน แนะนำให้นำเงินที่ตั้งใจลงทุนกองทุนลดหย่อนภาษี มาแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรก 50% ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ ได้แก่ K-ESGSI-ThaiESG / K-SF-SSF / KSFRMF
ส่วนอีก 50% ลงทุนในกองทุนหุ้นที่เป็นกองทุนแนะนำของ K WEALTH เช่น K-TNZ-ThaiESG / K-USA-SSF / KUSARMF เพื่อให้ได้เข้าใจความแตกต่างของสินทรัพย์แต่ละประเภท และได้เห็นถึงผลตอบแทนของกองทุนหุ้น ในระยะยาว เช่น 5-10 ปี เป็นต้น
• รับความเสี่ยงได้ แนะนำให้ลองเปรียบเทียบเงินที่จะลงทุนกับเงินลงทุนทั้งหมดที่มี ว่าเงินที่จะลงทุนลดหย่อนภาษีปีนี้นั้น
o เป็นเพียงเงินลงทุนส่วนน้อย เมื่อเทียบกับเงินลงทุนทั้งหมด: สามารถเลือกกองทุนหุ้นแนะนำของ K WEALTH เพื่อคาดหวังผลตอบแทนระยะยาวได้ โดยไม่จำเป็นต้องกังวลกับความผันผวนระหว่างทาง ของเงินลงทุนส่วนน้อยนี้ เช่น กองทุน K-TNZ-ThaiESG / K-USA-SSF / KUSARMF
o เป็นเงินลงทุนส่วนใหญ่ เมื่อเทียบกับเงินลงทุนทั้งหมด: สำหรับ SSF/RMF แนะนำให้เลือกลงทุนกองทุนผสม ที่กระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่หลากหลายเพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนระยะยาว ได้แก่ K-GINCOME-SSF / KWPBALRMF สำหรับ ThaiESG ที่ปัจจุบันยังมีนโยบายให้เลือกไม่หลากหลาย แนะนำให้ลงทุน K-ESGSI-ThaiESG ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะยาวแทน
III: เลือกกองทุน ที่ลงทุน
ตัวอย่าง กองทุนแนะนำของ K WEALTH เดือน ก.ย. 67
|
|
กองทุน ThaiESG
|
กองทุน SSF
|
กองทุน RMF
|
กองทุนตราสารหนี้
(ความเสี่ยงระดับ 3-4)
| K-ESGSI-ThaiESG
(ความเสี่ยงระดับ 3)
| K-SF-SSF
(ความเสี่ยงระดับ 4)
| KSFRMF
(ความเสี่ยงระดับ 4)
|
กองทุนผสม
(ความเสี่ยงระดับ 5)
| -
| K-GINCOME-SSF
| KWPBALRMF
|
กองทุนหุ้น (ความเสี่ยงระดับ 6)
| K-TNZ-ThaiESG
| K-USA-SSF
K-CHANGE-SSF K-VIETNAM-SSF
| KUSARMF
KCHANGERMF KGHRMF
|
หลังจากเลือกได้แล้วว่าจะลงทุน บลจ.ไหน เช่น บลจ.กสิกรไทย จะลงทุนกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในสินทรัพย์ใด เช่น กองทุนตราสารหนี้ กองทุนผสม หรือกองทุนหุ้น ฯลฯ ลำดับต่อมาคือการเลือกลงทุนตามกองทุนแนะนำ ที่กูรูหรือผู้เชี่ยวชาญการลงทุนได้ให้ความเห็นไว้ อย่างกองทุนแนะนำของ K WEALTH ที่มีการแนะนำกองทุน ThaiESG / SSF / RMF สำหรับสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ไว้ใน
K WEALTH Monthly View ประจำเดือน ตัวอย่างเช่น
IV: เลือกวิธีการลงทุน
