การจัดการเงินสำหรับคู่ชีวิตสมรสเท่าเทียมไม่เพียงแต่ช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินง่ายขึ้น แต่ยังช่วยให้การวางแผนอนาคตเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีเงินฝากร่วม การกู้ร่วม หรือการทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองคู่ชีวิต นอกจากนี้ยังมีการจัดการทางภาษีแ

รักคงยังไม่พอ จัดการเงิน ฉบับสมรสเท่าเทียม

การจัดการเงินสำหรับคู่ชีวิตสมรสเท่าเทียมไม่เพียงแต่ช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินง่ายขึ้น แต่ยังช่วยให้การวางแผนอนาคตเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีเงินฝากร่วม การกู้ร่วม หรือการทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองคู่ชีวิต นอกจากนี้ยังมีการจัดการทางภาษีแ

  • สิ่งที่ควรรู้หลังมีกฏหมายสมรสเท่าเทียมสำหรับคู่สมรสน้องใหม่คือ คู่สมรสสามารถเปิดบัญชีเงินฝากร่วม ขอสินเชื่อร่วมกัน รับผลประโยชน์จากประกันชีวิต กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และประกันสังคม รวมถึงมีทางเลือกในการยื่นภาษีที่ช่วยลดภาระภาษีได้ อย่างไรก็ดี การทำนิติกรรมบางอย่างยังต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส และหากคู่สมรสมีหนี้สินที่ไม่สามารถชำระเองได้ ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสอาจถูกนำไปชำระหนี้ได้
  • คู่สมรสสามารถรับมรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่หากต้องการแบ่งสัดส่วนที่ต่างไปจากกฎหมายกำหนด ต้องมีการทำพินัยกรรม นอกจากนี้ การมีบุตรบุญธรรมยังต้องมีการจดทะเบียนอย่างถูกต้องเพื่อให้เด็กมีสิทธิทางกฎหมาย แต่หากบุตรบุญธรรมเกิดเสียชีวิตทรัพย์สินของบุตรบุญธรรมที่รับมาเลี้ยงจะไม่ตกแก่คู่ชีวิตที่เป็นผู้เลี้ยงดู หากบุตรบุญธรรมนั้นไม่ได้มีการเขียนพินัยกรรมไว้
  • คู่ชีวิตที่มีรายได้ทั้งคู่ สามารถเลือกยื่นภาษีได้หลายแบบ แต่ละแบบส่งผลให้ภาระภาษีโดยรวมต่างกัน การศึกษาเพื่อเลือกการยื่นแบบภาษี ก็ช่วยให้ภาระภาษีลดลงได้ นอกเหนือไปจากการนำเงินไปลงทุนกองทุน KWPBALRMF กองทุน K-BL30-ThaiESG หรือเป็นเบี้ยประกันกันชีวิต/สุขภาพ

ในวันที่ยังไม่มี “สมรสเท่าเทียม” บางคู่ที่รักกันแต่ไม่สามารถจดทะเบียนสมรสกันได้เนื่องจากยังไม่มีกฏหมายรองรับ ก็เหมือนใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความเสี่ยง หากโชคดีเป็นคู่ชีวิตที่อยู่ในครอบครับอบอุ่น ได้รับการยอมรับจากครอบครัวอีกฝ่าย เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันกับคู่ชีวิต การจัดการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรัพย์สิน การยินยอมให้การรักษายามเจ็บป่วย อาจไม่ยากนัก เพียงบอกกล่าวการตัดสินใจนั้นต่อครอบครัวเพื่อให้เป็นผู้แสดงเจตนาทางกฎหมายแทนตน แต่สำหรับคู่ชีวิตที่ไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวอีกฝ่าย หากคู่ชีวิตตนประสบเหตุเสียชีวิตหรือสุขภาพอยู่ในภาวะวิกฤต ในฐานะคู่ชีวิตอาจไม่สามารถตัดสินใจ ให้ความเห็น หรือแสดงตนใดๆ ได้เลย เพราะตามกฎหมายแล้ว คู่ชีวิตที่ไม่มี “ทะเบียนสมรส” ก็เป็นเพียงคนนอกครอบครัว ไม่สิทธิใดๆ ตามกฎหมาย


