แม้ว่าข่าวไวรัสโคโรน่า จะเป็นกระแสที่สำคัญมากต่อตลาดในเวลานี้ ผมเชื่อว่าอีก 1 ปีจากนี้กระแสนี้ก็จะหายไปเหมือนทุกๆครั้งที่ตลาดทุนตกใจระยะสั้นกับโรคระบาดในอดีต สิ่งที่ยังคงต้องถกกันอีกพักใหญ่คือจะลงทุนอย่างไรในวัฏจักรเศรษฐกิจตอนปลาย (late cycle)
ปัจจุบันการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะในสหรัฐฯ กำลังอยู่ในจุดอิ่มตัวมากๆ อัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับ 3.5% ซึ่ง ณ ปัจจุบันถือว่าต่ำสุดในรอบ 50 ปี นักวิเคราะห์เริ่มมีความกังวลว่าเศรษฐกิจผ่านการเติบโตที่สูงสุดแล้วและพร้อมที่จะโตช้าลงได้ทุกเมื่อ แต่ที่แปลกกว่าทุกครั้งที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงปลายคือเงินเฟ้อยังไม่สูงขึ้น คนใช้แรงงานยังไม่มีความั่นใจที่จะใช้จ่าย และเป็นสาเหตุหลักที่ธนาคารกลางทั่วโลกยังคงจะทรงหรือลงดอกเบี้ยในอีก 12 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้ทำให้เกิดภาวะ 2 ต่ำ ต่ำแรกคือการเติบโตต่ำ ต่ำสองคือดอกเบี้ยต่ำ
ภาวะ 2 ต่ำนี้มาจาก 5 สาเหตุหลัก 1. สหรัฐฯ น่าที่จะโตช้าลงเพราะตลาดแรงงานตึงมาก 2. จีนจะโตต่ำลงและยิ่งมีผลกระทบจากไข้หวัดโคโรน่าน่าที่จะทำให้เศรษฐกิจจีนโตต่ำลงและดอกเบี้ยก็ลดลงกว่าที่คาดตอนต้นปีอย่างมาก 3. กำแพงภาษีนำเข้ายังคงสูงแม้ว่ารอบแรกตกลงได้แล้วก็ตาม 4. โครงสร้างประชาการไม่เอื้อให้เศรษฐกิจโตอย่างรวดเร็ว ภาระค่าใช้จ่ายสำหรับเด็กและคนชราสูงขึ้นมากทำให้มีการออมและการลงทุนน้อยลง 5. กลุ่มประเทศที่มีศักยภาพทางการคลังยังคงไม่มีนโยบายที่จะใช้จ่ายให้มากขึ้น
การลงทุนในภาวะเช่นนี้ ทาง Kasikorn Private Banking ยังคงเน้นการลงทุน ในกองทุนหลัก (Core Portfolio) ที่มีการกระจายความเสี่ยงในทุกสินทรัพย์ และเพิ่มผลตอบแทนด้วยตัวทดแทนที่จะเพิ่มสัดส่วนหุ้นโดยตรง ดังเช่นกองทุนเปิดเค โกลบอล ริสก์ แอลโลเคชั่น ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (K-GLAM-UI) และในกองเสริมมีสามส่วน 1. เพิ่มกลยุทธ์การลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้จากความสามารถของผู้จัดการกองทุน ดังเช่น กองทุนเปิดเค มัลติ-สตราทีจี บอนด์ (K-MBOND) ที่เป็นการลงทุนทางเลือก เน้นลงทุนผ่านตราสารหนี้ และสกุลเงิน ผ่านการวิเคราะห์ปัจจัยมหภาค 2. การลงทุนในหุ้น ณ ขณะนี้ยังคงไม่แนะนำให้ถือในสัดส่วนที่สูงมาก และยังคงเน้นเพียงการเลือกหุ้นในจีน (A Share) ที่มีการควบคุมความเสี่ยง เช่น กอง K-CCTV และกองทุนที่มีความคล่องตัวในการปรับธีมระยะยาวการลงทุนเช่น K-Hit 3. ในส่วนของรายได้ยังคงเน้นการลงทุนใน K-Prop และตราสารหนี้เอกชนในเอเซียที่เป็นสกุลเงินสหรัฐฯ K-APB
นอกจากนี้ การกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ที่ไม่พึ่งพิงภาวะและการเคลื่อนไหวของตลาดรายวัน ซึ่งแลกมาด้วยสภาพคล่องที่น้อยลงเป็นการลงทุนที่น่าสนใจเพราะสภาพตลาดในปัจจุบันทั้งตราสารหนี้และตราสารทุนมีราคาแพง กองทุนเหล่านี้ได้แก่ 1.กองทุนตราสารหนี้ที่มีการถือจนครบกำหนด (Fixed Maturity Fund) 2.กองทุนหุ้นนอกตลาด (Private Equity Fund) 3.กองทุนอสังหาริมทรัพย์นอกตลาด (Private Real Estate Fund) เป็นต้น
ประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563