เปิดกลยุทธ์รับมือปรากฏการณ์ “Sell in May and Go Away 2022” โอกาสทำกำไรของนักลงทุน
Sell in May and Go Away คืออะไร?
Sell in May and Go Away ประโยคทางจิตวิทยา “นักลงทุนมักจะเทขายหุ้นในเดือนพฤษภาคม จริงหรือ?” ความเชื่อนี้เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ และ สหรัฐฯ โดยเชื่อว่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม นักลงทุนจะพากันเทขายหุ้น และ จะกลับมาซื้อใหม่เมื่อเข้าสู่เดือนพฤศจิกายน โดยมีหลากหลายเหตุผล เช่น
- ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ผู้คนต่างใช้วันหยุดยาวฤดูร้อนเพื่อท่องเที่ยวและพักผ่อน ทำให้ตลาดหุ้นมีปริมาณซื้อขายน้อย นักลงทุนบางคนจึงเลือกขายทำกำไรก่อนวันหยุด
- เป็นช่วงหลังประกาศผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไตรมาส 1 และเป็นฤดูกาลจ่ายเงินปันผล ราคาหุ้นมักดีดตัวขึ้นสูง นักลงทุนบางส่วนที่เก็งกำไรระยะสั้นจะเทขายทำกำไรจากส่วนต่างดังกล่าว
จะเห็นได้ว่าเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนไม่ค่อยดี หากดูสถิติย้อนหลัง 30 ปี ตั้งแต่ปี 1992 - 2021 บ่งชี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ S&P500 ในช่วงเดือนดังกล่าว ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 2.43% ซึ่งน้อยกว่าช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนเมษายนที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 6.23%
แต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีนัยสำคัญแบบนั้นแล้ว ถ้าเราพิจารณาระยะสั้นย้อนหลังไป 5 ปี ตั้งแต่ปี 2017 - 2021 พบว่าเกิดขึ้นปีเว้นปีเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามปีนี้จะไม่เหมือนปีที่ผ่านมาในช่วงใกล้ ๆ เพราะ เรามองว่าปีนี้เกิดเหตุการณ์ Sell in May and Go Away อย่างแน่นอน

Sell in May and Go Away 2022 จะมีทิศทางอย่างไร
ไม่ใช่ทุกปีที่จะเกิด Sell in May and Go Away ขึ้น โดยการจะเกิดนั้นจะขึ้นอยู่กับบริบทและสถานการณ์ต่าง ๆ ในปีนั้น ๆ โดยในปีนี้ความผันผวนเริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี ได้แก่
- ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงอย่างหนักโดยเฉพาะเดือนมีนาคมที่มีปัจจัยความยืดเยื้อจากสงครามเข้ามากดดัน
- เงินเฟ้อมีระดับที่รุนแรงมากขึ้น จนธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ต้องส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด และ ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
- Fed มีแผนเริ่มลดขนาดงบดุล 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ / เดือน และ การขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งในบางครั้งอาจจะขึ้นถึง 0.5% ส่งผลให้ทั้งตลาดตราสารหนี้ และ ตลาดทุนปรับราคาลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี
ตราสารหนี้ระยะสั้น และ ระยะยาวต่างถูกเทขายอย่างหนักจากนักลงทุน ซึ่งเป็นการสะท้อนแนวทางของ Fed ที่ต้องการจะควบคุมสภาพคล่องในตลาดรวมถึงการที่ Fed ยังจะลดขนาดงบดุลอีกในเร็ว ๆ นี้
การเร่งมาตรการเป็นไปเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ส่งผลให้ผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ เคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ไม่ปกติ โดยผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้น ปรับขึ้นในสัดส่วนที่มากกว่า ผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาว
ซึ่งรูปแบบดังกล่าวเป็นลักษณะของ Inverted Yield Curve ที่แสดงถึงต้นทุนทางการเงินมีแนวโน้มปรับตัวพุ่งสูงตามนโยบายของ Fed ทั้ง ๆ ที่ระยะยาวแล้วทิศทางเศรษฐกิจก็ยังไม่แน่นอน ส่งผลให้นักลงทุนอาจขาดความมั่นใจในการลงทุน
- ตราสารหนี้ระยะสั้น เป็นตัวสะท้อนนโยบายของ Fed
- ตราสารหนี้ระยะยาว เป็นตัวสะท้อนทิศทางเศรษฐกิจในระยะยาว
|
ปัจจัยผลักให้เกิด Sell in May and Go Away 2022