“สมรสเท่าเทียม” กฎหมายใหม่ที่ทำให้คู่รักทุกคู่ สามารถ “จดทะเบียนสมรส” ได้ตั้งแต่ 23 ม.ค. 68 โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเพศกำเนิดอีกต่อไป โดย K WEALTH ได้มีออกบทความเรื่อง “ครบเครื่องเรื่องเงิน รับสมรสเท่าเทียม ” ไปแล้ว ในวันที่กฎหมายเริ่มมีผลบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม การจัดการเงินเมื่อสามารถจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย “สมรสเท่าเทียม” ได้แล้ว ยังมีอีกหลายสิ่งที่คู่ชีวิตต้องรู้ K WEALTH จึงได้สรุปประเด็นสำคัญไว้ดังนี้


การจัดการการเงิน ที่ง่ายขึ้น

เมื่อมีสถานะคู่สมรสรองรับ การทำธุรกรรม/นิติกรรม และจัดการเงินต่าง ๆ ย่อมง่ายขึ้น เหมือนกับคู่สมรสชายหญิงก่อนหน้านี้ เช่น


  • มีบัญชีเงินฝากร่วมกัน
    • การเปิดบัญชีเงินฝากร่วมกัน สำหรับคนในครอบครัว (เช่น คู่สมรส) กรมสรรพากรมองว่าเป็นการเปิดบัญชีร่วมกันของคณะบุคคล ทำให้ดอกเบี้ยเงินฝากที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องนำไปคำนวณภาษีอีก
    • ต่างจากการฝากเงินร่วมกันของคู่รักที่ไม่จดทะเบียนสมรส ซึ่งเสมือนเป็นเพียงคนรู้จัก ถือว่าเป็นบัญชีเงินฝากของ ห้างหุ้นส่วนสามัญ (หสม.) ที่เมื่อมีการถอนเงินออกมา เงินส่วนของดอกเบี้ยถือเป็นเงินได้ของแต่ละคนที่มีชื่อในบัญชีนั้นที่ต้องนำไปคำนวณภาษีด้วย
  • ขอสินเชื่อร่วมกัน
    • เมื่อธนาคารสามารถพิสูจน์ความสัมพันธ์ได้ การขอสินเชื่อร่วมกัน หรือ “กู้ร่วม” นั้น จะทำได้ง่ายขึ้น
    • อย่างไรก็ตาม การกู้ร่วมแม้สามารถขอสินเชื่อและซื้อบ้านได้มูลค่าที่สูงขึ้น แต่มาพร้อมความเสี่ยงและผลกระทบ หากระหว่างผ่อนชำระคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสบเหตุไม่คาดฝัน จนอีกฝ่ายต้องผ่อนชำระคนเดียว อาจเป็นภาระที่หนักเกินไป จนนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ได้
  • ระบุผู้รับผลประโยชน์ประกันชีวิต
    • ผู้รับผลประโยชน์จากประกันชีวิต ต้องมีความสัมพันธ์หรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เอาประกัน เช่น บิดามารดา บุตร คู่สมรส เป็นต้น ดังนั้นสมรสเท่าเทียม จึงช่วยให้ระบุผู้รับผลประโยชน์เป็นคู่ชีวิตได้ เช่นเดียวกับคู่สมรสชายหญิง เพื่อเป็นการเตรียมเงินก้อนโตให้กับคนที่รัก หากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นกับตน
    • ยกตัวอย่างประกันชีวิตที่สามารถใช้เงินเล็ก ๆ ปีละหลักหมื่นเพื่อสร้างเงินเอาประกันก้อนโตหลักล้านได้ เช่น ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ 99/19 สำหรับผู้ชาย อายุ 40 ปี สามารถสร้างเงินเอาประกัน 1 ล้านบาท นับตั้งแต่ปีแรกไปจนถึงอายุ 99 ปี ด้วยเบี้ยประกันปีละ 25,940 บาท ที่จ่ายเป็นเวลา 19 ปี (เบี้ยรวม 492,860 บาท)

