MRR คืออะไร? หากคิดจะกู้บ้าน ห้ามพลาดเรื่องการคำนวณดอกเบี้ย MRR คืออะไร? หากคิดจะกู้บ้าน ห้ามพลาดเรื่องการคำนวณดอกเบี้ย

MRR คืออะไร? หากคิดจะกู้บ้าน ห้ามพลาดเรื่องการคำนวณดอกเบี้ย

MRR คือ ดอกเบี้ยที่คนวางแผนซื้อบ้านต้องทำความเข้าใจ หลายคนอาจคุ้นกับคำว่าดอกเบี้ย MRR กันมาบ้าง ว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการกู้ซื้อบ้าน แต่อาจจะยังไม่เข้าใจว่าคืออะไร บทความนี้ K-Property จะพาไปทำความรู้จักว่าดอกเบี้ยบ้าน MRR คืออะไร มีวิธีการคิดดอกเบี้ยอย่างไร จะเหมือนหรือแตกต่างกับวิธีการคิดดอกเบี้ยแบบอื่นที่ส่วนไหน แล้วยังมีดอกเบี้ยแบบอื่นอีกไหม ที่สำคัญจะมีผลต่อการวางแผนค่าใช้จ่ายหลังกู้ซื้อบ้านอย่างไร มาทำความเข้าใจกันเลย

MRR (Minimum Retail Rate) คืออะไร?

มารู้จัก MRR (Minimum Retail Rate) คืออะไร?

MRR ย่อมาจากคำว่า Minimum Retail Rate คือดอกเบี้ยที่หลายคนต้องทำความเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่กำลังวางแผนจะกู้ซื้อบ้าน เพราะอัตราดอกเบี้ย MRR คือ ดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate) ซึ่งดอกเบี้ยชนิดนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับตลาดและการบริหารของธนาคาร ทำให้สามารถคาดเดาหรือวางแผนได้ยาก อัตราดอกเบี้ย MRR เป็นที่นิยมในสินเชื่อที่มีระยะเวลาการผ่อนชำระที่แน่นอน และยังเป็นอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าธนาคารชั้นดี ที่ไม่เคยมีประวัติผิดนัดชำระหนี้อีกด้วย

ตัวอย่างสินเชื่อที่มีการคิดดอกเบี้ยแบบ MRR คือ เมื่อลูกหนี้ทำการยื่นคำขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารแห่งหนึ่ง เป็นวงเงินกู้จำนวน 1,000,000 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยบ้านแบบคงที่ MRR -3.125% ตั้งแต่ปีที่ 1-3 หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ใน Rate MRR -1.50% หมายความว่าดอกเบี้ยบ้านที่ต้องจ่ายจะเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราดอกเบี้ย MRR ของแต่ละธนาคาร

MRR สำคัญต่อการกู้ซื้อบ้านอย่างไร

MRR สำคัญต่อการกู้ซื้อบ้านอย่างไร

ดอกเบี้ยบ้าน MRR มีทั้งข้อดีและข้อเสียสำหรับลูกหนี้ คนที่มีแพลนจะซื้อบ้าน ซื้อคอนโด หรือรีไฟแนนซ์ต้องทำความเข้าใจให้ดี พร้อมต้องรู้จักการคำนวณอัตราดอกเบี้ย เพื่อวางแผนค่าใช้จ่าย

ข้อดีของดอกเบี้ยบ้าน MRR คือชำระเงินงวดเท่าเดิม แต่จ่ายดอกเบี้ยน้อยลง เงินที่จ่ายไปตัดเงินต้นมากขึ้น แต่ในทางกลับกันที่ต้องทำความเข้าใจก่อนยื่นกู้สินเชื่อ คือหากดอกเบี้ย MRR มีการปรับขึ้น เท่ากับว่าลูกหนี้ชำระค่างวดเท่าเดิม แต่เงินก้อนนั้นแบ่งไปจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้นและตัดเงินต้นน้อยลง

ไขข้อข้องใจ ดอกเบี้ยลอยตัว ต่างจากดอกเบี้ยแบบอื่นอย่างไร

ไขข้อข้องใจ ดอกเบี้ยลอยตัว ต่างจากดอกเบี้ยแบบอื่นอย่างไร

ดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือกู้ซื้อบ้านมี 3 ประเภท ได้แก่ ดอกเบี้ยลอยตัว ดอกเบี้ยคงที่ และดอกเบี้ยปรับคงที่ตามรอบเวลา มาดูกันว่าดอกเบี้ยแต่ละแบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร

ดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) คืออัตราดอกเบี้ยที่มีการประกาศกำหนดใช้ ณ ช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งในอนาคตอาจมีการปรับขึ้นลง เปลี่ยนแปลงได้ทุกเวลา อาจปรับขึ้นได้หลายครั้งในเวลา 1 ปี ขึ้นอยู่กับการบริหารการเงินของธนาคารและตลาดในตอนนั้น

ดอกเบี้ยคงที่ (Fixed rate loan) คือ อัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ มักเป็นในช่วง 1-5 ปีแรกของการกู้ซื้อบ้าน และหลังจากนั้นจะมีการปรับดอกเบี้ยเป็นลอยตัว ซึ่งทำให้ผู้กู้ต้องเตรียมพร้อมวางแผนการชำระเงินงวดสำหรับอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่อาจมีการปรับขึ้นในอนาคต

ดอกเบี้ยคงที่ตามรอบเวลา (Rollover Mortgage Loan) คือ อัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วงระยะหนึ่ง แต่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยคงที่ใหม่เป็นรอบๆ ทุกๆ 3-5 ปี ซึ่งอัตราการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยคงที่นั้นขึ้นอยู่กับต้นทุนพันธบัตร บวก 2.5% ตัวอย่าง ต้นทุนพันธบัตร 5% เท่ากับว่าดอกเบี้ยคงที่ตามกรอบเวลานั้นจะเป็น 7.5%

อัตราดอกเบี้ยลอยตัวชนิดอื่น ที่ควรรู้

นอกจากดอกเบี้ยบ้าน MRR คือสิ่งที่ผู้มีแผนจะกู้ซื้อบ้านต้องทำความเข้าใจแล้ว ยังมีดอกเบี้ยลอยตัวแบบอื่นๆ ที่ต้องศึกษาไว้ด้วยเช่นกัน เพื่อให้สามารถวางแผนการคำนวณการเงินได้ดี ก่อนที่จะตัดสินใจยื่นกู้สินเชื่อซื้อบ้าน จะมีอะไรบ้าง มาดูพร้อมกัน

MLR (Minimum Loan Rate)

MLR (Minimum Loan Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำสำหรับลูกค้าธนาคารชั้นดี มีระยะเวลาผ่อนชำระยาวแต่กำหนดเวลาผ่อนชำระเงินงวดที่ชัดเจน อัตราดอกเบี้ยนี้จะไม่ได้ใช้กับลูกค้าธนาคารที่เป็นบุคคลธรรมดา แต่จะเป็นดอกเบี้ยสำหรับการทำธุรกิจ ลูกค้ารายใหญ่ ที่เป็นเจ้าของกิจการต่างๆ รวมถึงเจ้าของธุรกิจ SME

ตัวอย่างสินเชื่อธุรกิจที่มีการคิดดอกเบี้ย MLR คือ เมื่อลูกค้าธนาคารแห่งหนึ่ง กู้สินเชื่อธุรกิจเป็นจำนวนวงเงิน 1,000,000 บาท หากอัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ที่ -3.25% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ใน 3 ปีแรก ปัจจุบันในปีที่ 4 ดอกเบี้ย MLR อยู่ที่ 6.75% หมายความว่าในปีที่ 4 ดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ต้องจ่ายจะอยู่ที่ 3.5% ต่อปีนั่นเอง

MOR (Minimum Overdraft Rate)

MOR (Minimum Overdraft Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยประเภทเงินกู้ขั้นต่ำ ที่ทางธนาคารจะเรียกเก็บกับลูกหนี้ชั้นดี ที่มีการเบิกเงินเกินบัญชี เป็นสินเชื่อที่มีการพิจารณาที่เข้มงวด มีการตรวจสอบอย่างละเอียดทั้งคุณสมบัติของผู้กู้เอง ประวัติการเงิน และหลักทรัพย์ค้ำประกัน เหมาะกับกลุ่มลูกค้าที่ทำธุรกิจเป็นหลัก

ตัวอย่างการขอสินเชื่อที่มีการคิดดอกเบี้ยแบบ MOR คือ เมื่อลูกค้าธนาคารแห่งหนึ่ง กู้สินเชื่อเพื่อทำธุรกิจจากธนาคาร คิดดอกเบี้ยรูปแบบ MOR หมายความว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจะอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคาร

เทียบให้ชัด MRR MLR และ MOR ต่างกันอย่างไร

เทียบให้ชัด MRR MLR และ MOR ต่างกันอย่างไร

จากที่ได้เห็นรายละเอียดของดอกเบี้ยแต่ละรูปแบบแล้ว มาดูกันว่าเมื่อเปรียบเทียบดอกเบี้ย MRR MLR และ MOR ทั้ง 3 แบบนี้แล้ว จะมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง แล้วดอกเบี้ยตัวไหนที่น่าสนใจ คุ้มค่าสำหรับคนที่อยากกู้ซื้อบ้านมากที่สุด

  • ดอกเบี้ย MRR คือ ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารเรียกเก็บลูกค้ารายย่อยชั้นดี ใช้สำหรับเงินกู้ทุกประเภทที่มีระยะเวลาผ่อนชำระที่แน่นอน
  • ดอกเบี้ย MLR คือ ดอกเบี้ยที่ธนาคารเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ใช้สำหรับเงินกู้ประเภทมีระยะเวลา
  • ดอกเบี้ย MOR คือ ดอกเบี้ยสำหรับเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี สำหรับประเภทเงินเบิก OD หรือเงินเบิกเกินบัญชี มีความเข้มงวดสูงในการออกสินเชื่อ
วิธีการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้

วิธีการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้

วิธีการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้หลักๆ มี 2 วิธีด้วยกัน ซึ่งในการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้นั้นสิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนการคำนวณก็คือ ต้องรู้อัตราดอกเบี้ยของปีนั้นๆ ก่อน ทั้งดอกเบี้ย MRR ดอกเบี้ย MOR และดอกเบี้ย MRR ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ที่ อัตราและค่าธรรมเนียมสินเชื่อ จากเว็บไซต์ของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งจะมีการอัปเดตอัตราดอกเบี้ยของแต่ละปีอยู่เรื่อยๆ จากนั้นเลือกวิธีคำนวณดอกเบี้ย ดังนี้

วิธีคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้แบบเงินคงที่

ดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกำหนดให้คงที่ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ มักอยู่ที่ 1-5 ปี วิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบเงินคงที่จะนำเงินต้นทั้งหมดมาคำนวณตั้งแต่ในวันที่ทำสัญญากู้ โดยคำนวณได้จากสูตร

ตัวอย่างการคำนวณ

ลูกค้าทำการยื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคาร เป็นจำนวนวงเงิน 1,000,000 บาท โดยมีโปรโมชั่นอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.5% ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี หากอยากรู้ว่าในช่วง 3 ปีแรกนี้ต้องเสียดอกเบี้ยเท่าไร สามารถคิดได้ตามสูตรนี้

“เงินต้น x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x ระยะเวลา = ดอกเบี้ยทั้งหมดที่ต้องชำระให้ธนาคาร”

เท่ากับว่าดอกเบี้ยที่ต้องชำระตลอด 3 ปี คือ 1,000,000 x 3.5% x 3 = 105,000 บาท

ดอกเบี้ยแบบคงที่นี้เหมาะกับคนที่ต้องการผ่อนสบายๆ ระยะยาว ไม่รีบโปะ แบ่งเงินเก็บไว้เป็นสภาพคล่อง

วิธีคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก

ดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก คือ อัตราดอกเบี้ยที่มีวิธีการคำนวณที่ซับซ้อน แต่เข้าใจง่ายๆ ได้ว่า การผ่อนชำระสินเชื่อแบบลดต้นลดดอกคือ ยิ่งเงินต้นลดลงเท่าไหร่ ดอกเบี้ยก็จะน้อยลงเท่านั้น แต่กลับกันหากเงินต้นในช่วงแรกสูง ทำให้ช่วงแรกที่ผ่อนชำระต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงไปด้วย วิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดน้อยจะมีหลายขั้นตอนด้วยกัน

ตัวอย่างการคำนวณ

ลูกค้าทำการยื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคาร ทำสัญญากู้ยืมในวันที่ 1 มกราคม เป็นจำนวนวงเงิน 1,000,000 บาท โดยมีการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกอยู่ที่ 15% ต่อปี ยังไม่ได้มีการผ่อนชำระ หากอยากรู้ว่าดอกเบี้ยในงวดแรกที่ต้องชำระเป็นเท่าไหร่ คิดได้ดังนี้

