การฟอกไต (hemodialysis) คืออะไร? ช่วยรักษาภาวะไตวายให้หายได้หรือไม่? การฟอกไต (hemodialysis) คืออะไร? ช่วยรักษาภาวะไตวายให้หายได้หรือไม่?

รู้จักการฟอกไต วิธียืดอายุผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

เมื่อเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ไตไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้ตามกลไกปกติ ผู้ป่วยจะต้องเข้าสู่กระบวนการบำบัดทดแทนไตที่เรียกว่า “การฟอกไต” เพื่อกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังสามารถมีชีวิตอยู่ต่อได้

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการฟอกไต

การฟอกไต hemodialysis คืออะไร?

การฟอกไตคืออะไร?

การฟอกไต (Kidney Dialysis) คือ การกรองและกำจัดของเสียต่าง ๆ ออกจากร่างกาย เป็นวิธีทางการแพทย์ที่ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายหรือไตวายเฉียบพลัน เนื่องจากไตของผู้ป่วยระยะนี้ไม่สามารถทำหน้าที่กรองของเสียได้ ส่งผลให้เกิดสารพิษและของเสียสะสมในร่างกาย จึงต้องทำการฟอกไตเพื่อให้มีการทำงานใกล้เคียงกับไตในภาวะปกติ ช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยมีความสมดุล

การฟอกไตมีกี่วิธี?

ปัจจุบันการฟอกไตที่นิยมใช้มี 2 วิธี ได้แก่

  1. การฟอกไตทางหลอดเลือด (Hemodialysis)

  2. การฟอกไตมีกี่แบบ? ปัจจุบันการฟอกไตที่นิยมใช้มี 2 วิธี 1. การฟอกไตทางหลอดเลือด (Hemodialysis)

    เป็นการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยจะนำเลือดออกจากร่างกายทางเส้นเลือดดำ ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการใส่สายฟอกเลือดชั่วคราว เพื่อให้หลอดเลือดดำมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีแรงดันมากพอที่จะทำให้เลือดไหลเวียนสู่เครื่องไตเทียมได้ เมื่อเลือดผ่านตัวกรองจะได้รับการกำจัดของเสีย ปรับระดับเกลือแร่ในเลือดจนกลายเป็นเลือดดี แล้วนำเลือดกลับเข้าสู่ร่างกายเหมือนเดิม วิธีนี้จะใช้เวลาประมาณ 3-5 ชั่วโมง และทำอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์

  3. การฟอกไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis)

  4. การฟอกไตมีกี่แบบ? ปัจจุบันการฟอกไตที่นิยมใช้มี 2 วิธี 2. การฟอกไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis)

    เป็นการกรองของเสียและสารพิษผ่านทางช่องท้องด้วยน้ำยาล้างไต โดยแพทย์จะฝังสายท่อล้างไตแบบถาวรไว้ในช่องท้องของผู้ป่วย เพื่อเป็นช่องทางเข้า-ออกของน้ำยาล้างไต เวลาฟอกไตผู้ป่วยจะใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้องผ่านท่อดังกล่าว และทิ้งไว้ประมาณ 4-6 ชั่วโมง หลังจากนั้นผู้ป่วยจะปล่อยน้ำยาที่ดูดซึมของเสียออกมาทางช่องท้อง และทำการเติมน้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้องอีกครั้ง วิธีนี้สามารถทำได้เองที่บ้าน โดยต้องทำทุกวันประมาณ 4-6 ครั้งต่อวัน

เมื่อไรที่ต้องเริ่มรักษาด้วยการฟอกไต?

เมื่อผู้ป่วยโรคไตเริ่มเข้าสู่ระยะที่ 4 จนถึงระยะที่ 5 ซึ่งเป็นระยะสุดท้าย เนื่องจากเป็นระยะที่ไตทำงานได้น้อยกว่า 30% หรือผู้ป่วยโรคไตที่มีภาวะดังต่อไปนี้

  • ภาวะบวมน้ำรุนแรง ส่งผลให้หัวใจวายหรือระบบหายใจล้มเหลว
  • ระดับเกลือแร่ผิดปกติ หรือมีภาวะเลือดเป็นกรดรุนแรง ไม่สามารถประคับประคองด้วยยาได้
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน น้ำหนักลด
  • เยื่อหุ้มปอดหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากการคั่งของของเสีย
  • รู้สึกตัวลดลง หรือมีอาการชักกระตุก

ผู้ป่วยฟอกไตอยู่ได้นานเท่าไร?

การฟอกไตช่วยยืดอายุของผู้ป่วยฟอกไตได้ แต่ระยะเวลาจะนานเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ทั้งการมีโรคประจำตัวอื่นของผู้ป่วย และการดูแลตนเองหลังการฟอกไต หากผู้ป่วยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด รักษาสุขอนามัยเป็นอย่างดี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดเครื่องดื่มที่มีฟอสเฟตสูง ไม่สูบบุหรี่ และควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน รวมทั้งทำการฟอกไตอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ผู้ป่วยก็มีโอกาสอยู่ได้นานถึงหลักสิบปีเลยทีเดียว

การฟอกไตเจ็บไหม?