อย่างไรก็ตาม แม้เป็นคู่สมรสกันแล้ว ก็มีบางนิติกรรม ที่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสด้วย ไม่สามารถทำโดยไม่บอกคู่ชีวิตได้ เช่น ซื้อขายหรือจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ ให้ผู้อื่นกู้ยืมเงิน การให้หรือโอนทรัพย์สินให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัว เป็นต้น รวมถึงหากคู่ชีวิตมีภาระหนี้สินไม่ว่าจะมีมาก่อนหรือระหว่างสมรส หากทรัพย์สินของคู่ชีวิตไม่พอชำระหนี้ ทรัพย์สินที่เป็นชื่อของตนที่เป็น “สินสมรส” (เช่น ทรัพย์สินที่ได้หรือซื้อมาระหว่างสมรส ฯลฯ) ก็อาจถูกเรียกร้องให้นำไปชำระหนี้ได้ด้วย


การจัดการสิทธิ ทรัพย์สินและรายได้

  • การโอนสังหาริมทรัพย์ เช่น เงินสด หรือเงินลงทุน ให้แก่คู่ชีวิตที่จดทะเบียนสมรส ทำได้โดยไม่มีภาระภาษีการรับให้ หากในแต่ละปี พ.ศ. โอนหรือมอบให้กันไม่เกิน 20 ล้านบาท อีกทั้งหากเป็นการรับมรดกจากคู่ชีวิตที่เสียชีวิต ก็จะไม่มีภาระภาษีมรดก ไม่ว่ามรดกนั้นจะมีมูลค่าเท่าไรก็ตาม
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่สามารถระบุผู้รับผลประโยชน์เป็นคู่ชีวิตได้ จากเดิมที่เมื่อก่อนอาจระบุได้เพียงบิดามารดา บุตร เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจว่าเงินสะสมเพื่อเกษียณอายุในกองทุนฯ แม้ตนเองไม่มีโอกาสได้ใช้ แต่คู่ชีวิตที่เป็นผู้รับผลประโยชน์จะสามารถนำไปใช้ได้
  • ประกันสังคม ที่หากผู้ประกันตนเสียชีวิตลง คู่ชีวิตย่อมมีสิทธิได้รับเงินค่าทำศพ เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต รวมไปถึงเงินบำเหน็จชราภาพและเงินบำนาญชราภาพตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนดด้วย
  • การยื่นภาษีเงินได้ กรณีต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ คู่ชีวิตสามารถเลือกยื่นได้ 3 แบบ ได้แก่ (1) รวมยื่น (2) แยกยื่นส่วนของตนเอง (3) ยื่นเฉพาะ 40(1) ของตนเอง ส่วน 40(2) – 40(8) นำไปยื่นรวมกับเงินได้ของคู่ชีวิต ทำให้สามารถลดภาระภาษีลงได้

ตัวอย่างเช่น คุณ A และคุณ B เป็นคู่ชีวิตกัน โดยคุณ A มีเงินเดือน 300,000 บาทต่อเดือน มีรายได้จากการปล่อยเช่าคอนโด 20,000 บาทต่อเดือน ส่วนคุณ B มีเงินเดือน 100,000 บาทต่อเดือน หากเปรียบเทียบการยื่นภาษี 2 แบบ ได้แก่ (1) แยกยื่นรายได้ของตนเอง (2) นำเงินได้ 40(2)-40(8) ของคุณ A ไปยื่นรวมกับเงินได้ของคุณ B จะพบว่า แบบที่ 2 จะมีภาษีจ่ายน้อยกว่าแบบที่ 1 อยู่ที่ 28,200 บาท


