วันนี้สงครามการค้าจีนและสหรัฐฯ ยังคงเป็นจุดสนใจของนักลงทุนส่วนใหญ่ จากความหวังว่าจีนและสหรัฐฯ จะตกลงกันได้ในไตรมาสแรกถูกทำลายด้วยการส่งข้อความของ ปธน.ทรัมป์ ว่าจะขึ้นภาษีจาก 10% เป็น 25% ในส่วนของ 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ได้มีการผ่อนปรนไปก่อนหน้า และตามมาด้วยการประกาศห้ามบริษัทสหรัฐฯ ซื้อสินค้า Huawei ยิ่งสร้างความกังวล และความผันผวนกับตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นไปอีก
ความขัดแย้งของจีนและสหรัฐฯ คราวนี้อาจยืดเยื้อกว่าที่หลายคนคาด ดูเผินๆ คงเรียกได้ว่านี่เป็นสงครามการค้าที่มีทั้งเศรษฐกิจ หน้าตาของนักการเมือง และความเป็นชาตินิยมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ลึกไปกว่านั้นมันคือสงครามเพื่อชิงความเป็นเจ้าของเทคโนโลยี และแก่นแท้ของความขัดแย้งคือความแตกต่างของความคิดหรือคตินิยม (Ideology) ที่ด้านหนึ่ง มีรัฐฯ คอยช่วยเหลือบริษัทเอกชน (state-backed capitalist) อีกด้านคือการที่บริษัทเอกชนแข่งขันอย่างเสรี (Capitalist) ซึ่งผมว่าแก่นนี้คงไม่สามารถประนีประนอมง่ายๆ ดังนั้นความขัดแย้งนี้น่าจะกินเวลายาวกว่า 5 ปี คืออย่างน้อยผมคิดว่าคงพอๆ กับ เวลาที่ ปธน. ทรัมป์จะอยู่ในตำแหน่งถ้าได้รับเลือกต่ออีกหนึ่งครั้ง
การที่ความขัดแย้งยืดเยื้อ สิ่งที่จะตามมาในช่วงต้นคือความตกใจของตลาดทุนและความผันผวนที่สูงขึ้น แต่หากยังคงอยู่ต่อไปเรื่อยๆความขัดแย้งจะถูกรวมไปเป็นต้นทุนของการทำธุรกิจในที่สุด เช่นเดียวกับตลาดเกาหลีซึ่งมักจะมี P/E ต่ำกว่าที่อื่น เนื่องจากความเสี่ยงทางด้านทหารในคาบสมุทรเกาหลียังมีอย่างต่อเนื่องหลายสิบปี
ท่ามกลางความผันผวนย่อมมีโอกาสสำหรับนักลงทุนเสมอ เพราะตลาดหุ้นมักจะเทขายหุ้นที่ดีและไม่ดีออกมาพร้อมๆ กันเพราะความกลัว มองไปอีก 10 ปีข้างหน้า แรงซื้อจากผู้บริโภคจีนจะเป็นคนกำหนด การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก การที่ตลาดทุนผันผวนจากความขัดแย้งนี้ คงจะสามารถเปลี่ยน Mega Theme นี้ได้ ในระยะสั้นทางการจีนคงจะกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อลดผลกระทบจากความขัดแย้งในแต่ละครั้ง ดังนั้นโอกาสความขัดแย้งที่พุ่งเป้าไปที่กลุ่มส่งออก และการเทขายหุ้นทั้งกระดาน จะทำให้เกิดโอกาสในการลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคในจีน
KBank Private Banking ได้เล็งเห็นโอกาสที่จะเข้าไปลงทุนในตลาดจีนท่ามกลางความผันผวนที่เกิดขึ้น และทาง บลจ. กสิกรไทยได้มีกองทุนที่มีกลยุทธ์การลงทุนเหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าวอีกทั้งมีกลไกบริหารจัดการความเสี่ยงคือ K-CCTV ที่เน้นคัดสรรลงทุนในหุ้นเป็นรายตัว (Stocks selection) พร้อมทั้งมีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่สามารถปรับสัดส่วนการลงทุนในหุ้นได้ตามสถานการณ์ โดยใช้ความผันผวนจากตลาดเป็นตัวชี้วัด ช่วยลดความเสี่ยงของกองทุนในช่วงตลาดขาลงได้ ถือเป็นโอกาสดีที่จะทยอยเข้าไปลงทุนอย่างช้าๆ เมื่อตลาดมีการปรับตัวลงจากข่าวต่าง ๆ ที่มากระทบตลาด แต่ไม่ได้กระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของกลุ่มธุรกิจที่อิงกับปัจจัยภายในประเทศ
ประจำวันที่ 24 พฤษภาคม 2562