การฟอกไตทั้ง 2 วิธี ไม่เจ็บอย่างที่คิด โดยการฟอกไตทางหลอดเลือด แพทย์จะแทงเข็มเข้าสู่เส้นเลือดเพื่อให้เลือดส่งผ่านสายฟอกไตไปยังตัวกรอง หลังจากเลือดผ่านการทำความสะอาดแล้วเครื่องไตเทียมก็จะส่งเลือดกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง วิธีนี้ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกเจ็บเฉพาะตอนแทงเข็ม ซึ่งคล้ายกับการเจาะเลือดหรือการฉีดยาธรรมดา เว้นแต่ว่าผู้ป่วยเส้นเลือดจมอาจรู้สึกเจ็บปวดเล็กน้อย ระหว่างที่เลือดถูกนำมาฟอกจะไม่มีอาการเจ็บใด ๆ

ส่วนการฟอกไตทางช่องท้องก็ไม่เจ็บเช่นเดียวกัน เพราะเป็นการใส่น้ำยาผ่านท่อที่ฝังไว้ในช่องท้องอยู่แล้ว โดยผู้ป่วยเพียงนำน้ำยาฟอกไตใส่เข้าไปทางท่อด้านหนึ่ง และปล่อยน้ำยาทิ้งไว้ประมาณ 4-6 ชั่วโมง เพื่อให้ของเสียและน้ำส่วนเกินมาอยู่บริเวณหน้าท้อง เมื่อครบน้ำยาจะไหลออกมาทางท่ออีกด้านหนึ่ง โดยแพทย์จะกำหนดปริมาณน้ำยาฟอกไตที่พอเหมาะประมาณครั้งละ 2 ลิตร ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บหรือปวดแน่นท้อง

ไตวายเรื้อรัง

ไตวายเรื้อรัง คือ ภาวะที่ไตถูกทำลายช้า ๆ อย่างต่อเนื่อง จนทำให้ไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้ปกติ โดยสัญญาณเตือนของโรคไตวายเรื้อรัง คือ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะมีความปกติ มีอาการบวมตามจุดต่าง ๆ เช่น หน้าบวม ตาบวม หรือเท้าบวม เป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษา จะเข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายนำมาสู่การบำบัดทดแทนไตอย่างการฟอกไตนั่นเอง

สาเหตุของไตวายเรื้อรัง

  • มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคความดันโลหิตสูง
  • เป็นโรคไตอักเสบชนิดต่าง ๆ เช่น โรค SLE
  • ได้รับยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS เป็นระยะเวลานาน
  • มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไตวายเรื้อรัง
  • ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหลายครั้ง

วิธีป้องกันอย่างไรไม่ให้เป็นไตวายเรื้อรัง

  • เลี่ยงการใช้ยาที่ผลต่อไตติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ยาสมุนไพร ยาลูกกลอน เป็นต้น
  • ลดอาหารที่มีไขมันสูง อาหารรสเค็ม
  • ควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • งดการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยง

หากไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ย่อมส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การฟอกไต จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ซึ่งระยะการฟอกไตนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค หากมีอาการไตวายเฉียบพลัน สามารถหยุดฟอกไตได้เมื่อไตกลับมาทำงานปกติ ในขณะที่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายจะต้องฟอกไตไปตลอดชีวิตหรือจนกว่าจะได้รับการปลูกถ่ายไต

ซึ่งการฟอกไต ราคาจะแตกต่างกันไป โดยการฟอกไตทางหลอดเลือดจะอยู่ที่ครั้งละประมาณ 1,500 – 1,700 บาท และการฟอกไตทางช่องท้อง ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยไม่เกิน 20,000 บาท ซึ่งต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง หากกรณีที่ต้องฟอกไตตลอดชีวิต ต้องเตรียมค่ารักษาเท่าไรถึงจะพอ? จะดีกว่าไหมหากมีประกันโรคร้ายแรงไว้ติดตัว ที่พร้อมให้ความคุ้มครองการรักษาโรคไตวายเรื้อรัง ดูแลค่าใช้จ่ายในการฟอกไต ให้คุณไร้กังวลแม้ต้องเผชิญกับโรคร้ายแรง

ช่วยค้นหาประกันที่ใช่
ดูแล คุ้มครองได้ตรงใจคุณ

เพียงเลือกสิ่งที่คุณสนใจ และให้เราเลือกประกัน
ที่เหมาะที่สุดสำหรับคุณ

ช่วยค้นหาประกันที่ใช่ ดูแล คุ้มครองได้ตรงใจคุณ

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

back to top