Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​​​​​​ ปัญหาเงินเฟ้อในช่วงปีที่ผ่านมา ได้ทำธนาคารกลางหลายประเทศจำเป็นต้องใช้นโยบายทางการเงินที่ตึงตัวเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น นำโดยสหรัฐฯ ที่มีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง จากอัตราดอกเบี้ย 0.25% เมื่อต้นปี 2022 มาสู่ระดับ 4.75% เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ได้มีการปรับดอกเบี้ยนโยบายจาก 0.50% สู่ระดับ 1.50% (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม 2023) ซึ่งทำให้การลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง ไม่เว้นแม้แต่สินทรัพย์ที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่ามีความเสี่ยงต่ำและปลอดภัยอย่างตราสารหนี้ จนเกิดเป็นภาพของผลตอบแทนติดลบนั่นเอง



สัญญาณการยุติของดอกเบี้ยขาขึ้น

แม้ว่าตัวเลขเงินเฟ้อในปัจจุบันยังคงอยู่ในระดับสูง แต่จากแนวโน้มที่มีการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง เป็นการส่งสัญญาณว่าปัญหาเงินเฟ้อที่ยืดเยื้อมาเป็นระยะเวลานาน น่าจะผ่านจุดสูงสุดของวัฏจักรเศรษฐกิจในรอบนี้แล้ว แต่ก็ยังคงมาพร้อมกับความกังวลเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และ ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นที่จะเข้าสู่ถาวะถดถอย 

รูปที่ 1 Implied Policy Rate Curve และ ระดับการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ย

ที่มา : Bloomberg วันที่ 09/02/2023

จากข้อมูลของบลูมเบิร์กโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในอนาคต (Implied Policy Rate Curve) ได้สะท้อนถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายใน 6 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ประมาณ 5.1% ก่อนที่จะมีโนวโน้มการปรับลดลงในระยะถัดไป (ข้อมูล ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2023) แสดงให้เห็นว่าตลาดได้มีการคาดการณ์ต่อวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นนี้เป็นจุดสูงสุดและน่าจะยุติลงในช่วงกลางปี



จับจังหวะลงทุน ตามวัฏจักรเศ​รษฐกิจ

จากแนวโน้มภาพรวมของเศรษฐกิจที่มีทิศทางถดถอยลงอย่างเห็นได้ชัด การจัดสรรเงินทุนที่เหมาะสมตามวัฏจักรเศรษฐกิจจึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยให้นักลงทุนสามารถยืนอยู่ได้ท่ามกลางความผันผวนของตลาดการลงทุน
​วัฏจักรเศรษฐกิจ : ประกอบด้วย 4 ระยะ โดยเริ่มจาก 1. ระยะฟื้นตัว 2. ระยะเฟื่องฟู 3. ระยะถดถอย และ 4. ระยะตกต่ำ 

ในปัจจุบันภาพเศรษฐกิจที่ชะลอการขยายตัว เรียกได้ว่าใกล้เคียงกับระยะถดถอย และ กำลังจะเข้าสู่ระยะตกต่ำตามวัฏจักรทางเศรษฐกิจ แต่ด้วยการจัดการของประเทศต่าง ๆ จะสามารถทำให้การเข้าสู่ระยะตกต่ำนี้ได้อย่างนุ่มนวล (Soft Landing) และ ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลว่าจะเป็นภาวะวิกฤตทางการเงินแต่อย่างใด โดยทางออกสำหรับนักลงทุนเราได้แบ่งออกเป็น 2 ทาง คือ 1. การลงทุนในตราสารหนี้ และ 2. การกลับมาลงทุนในหุ้น



สร้างความมั่นคงและปลอดภัย ด้วยสินทรัพย์ตราสารหนี้

ตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงระดับปานกลาง ค่อนไปทางต่ำ อีกทั้งยังได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ในตอนนี้ นอกจากนี้หากดอกเบี้ยเริ่มปรับตัวลดลงเพื่อลดแรงกดดันต้นทุนทางการเงิน และ กระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงถดถอย จะทำให้ราคาของตราสารหนี้มีโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลดีต่อผู้ลงทุนในระยะยาว 

อย่างไรก็ตามควรเลือกลงทุนในตราสารหนี้ที่มีเรตติ้งความน่าเชื่อถือดี เพื่อลดความเสี่ยงการล้มละลายของบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ และ ควรเลือกลงทุนกับตราสารหนี้ระยะยาว เนื่องจากจะได้รับผลประโยชน์จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากกว่าตราสารหนี้ระยะสั้นนั้นเอง



