Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​​​ ก้าวเข้าสู่การลงทุนในเดือนสุดท้ายของปี 2022 ซึ่งภาพรวมการลงทุนที่ผ่านมาเป็นไปอย่างยากลำบาก ในเกือบทุกสินทรัพย์ แม้นักลงทุนจะบริหารความเสี่ยงด้วยการกระจายการลงทุน รวมไปถึงลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นก็ยังเห็นผลตอบแทนที่ติดลบ เห็นจะมีเพียงสินทรัพย์ประเภทน้ำมัน และ เงินสดเท่านั้นที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก



        แม้ในช่วงปลายปี 2021 เศรษฐกิจโลกมีทิศทางที่ดีขึ้น จนสามารถคาดการณ์ว่าในปี 2022 นี้เศรษฐกิจทั่วโลกจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ แต่ในระหว่างปีที่ผ่านมากลับมีเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลต่อทิศทางเศรษฐกิจโลกเกิดขึ้น ได้แก่

    • ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย และ ยูเครน : ปัจจุบันยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดลง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของมรสุมในระบบเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในลำดับต่อ ๆ มา
    • ราคาพลังงานโลกพุ่งสูงขึ้น : เกิดจากการคว่ำบาตรรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันเป็นอันดับ 2 ของโลก นอกจากนี้ยังเกิดผลกระทบให้เกิดวิกฤติเงินเฟ้อขึ้นทั่วโลกตามมาอีกด้วย
    • ปัญหาภายในของประเทศจีน : เกิดจากมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐฯ ทั้ง Common Prosperity ที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี และ อสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนมาตรการโควิดเป็นศูนย์ที่มีการล็อคดาวน์เมืองสำคัญต่าง ๆ จนกระทบกับห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก
    • ปัญหาเงินเฟ้อกระทบตลาดเงินตลาดทุน : จากการที่ภาครัฐในหลาย ๆ ประเทศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อจัดการปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้เกิดการกดดันต้นทุนทางการเงินของธุรกิจ ค่าครองชีพภายในประเทศที่สูงขึ้น และ การลงทุนลดลงถือครองเงินสดมากขึ้น


ปี 2023 เอเชียฟื้นตัว ขึ้นแท่นดาวเด่นน่าลงทุน

แม้ต้นปีหน้าทิศทางของดอกเบี้ย เงินเฟ้อจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง อีกทั้งยังมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ และ ยุโรปจะเข้าสู่สภาวะถดถอย แต่ปัจจัยต่าง ๆ ได้สะท้อนไปในราคาหุ้นก่อนหน้านี้ และ คาดว่าในปี 2023 ราคาหุ้นจะไม่ลงลึกเหมือนช่วงที่ผ่านมา



อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นในเอเชียน่าจะสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่ส่วนใหญ่ประเทศในอเชียมีการผลิตอาหาร และ สินค้าทางการเกษตรได้เอง จึงพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศน้อย ทำให้ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อ และ ดอกเบี้ยไม่รุนแรงเท่าสหรัฐฯ หรือ ยุโรป นอกจากนั้นยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ทำให้เศรษฐกิจมีทิศทางที่ฟื้นตัวมากขึ้น

อัตราเงินเฟ้อไทย

ที่มา : CEIC และ ฝ่ายงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2022

ในส่วนของสถานการณ์เงินเฟ้อประเทศไทยคาดว่าผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในช่วงสิงหาคมที่ผ่านมา และ มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องจากการที่ราคาน้ำมันที่เริ่มทรงตัว ทำให้ไม่จำเป็นต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับการท่องเที่ยวที่เริ่มดีขึ้นจึงคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2023 มีแนวโน้มสดใสขึ้น โดยคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวปีหน้าไว้ที่ 20 ล้านคน 

คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED

ที่มา : Bloomberg ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2022

ดังนั้นในปี 2023 หากไม่มีเหตุการณ์พลิกผันจากความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์เพิ่มเติมก็อาจเป็นปีที่
    • ตลาดหุ้นโลกจะทำจุดต่ำสุดจากการสิ้นสุดการขึ้นดอกเบี้ยของ FED
    • จุดเริ่มต้นของการฟื้นตัวจากมรสุมที่ผ่านมา
    • FED ส่งสัญญานลดดอกเบี้ยเพื่อกลับมากระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง
    • โอกาสในการลงทุนครั้งใหญ่ โดยแนะนำนักลงทุนค่อยๆ ทยอยแบ่งเงินเพื่อลงทุนในตลาดหุ้น

K-Expert วรสุดา ใช้เทียมวงศ์ CFP®
ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า


กองทุนแนะนำที่เกี่ยวข้อง
สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้น้อย
แนะนำลงทุนในกองทุนตราสารหนี้คุณภาพดีในประเทศ

    • กองทุนเน้นลงทุนในตราสารหนี้ไทย ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูง
    • สามารถใช้เป็นกองทุนพักเงินและรอจังหวะสับเปลี่ยนเป็นกองทุนหุ้นอื่น ๆ ในอนาคต

K-SF
​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน KPLUS


K-SF-SSF
​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน KPLUS


K-SF-RMF
​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน KPLUS




สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง
แนะนำทยอยสะสม กองทุนผสม

    • กองทุนเน้นการกระจายลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลกกว่า 3,000 สินทรัพย์
    • เน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีการจ่ายรายได้สม่ำเสมอ
    • มีกลยุทธ์การลงทุนกว่า 550 กลยุทธ์ และมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละประเภทสินทรัพย์กว่า 50 คนทำหน้าที่มุ่งหาโอกาสลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างรายรับอย่างสม่ำเสมอ 
    • สามารถถือเป็นพอร์ตหลักได้

K-GINCOME-A(R)
​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน KPLUS


K-GINCOME-A(A)
​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน KPLUS


K-GINCOME-SSF
​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน KPLUS


​KGINCOMERMF
​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน KPLUS



สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง
แนะนำทยอยสะสม กองทุนหุ้นที่มีปัจจัยสนับสนุนเฉพาะตัว

    • ภาพรวมเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากการเปิดประเทศ
    • การปรับขึ้นดอกเบี้ยส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป

K-STAR-A(R)
​​​​​​​​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน KPLUS


K-STAR-A(A)
​​​​​​​​​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน KPLUS


K-STAR-SSF
​​​​​​​​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน KPLUS


KSTARRMF
​​​​​​​​อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน KPLUS




กลับ