อีกทั้งหากทั้งคู่มีการลดหย่อนภาษี ในกองทุน ThaiESG หรือกองทุน RMF ก็จะช่วยให้ภาระภาษีน้อยลงอีกได้ โดยหากเป็นการยื่นภาษี ตามตัวอย่างแบบที่ 2 หากคุณ A มีการซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี 100,000 บาท ตอนยื่นภาษี เงินลงทุนจำนวน 6,250 บาท (= 100,000 x 240,000 ÷ (3,600,000 + 240,000)) จะถูกนำไปคำนวณภาษีฝั่งคุณ B ตามสัดส่วนเงินได้ที่นำไปยื่นรวมกับคุณ B


สำหรับกองทุนลดหย่อนภาษี เนื่องจากทั้งกองทุน RMF และกองทุน ThaiESG เป็นการลงทุนระยะยาว 5 ปี หรือจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ขอแนะนำกองทุนลดหย่อนภาษีที่เป็นกองทุนผสม ที่มีการกระจายการลงทุน เหมาะกับการลงทุนระยะยาว เช่น


  • กองทุน KWPBALRMF มีการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายทั่วโลก ลงทุนในหุ้นประมาณ 30% และตราสารหนี้ประมาณ 70% ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5 ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน หลังลงทุนครบตามเงื่อนไขกรมสรรพากรแล้ว หากต้องการขายคืน ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน อยู่ที่ T+5
  • กองทุน K-BL30-ThaiESG มีการกระจายลงทุนในหุ้นเพื่อความยั่งยืน 30% ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน 50% และตราสารหนี้อื่นอีก 20% ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5 ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 100%ของมูลค่าที่ลงทุนต่างประเทศ (ณ 30 ธ.ค. 67 ยังไม่มีการลงทุนต่างประเทศ) หลังลงทุนครบตามเงื่อนไขกรมสรรพากรแล้ว หากต้องการขายคืน ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน อยู่ที่ T+2

จัดการมรดก

คู่ชีวิตรับมรดกจากคู่ชีวิต ได้โดยไม่ต้องมีพินัยกรรมรองรับ ในฐานะทายาทโดยธรรม ตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด ตัวอย่างเช่น คุณ A ที่มีคุณ B เป็นคู่ชีวิต โดยคุณ A ไม่มีบุตร บิดามารดาเสียชีวิตแล้ว แต่มีพี่น้องรวม 2 คน (พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน) คุณ A มีทรัพย์มรดก 1 ล้านบาท และไม่มีการเขียนพินัยกรรมไว้ หากคุณ A เสียชีวิต ทรัพย์มรดกนี้จะถูกแบ่งให้กับ


  • คุณ B ซึ่งเป็นคู่สมรส รับมรดกครึ่งหนึ่ง ซึ่งเท่ากับ 500,000 บาท
  • พี่น้องทั้ง 2 คน ได้รับมรดกส่วนที่เหลือเฉลี่ยเท่ากัน หรือคนละ 250,000 บาท

ซึ่งหากคุณ A ต้องการจัดสรรมรดกให้กับคุณ B มากกว่านี้ หรืออยากยกมรดกทั้งหมดให้กับคุณ B ต้องมีการเขียนพินัยกรรมไว้ โดยอาจเป็นลักษณะการพิมพ์พินัยกรรม (ตามแบบที่กฎหมายกำหนด) ด้วยตนเองและพิมพ์พินัยกรรมนั้นเป็นกระดาษ แล้วทำการลงนามในพินัยกรรมนั้นต่อหน้าพยาน 2 คน และให้พยานทั้ง 2 คนลงนามรับรองด้วย เพียงเท่านี้พินัยกรรมก็มีผล แต่ต้องระวังว่าถ้ามีการเขียนพินัยกรรมยกมรดกทั้งหมดหรือบางส่วนให้คุณ B จะให้คุณ B เป็นพยานในพินัยกรรมนั้นไม่ได้