หุ้น...การลงทุนยอดนิยม เมื่อนโยบายเริ่มผ่อนคลาย

เมื่อนโยบายทางการเงินมีแนวโน้มที่จะลดความตึงตัวลง ทำให้การลงทุนในหุ้น ซึ่งเป็นการลงทุนยอดนิยมของใครหลาย ๆ คนกลับมาเป็นที่น่าสนใจอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตามตัวเลขเศรษฐกิจด้านการผลิตและการบริโภคของสหรัฐฯ และ สหภาพยุโรปที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว ทำให้เกิดความกังวลด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ ยังคงมีเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูงกดดันต่อต้นทางการเงินของบริษัทจดทะเบียน รวมไปถึงลดการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค

จากปัจจัยข้างต้นทำให้นักวิเคราะห์คาดการณ์กำไรต่อหุ้นในปีนี้ยังคงลดลง และ มีความเสี่ยงหากอัตราเงินเฟ้อไม่ปรับตัวลดลงตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ จึงทำให้นักลงทุนที่คาดหวังการลงทุนในหุ้นควรคำนึง ดังนี้
    • ควรรอความชัดเจนของสถานการณ์ 
    • ควรเน้นไปที่หุ้นกลุ่มที่มีความมั่นคง สามารถสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ 
    • ลงทุนควบคู่กับหลักการกระจายความเสี่ยง 
    • ตั้งเป้าหมายการลงทุนอย่างน้อย 3 – 5 ปี

ด้วยหลักการนี้จะช่วยลดความผันผวนจากปัจจัยระยะสั้นที่อาจเข้ามากระทบ และ สามารถเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อช่วยเสริมพอร์ตการลงทุนให้เติบโตผ่านไปได้ในทุก ๆ วิกฤต

บทความโดย
K WEALTH TRAINER นิติ สนิวาล AFPTTM

กองทุนแนะนำที่เกี่ยวข้อง
สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ

​​

K-CBOND-A

อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนผ่าน KPLUS



​นโยบายการลงทุน
    • เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน/รัฐวิสาหกิจ
    • กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน  (Efficient Portfolio Management)

เหมาะสำหรับใคร ?
    • คาดหวังผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก
    • ต้องการสภาพคล่องในการซื้อขาย ได้รับเงินค่าขายคืนภายในวันที่ T+2
    • สามารถลงทุนได้ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป



สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง

K-GINCOME-A-(R)

อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนผ่า​น KPLUS




K-GINCOME-A-(A)

อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนผ่าน KPLUS



ทำไมต้อง K-GINCOME ?
    • กองทุนเน้นกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลกกว่า 3,000 สินทรัพย์
    • เน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีการจ่ายรายได้สม่ำเสมอ
    • มีกลยุทธ์การลงทุนกว่า 550 กลยุทธ์และมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสินทรัพย์กว่า 50 คน ทำหน้าที่มุ่งหาโอกาสลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างรายรับสม่ำเสมอ

เหมาะกับใคร ?
    • ผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงและไม่มีเวลาปรับพอร์ตด้วยตนเอง
    • ผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์ลงทุนหุ้นต่างประเทศ สามารถรับความเสี่ยงได้
    • ผู้ลงทุนที่สามารถลงทุนระยะยาวได้มากกว่า 5 ปีขึ้นไป
    • ผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้

หมายเหตุ :
โปรโมชั่นพิเศษในระหว่างวันที่ 26 ม.ค. – 31 มี.ค. 66
เมื่อลงทุนใน K-GINCOME-A(R), K-GINCOME-A(A), K-PLAN2 และ K-PLAN3 ผ่านทุกช่องทางของกสิกรไทย
ทุก 100,000 บาท จะได้รับหน่วยลงทุน K-GINCOME-A(A) 200 บาท (สูงสุด 1,000 บาท)
พร้อมได้รับส่วนลดค่าธรรมเนียมการซื้อ (Front-end Fee) เฉพาะ K-GINCOME-A(R) และ K-GINCOME-A(A)
    • เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด 
    • สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ KAsset Contact Center 02-6733888 
    • ศึกษาเองที่เว็บไซต์ www.kasikornasset.com​ 





กลับ