( 1,000,000 x 15% X 31 ) / 365 = 12,740 บาท

หากอยากรู้ว่าในเงินงวดที่จ่ายไปทั้งหมด คิดเป็นเงินต้นเท่าไหร่ สามารถคิดได้ง่ายๆ โดยทำตามสมการนี้

“ค่างวดต่อเดือน - ดอกเบี้ยต่องวด = เงินต้นต่อเดือนที่ชำระ”

สมมติเงินงวดที่จ่ายเท่ากับ 20,000 - ดอกเบี้ยต่องวดนั้น 12,740 = เงินต้นที่ชำระในงวดนั้นคือ 7,260 บาท

จะเห็นว่าในงวดแรกมีการตัดเงินต้นน้อยกว่าดอกเบี้ยต่องวด เพราะอัตราดอกเบี้ยต่อปีจะอิงกับเงินต้นทั้งหมดเต็มจำนวนนั่นเอง เท่ากับว่าเมื่อชำระเงินงวดแรกแล้ว จะเหลือเงินต้นคงค้างเท่ากับ 1,000,000 - 7,260 = 992,740 บาท

ซึ่งในเดือนต่อๆ ไป ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกนั้นจะคิดคำนวณจากเงินต้นคงค้างที่เหลือ ทำให้ยิ่งผ่อนต้นมากเท่าไหร่ ดอกเบี้ยก็จะลดลงเท่านั้น ทำให้งวดหลังๆ ของการชำระค่างวดสัดส่วนของเงินต้นจะมากกว่าดอกเบี้ยนั่นเอง ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกลักษณะนี้จึงเหมาะมากกับคนที่ไม่อยากมีหนี้ผูกพันนาน และอยากรีบโปะต้นให้ยอดหนี้ลดลงไวๆ

สำหรับใครที่เห็นวิธีการคำนวณดอกเบี้ยแต่ละแบบแล้วเห็นว่ามีความซับซ้อนและค่อนข้างยุ่งยาก กลัวคิดเองจะผิดพลาดคลาดเคลื่อน ทางธนาคารกสิกรไทยมีเว็บไซต์คำนวณวงเงินกู้สินเชื่อบ้านเบื้องต้น เป็นตัวช่วยให้การคำนวณสินเชื่อบ้านเป็นเรื่องง่าย เพียงใส่ข้อมูลที่จำเป็น จากนั้นระบบก็จะคำนวณวงเงินกู้สูงสุด ระยะเวลาที่ต้องการกู้และยอดผ่อนต่อเดือนให้คุณ ช่วยอำนวยความสะดวกให้คุณสามารถวางแผนการเงินก่อนตัดสินใจกู้สินเชื่อบ้านได้

หากใครได้ลองคำนวณดอกเบี้ยบ้านแต่ละแบบแล้วจะเห็นได้ว่า ดอกเบี้ยที่ดีและคุ้มค่าที่สุดไม่ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของดอกเบี้ย แต่ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ทางการเงินของคุณมากกว่า

ดอกเบี้ย MRR คืออัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ที่คาดการณ์ วางแผนและคำนวณได้ยาก เพราะอัตราจะเปลี่ยนไปตามตลาดและการบริหารเงินของธนาคาร ทำให้ผู้ที่มีแผนจะกู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อคอนโด สินเชื่อที่อยู่อาศัย รวมถึงการรีไฟแนนซ์ต้องทำความเข้าให้ดีก่อนตัดสินใจ หากมีความเข้าใจต่อการคำนวณดอกเบี้ย MRR จะช่วยให้วางแผนการเงินในอนาคตได้ว่าจะต้องจัดการ บริหารการเงินได้ดี มีสภาพคล่อง และถ้าคุณกำลังมองหาสินเชื่อบ้าน ต้องสินเชื่อบ้านจากธนาคารกสิกรไทย มีบริการสินเชื่อบ้านให้คุณเลือกหลายประเภท ที่เดียวครบ จบทุกความต้องการ

ข้อมูลอ้างอิง

ธนาคารแห่งประเทศไทย

อ่านบทความสินเชื่อบ้านและเรื่องบ้านเพิ่มเติม

คลิกเลย

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

back to top