สมรสเท่าเทียม แต่ความเป็น บุตร vs บิดามารดา ยังไม่เท่าเทียม

คู่ชีวิตที่ไม่สามารถมีบุตรโดยสายเลือดได้ด้วยตนเอง หากไม่ได้มีการอุ้มบุญอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือมีลูกติดของคู่ชีวิตจากคนรักเดิม เด็กที่เกิดขึ้นย่อมไม่ใช่บุตรทางกฎหมายของคู่ชีวิตคนใดคนหนึ่งหรือทั้ง 2 คน ซึ่งหนึ่งในทางเลือกของคู่ชีวิตเพื่อให้สามารถมีลูกได้ตามกฎหมาย คือ การรับบุตรบุญธรรม ที่ต้องมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมอย่างถูกต้องการกฎหมาย และทั้งคู่ต้องเป็นผู้จดรับด้วย หากจดรับแค่ฝ่ายเดียว ก็ถือว่าคู่ชีวิตอีกฝ่ายไม่ได้มีการจดรับบุตรบุญธรรมด้วย


การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมย่อมทำให้เด็กมีสถานะเป็นบุตรตามกฎหมายของคู่ชีวิต มีสิทธิในการได้รับมรดกจากคู่ชีวิตที่เป็นผู้เลี้ยงดู เหมือนกับครอบครัวอื่น แต่หากในอนาคตบุตรบุญธรรมเติบโตและมีทรัพย์สินเป็นของตนเอง และเกิดเสียชีวิตลง หากบุตรบุญธรรมไม่มีการเขียนพินัยกรรมไว้ คู่ชีวิตที่เลี้ยงดูมาจะไม่มีสิทธิได้รับมรดกจากบุตรบุญธรรมนั้นแม้แต่ส่วนเดียว


ดังนั้นคู่ชีวิตที่คาดหวังว่าจะรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมเพื่อให้มาเลี้ยงดูในช่วงช่วงชีวิตหลังเกษียณหรือในยามแก่เฒ่า ยังจำเป็นต้องมีการวางแผนเก็บเงินเกษียณด้วยส่วนหนึ่ง เพื่อหากอนาคตเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นกับบุตรที่หวังจะพึ่งพา อย่างน้อยก็จะได้มีเงินทุนไว้ใช้ในการดำรงชีวิตบ้าง โดยการเก็บเงินดังกล่าว หากเป็นผู้ที่มีเงินได้ต้องเสียภาษี แนะนำให้ลงทุนในกองทุน KWPBALRMF เพื่อนำยอดเงินลงทุนในแต่ละปีไปลดหย่อนภาษีได้


หรืออาจเลือกเก็บเงินในประกันชีวิต เช่น “ประกัน 80/5 ทริปเปิ้ลเงินก้อน” ที่มีเงินก้อนให้ในจำนวนที่แน่นอนตอนอายุ 60 ปี 70 ปี และ 80 ปี หรือ “ประกันบำนาญลดหย่อนได้ จ่ายสั้นปรับได้ 90/5” ที่สามารถเลือกอายุเริ่มรับบำนาญได้เมื่ออายุ 55, 60, 65 ปี และได้รับยาวไปจนถึงอายุ 90 ปี


สมรสเท่าเทียม กฎหมายใหม่ที่เปิดโอกาสให้ความรักที่ไร้พรมแดน อย่างไรก็ตาม K WEALTH แนะนำให้คู่รักและคู่ชีวิตหันมาให้ความสนใจกับเรื่องการเงินในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ เพราะการจัดการเงินหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพย์สินในครอบครัวอาจมีรายละเอียดที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย รวมไปถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ปัจจุบันอาจยังอยู่ระหว่างการแก้ไข ซึ่งทาง K WEALTH จะคอยอัปเดทประเด็นเหล่านี้ให้ผู้อ่านทุกคนให้ไม่พลาดข้อมูลสำคัญก่อนตัดสินใจลงทุนและวางแผนการเงิน


หมายเหตุ: “ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน” จะแตกต่างกันในแต่ละกองทุน อธิบายง่ายๆ คือ ถ้ากองทุนมีระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+5 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 5 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันจันทร์ของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์) รายละเอียดของระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืนของกองทุนลดหย่อนภาษีที่ได้มีการระบุถึงในบทความนี้ เป็นดังนี้


คำเตือน

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”, “ทำความเข้าเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีและผลกระทบหากทำผิดเงื่อนไขก่อนตัดสินใจลงทุน”

ผู้เขียน

K WEALTH

Back to top