ใครที่ยังรอลงทุนลดหย่อนภาษีเฉพาะช่วงปลายปี อาจกำลังพลาดสิ่งดีๆ ไป เพราะปัจจุบันกองทุนลดหย่อนภาษีอย่างกองทุน ThaiESG และกองทุน SSF มีเงื่อนไขนับระยะเวลาลงทุนจริงที่ 5 และ 10 ปีเต็มตามลำดับ ไม่ใช่การนับปีปฏิทิน อย่างที่หลายคนยังคุ้นชิน เช่น เงินที่ลงทุนกองทุน ThaiESG วันที่ 1 ต.ค. 67 จะครบเงื่อนไข 5 ปีเต็ม และสามารถขายคืนได้ตั้งแต่ 2 ต.ค. 72 ในขณะที่การรอลงทุนกองทุน ThaiESG วันที่ 30 ธ.ค. 67 จะครบเงื่อนไข 5 ปีเต็ม นับตั้งแต่ 31 ธ.ค. 72 ซึ่งกว่าจะทำรายการขายคืนได้ ต้องรอพ้นเทศกาลวันหยุดไปขายคืนได้วันที่ 2 ม.ค. 73 เป็นต้น
เมื่อไม่ต้องรอลงทุนสิ้นปี ก็ควรลงทุนในแบบที่ได้โปรโมชัน เช่น ลงทุนกองทุนลดหย่อนภาษีแบบ DCA กับ บลจ.กสิกรไทย โดยใช้บริการ “K-SavingPlan” ผ่านช่องทาง K-Contract Center (02-888-8888 กด 4 กด 1) หรือใช้ฟังก์ชัน “สร้างแผนซื้อกองทุน (DCA)” ด้วยแอปพลิเคชัน K-My Funds จะได้รับกองทุน K-FIXEDPLUS-A มูลค่า 0.2%ของยอดการลงทุนสะสมด้วยบริการ DCA ดังกล่าว ในช่วง 1 ก.พ. – 30 ธ.ค. 67 (สูงสุด 1,200 บาท)
ยกตัวอย่างเช่น หากตั้งใจลงทุนกองทุน ThaiESG / SSF / RMF ในช่วงเวลาที่เหลือของปีรวม 300,000 บาท โดยอาจมีเงินเก็บพร้อมลงทุนอยู่แล้ว หรือแบ่งเงินจากเงินเดือนมาลงทุน หากใช้ฟังก์ชัน “สร้างแผนซื้อกองทุน (DCA)” บนแอปพลิเคชัน K-My Funds ด้วยการลงทุนเดือนละ 100,000 บาท ในวันเงินเดือนออก ของเดือน ต.ค.-ธ.ค. 67 ก็จะได้รับ K-FIXEDPLUS-A จำนวน 600 บาท (ได้รับภายใน ก.พ. 68) เป็นผลประโยชน์ส่วนเพิ่มนอกจากผลตอบแทนการลงทุนและเงินคืนภาษี ที่สำคัญโปรโมชันนี้ ใช้ได้กับกองทุน ThaiESG / SSF / RMF ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ด้วย ซึ่งอาจต่างจากโปรโมชันบาง บลจ. ที่ปัจจุบันมีโปรโมชันเฉพาะกองทุนหุ้น/ผสม รวมถึง Fund Back ที่ได้ยังคำนวณจาก 0.2%ของยอดเงินลงทุนสะสมจริงแม้มีเศษ ต่างจากบาง บลจ. ที่ให้โปรโมชันเมื่อลงทุนครบยอดที่กำหนด เช่น ทุก 50,000 บาท เป็นต้น (เช่น ลงทุน 55,000 บาท ได้โปรโมชันเท่ากับ ลงทุน 50,000 บาท)
เงินคืนภาษี ที่สำคัญโปรโมชันนี้ ใช้ได้กับกองทุน ThaiESG / SSF / RMF ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ด้วย ซึ่งอาจต่างจากโปรโมชันบาง บลจ. ที่ปัจจุบันมีโปรโมชันเฉพาะกองทุนหุ้น/ผสม รวมถึง Fund Back ที่ได้ยังคำนวณจาก 0.2%ของยอดเงินลงทุนสะสมจริงแม้มีเศษ ต่างจากบาง บลจ. ที่ให้โปรโมชันเมื่อลงทุนครบยอดที่กำหนด เช่น ทุก 50,000 บาท เป็นต้น (เช่น ลงทุน 55,000 บาท ได้โปรโมชันเท่ากับ ลงทุน 50,000 บาท)