ความไม่มั่นใจของนักลงทุน ส่งผลให้การเทขายสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นทั่วโลกในปีนี้เกิดขึ้นเร็วกว่าปกติและต่อเนื่อง โดยสาเหตุหลักที่ทำให้นักลงทุนทยอยลดสินทรัพย์เสี่ยง คือ
- วิกฤตเงินเฟ้อพุ่งสูงจากปัญหาอุปสงค์คอขวด หลังผู้คนใช้ชีวิตกับ COVID-19 ประกอบกับสงครามรัสเซียและยูเครน
- ความจำเป็นของธนาคารกลางในการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดหรือการขึ้นดอกเบี้ยของฝั่งสหรัฐฯ และ หลาย ๆ ประเทศเริ่มที่จะขึ้นดอกเบี้ยตาม ทั้งนี้ก็เพื่อสกัดความร้อนแรงของเงินเฟ้อที่อาจลากยาว
- คาดการณ์กำไร และ การเติบโตทางเศรษฐกิจค่อย ๆ ทยอยปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนปัจจัยลบที่เข้ามากดดันเศรษฐกิจโลก
เหตุผลที่กล่าวมา สร้างความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นและบั่นทอนบรรยากาศการลงทุน จึงเป็นไปได้สูงที่ปีนี้จะเกิด Sell in May และ จะอยู่ยาวนานกว่าปีอื่น ๆ กล่าวคือ อาจถึงเวลาอันควรที่จะเกิดการขายทำกำไร
กลยุทธ์การลงทุนท่ามกลาง Sell in May and Go Away 2022
สำหรับนักลงทุนที่มีสินทรัพย์ในพอร์ต ให้ตรวจสอบพอร์ตการลงทุนว่าสินทรัพย์ที่ถือครองยังสามารถไปต่อได้หรือไม่ หากตรวจสอบแล้วคาดว่ายังสามารถไปต่อได้ มีโอกาสเติบโตต่อได้ในอนาคต ให้ถือข้ามผ่านความผันผวนไป
นักลงทุนต้องการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในพอร์ต หากตลาดหุ้นปรับตัวลดลงก็ถือได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีในการเพิ่มสัดส่วน เพราะ ในระยะยาวแล้วการลงทุนในหุ้นก็ยังให้ผลตอบแทนที่สูงอยู่นั่นเอง
ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ การหาโอกาสให้เจอ อย่างไรก็ตามการลงทุนในปีนี้ไม่ง่ายเหมือนปีที่ผ่าน ๆ มา โดยเฉพาะการขายออกและเข้าซื้อในราคาที่ถูกกว่าอาจทำได้ยากขึ้น ฉะนั้นตอนนี้นักลงทุนควรมีการแบ่งเงินลงทุน และ กำหนดสัดส่วนให้เหมาะสม โดยเงินลงทุนในหุ้นควรเป็นส่วนที่แบ่งมาแล้วและสามารถลงทุนได้มากกว่า 3 – 5 ปีขึ้นไป
K-Expert วันวิสาข์ อรุมชูตี AFPT™
ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า
กองทุนแนะนำที่เกี่ยวข้อง
K-CHANGE-A(A)
กองทุนเปิดเค พอสซิทีฟ เชนจ์ หุ้นทุน-A ชนิดสะสมมูลค่า
อ่านรายละเอียดกองทุน
| ซื้อกองทุนง่าย ๆ ผ่าน KPLUS
|

|
|
ทำไมต้องเค พอสซิทีฟ เชนจ์ หุ้นทุน-A ชนิดสะสมมูลค่า
- Sell in May และอีกหลายๆ ปัจจัยที่รุมเร้าทำให้เกิดความผันผวนในตลาดลงทุน ทั้งสงครามรัสเซียกับยูเครน ภาวะเงินเฟ้อ และนโยบายการเงินที่เข้มงวดของสหรัฐฯ เป็นโอกาสในการทยอยลงทุนเพิ่มในหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตตามการเปลี่ยนแปลงของโลกและสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ผลกระทบทางบวกผ่าน 4 ธีมการลงทุนคือ
- ความครอบคลุมทางสังคมและโอกาสทางการศึกษา
- ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
- การดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิต
- การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
- ผู้จัดการกองทุนหลักมองว่าสถานการณ์ความผันผวนไม่มีผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจในระยะยาว เนื่องจากบริษัทเหล่านี้เป็นผู้นำตลาดและสามารถปรับราคาสินค้าขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจได้
เหมาะสำหรับใคร
- ผู้ที่คาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นของบริษัททั่วโลกที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือมีพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบเชิงบวก(Positive Impact) ต่อสังคมโดยรวม
- ผู้ที่รับความผันผวนของราคาหุ้นที่อาจปรับตัวสูงขึ้นหรือลดลงจนทำให้ขาดทุนได้
- ผู้ลงทุนที่สามารถลงทุนในระยะยาวตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป
- ผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้