HIGHLIGHT
-
การคว่ำบาตรรัฐเซีย ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนพลังงาน, ปัญหาคอขวดห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อ จนทำให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ต้องยุติการทำ QE และ ปรับอัตราขึ้นดอกเบี้ย
-
ธนาคารกลางยุโรปออก Transmission Protection Instrument (TPI) เพื่อชะลอการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร และ ลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก
-
ยุโรปยังคงต้องเผชิญกับหลายปัจจัยลบ ทำให้ธนาคารกลางยุโรปได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ในปีนี้ลดเหลือเพียง 2.6% ซึ่งเป็นที่น่ากังวลว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของยุโรปจะเข้าสู่สภาวะถดถอย
|
ตั้งแต่ก้าวเข้าสู่ปี 2022 มา คำว่า “เงินเฟ้อ” ดูจะไม่เคยหายไป และ กลายเป็นปัญหาหลักที่หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกต้องเผชิญโดยเฉพาะ 27 ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union – EU) ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจยุโรปยังไม่ฟื้นตัวดีนักจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 อีกทั้งยังได้รับผลกระทบหนักจากสงครามระหว่างรัสเซีย - ยูเครน ที่ยังคงกินเวลาต่อเนื่องนานมากขึ้น
คว่ำบาตรรัสเซีย กระทบเศรษฐกิจวงกว้าง
จากสงครามรัสเซีย – ยูเครนในครั้งนี้ ทางสหภาพยุโรปได้พยายามออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อคว่ำบาตรรัสเซีย ไม่ว่าจะเป็นการยุติการนำเข้าน้ำมัน หรือ ลดปริมาณการนำเข้าก๊าซธรรมชาติลง เป็นต้น
มาตรการเหล่านี้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อเศรษฐกิจ ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนพลังงาน และ ปัญหาคอขวดห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ต้องยุติการทำ QE และ ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี เมื่อกรกฎาคมที่ผ่านมา
ผลจากการปรับดอกเบี้ยในครั้งนี้ ทำให้เกิดการเร่งตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของหลาย ๆ ประเทศในยุโรป โดยเฉพาะประเทศที่มีสัดส่วนหนี้สูงอย่างอิตาลี จึงทำให้ธนาคารกลางยุโรปต้องออกเครื่องมือเพื่อช่วยชะลอการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร และ ลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอย่าง Transmission Protection Instrument (TPI) ที่ทำให้ธนาคารกลางยุโรปสามารถเข้าซื้อพันธบัตรจากประเทศที่มีหนี้สินจำนวนมากได้นั่นเอง
TPI คือ กลไกที่จะช่วยสร้างสภาพคล่องให้ตลาดพันธบัตรดำเนินต่อไปได้ โดยทำให้สามารถเข้าซื้อพันธบัตรได้ทั้งภาครัฐ และ เอกชน โดยไม่จำกัดช่วงอายุ หรือ จำนวนของพันธบัตร อีกทั้งยังสามารถซื้อพันธบัตรที่ความเสี่ยงต่ำกว่า Investment Grade ได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวเข้าสู่สมดุล
|
ตารางที่ 1 อัตราเงินเฟ้อของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป
ตารางที่ 2 ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป
ที่มา : Bloomberg 9 สิงหาคม 2022
หวั่นประเทศสมาชิกถอนตัวซ้ำรอยจากความแตกต่างทางเศรษฐกิจ
ความแตกต่างกันอย่างมากของเศรษฐกิจ ทั้งการฟื้นตัว ระดับเงินเฟ้อ หรือ หนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรป ทำให้เป็นความยากต่อการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางยุโรป
นอกจากนี้การนี้การที่ EU เข้าอุ้มเศรษฐกิจของประเทศที่มีสภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ทำให้เกิดรอยร้าวระหว่างประเทศสมาชิก และ อาจนำไปสู่การขอถอนตัวออกจาก EU ของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจแข็งแกร่งกว่า ดั่งเช่นกรณีที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2020 ที่สหราชอาณาจักร (Brexit) ถอนตัวออกจาก EU
ปัจจัยลบต่อเนื่อง กระทบเศรษฐกิจยุโรปเข้าสู่ภาวะถดถอย
แม้ทวีปยุโรปจะยังมีตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง มีนโยบายการคลังที่เป็นแรงหนุน รวมไปถึงการเปิดเมืองที่ส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว แต่ยุโรปยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยลบอย่างราคาอาหาร และ พลังงานซึ่งส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อ
ทั้งยังมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนพลังงาน และ การอ่อนค่าของเงินยูโรที่ยังน่าเป็นห่วง ทำให้ธนาคารกลางยุโรปได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ในปีนี้ลดเหลือเพียง 2.6% จึงเป็นที่น่ากังวลว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของยุโรปนั้นจะเข้าสู่สภาวะถดถอย
ดังนั้นคำแนะนำในการลงทุนท่ามกลางวิกฤตนี้ ยังคงเป็นการกระจายลงทุนในหลาย ๆ สินทรัพย์เพื่อป้องกันความเสี่ยง และ เน้นการลงทุนในระยะยาว มีความอดทนในการถือครองเพื่อก้าวข้ามผ่านวิกฤต และ รับผลตอบแทนในอนาคตนั่นเอง
K-Expert วรสุดา ใช้เทียมวงศ์ AFPT™
ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า
กองทุนแนะนำที่เกี่ยวข้อง
K-GINCOME
อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน KPLUS
K-GINCOME-A(A)
|
|
K-GINCOME-A(R)
|
|
K-GINCOME-SSF
|
|
ทำไมต้อง K-GINCOME?
-
กองทุนเน้นการกระจายลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลกกว่า 3,000 สินทรัพย์
-
เน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีการจ่ายรายได้สม่ำเสมอ
-
มีกลยุทธ์การลงทุนกว่า 550 กลยุทธ์ และมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละประเภทสินทรัพย์กว่า 50 คนทำหน้าที่มุ่งหาโอกาสลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างรายรับอย่างสม่ำเสมอ
เหมาะกับใคร?
-
ผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงและไม่มีเวลาปรับพอร์ตด้วยตนเอง
-
ผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์ลงทุนหุ้นต่างประเทศ สามารถรับความเสี่ยงได้
-
ผู้ลงทุนที่สามารถลงทุนระยะยาวได้มากกว่า 5 ปีขึ้นไป
-
ผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม
-
ปัญหาเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวในระดับสูง ซึ่งจะส่งผลกับการดำเนินนโยบายทางการเงินและการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลักทั่วโลก
ที่มา :