สภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้ธุรกิจมีความซับซ้อน บางธุรกิจถือเป็นโอกาสทอง บางธุรกิจปรับตัวไม่ทันก็ล้มหาย การมีรายได้เข้ามาหลายทางไม่ว่าอาชีพใดก็ย่อมดีกว่าการไหลเข้าของเงินเพียงทางเดียว
อยากเพิ่มช่องทางรายได้เริ่มอย่างไร
การเพิ่มช่องทางรายได้อาจมาจากการมองเห็นโอกาสในธุรกิจใหม่ๆ งานอดิเรก ความชอบส่วนตัว รายได้ทางที่ 2,3,4 ส่วนใหญ่จึงมาจากทักษะที่มีเป็นหลัก ข้อดี คือ ได้ประสบการณ์ที่หลากหลาย ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ได้ทำในสิ่งที่ชอบและอาจค้นพบตนเองเพิ่มเติม แถมได้เงินเข้ามาเพิ่มด้วย
บางท่านอาจสร้างรายได้ด้วยวิธีสร้าง Passive income ที่เกิดจากการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือเกิดจากการสร้างสินทรัพย์ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ เช่น
- รายได้ค่าเช่า จากการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อปล่อยเช่า
- รายได้เงินปันผล จากการลงทุนในทรัพย์สินทางการเงิน เช่น หุ้น กองทุน
- รายได้ดอกเบี้ย จากการลงทุนในพันธบัตร เงินฝาก
- รายได้ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิบัตร จากทรัพย์สินทางปัญญา
วิธีสร้างรายได้จึงมีอยู่มากมาย ขึ้นอยู่กับความถนัดและความสนใจของเรา ขณะที่หลายๆท่านอาจทำงานหลักจนไม่สามารถจัดสรรเวลามาบริหารงานที่ 2,3,4 ได้ การศึกษาวิธีสร้างรายได้จาก Passive income และเลือกตามความเหมาะสมกับตนเองจึงน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
สรุปวิธีสร้างรายได้ Passive income
ผ่านผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่นิยม
การลงทุนในพันธบัตร ตราสารหนี้ หรือ หุ้นกู้
การลงทุนในพันธบัตร ตราสารหนี้ หรือ หุ้นกู้ จะให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย อาจได้รับเป็นรายเดือนหรือรายปี
ตัวอย่าง ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี มูลค่าหน้าตั๋ว 10,000,000 บาท จะได้ดอกเบี้ยปีละ 200,000 บาท หรือเดือนละ 16,666.67บาท
การลงทุนในกองทุนรวม
เป็นวิธีที่สะดวกช่วยให้เราสามารถกระจายความเสี่ยงและลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ได้ง่ายขึ้นด้วยนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย โดยจัดกลุ่มใน 8 ประเภท มีผู้จัดการกองทุนที่มีความเป็นมืออาชีพคอยบริหารกองทุนให้
ตัวอย่าง ลงทุนในกองทุนรวมที่มีนโยบายจ่ายปันผล และมีประวัติการจ่ายปันผลย้อนหลังเฉลี่ย 4% ต่อปี มูลค่าการลงทุน 10,000,000 บาท จะได้ผลตอบแทนปีละ 400,000 บาท หรือเดือนละ 33,333.33 บาท
การลงทุนในหุ้น
ผลตอบแทนจะอยู่ในรูปแบบของเงินปันผล อัตราปันผลโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 2 - 5% ต่อปี
ตัวอย่าง ลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีอัตราปันผล 5% ต่อปี มูลค่าการลงทุน 10,000,000 บาท จะได้เงินปันผลปีละ 500,000 บาท หรือเดือนละ 41,666.67 บาท
การซื้อประกันสะสมทรัพย์ หรือ ประกันบำนาญ
เป็นอีกทางเลือกในการสร้าง Passive Income ที่น่าสนใจ เนื่องจากมีการจ่ายผลประโยชน์ที่แน่นอนตามสัญญาที่ระบุไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ ทำให้ผู้เอาประกันสามารถวางแผนการเงินได้ค่อนข้างแน่นอนกว่าการลงทุนรูปแบบอื่น ๆ และ ยังได้ความคุ้มครองชีวิตอีกด้วย
การลงทุนผ่านผลิตภัณฑ์ทางการเงินจำเป็นต้องศึกษาข้อมูล เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงให้ดีก่อนการตัดสินใจลงทุน
|
กลยุทธ์การลงทุนตามวัฏจักรเศรษฐกิจ
สภาพแวดล้อมเศรษฐกิจแม้เปลี่ยนแปลงไปแต่ยังคงหมุนเวียนตามวัฏจักร อุตสาหกรรมที่อยู่รอดในภาวะเศรษฐกิจเหล่านั้นจากอดีตที่ผ่านมายังคงเหมือนเดิม จึงยังใช้เป็นกลยุทธ์ปรับการลงทุนให้เหมาะสมกับภาวะนั้น ๆ ได้ วัฏจักรเศรษฐกิจจึงสามารถใช้พิจารณาการตัดสินใจลงทุนที่แตกต่างกันในแต่ละช่วง
Reflation Stage : จะเกิดขึ้นในช่วงหลังจากที่ช่วงก่อนหน้าเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย เหตุการณ์ที่ผิดปกติ หรือเป็นวิกฤตร้ายแรง เช่น วิกฤตโควิด ทำให้คนยังไม่กล้าใช้เงิน เพราะยังมีความกังวลกับเศรษฐกิจ ธนาคารกลางต่าง ๆ มักใช้นโยบายลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลง เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว
สินทรัพย์ที่เหมาะกับวัฏจักรนี้ คือ ทองคำ เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย มีมูลค่าสูงและมีความต้องการจากผู้คนอยู่ตลอดเวลา และ ตราสารหนี้ ที่นอกจากจะมีความปลอดภัยแล้ว ยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ย เพราะการที่อัตราดอกเบี้ยลดลงจะทำให้ราคาของตราสารหนี้มีโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น (ราคาตราสารหนี้จะวิ่งสวนทางกับอัตราดอกเบี้ย) เน้นเลือกลงทุนในกองตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ยยาวขึ้น เช่น K-FIXEDPLUS-A , K-GB-A หรือ เลือกลงทุนตราสารหนี้ที่เหมาะสมตามระยะเวลาที่ถือลงทุนได้
Recovery Stage : เป็นช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ความต้องการสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจมีการขยายการลงทุน ผู้คนกล้าใช้จ่ายมากขึ้น ตัวเลขทางเศรษฐกิจจึงเติบโตทำให้ผลประกอบการของธุรกิจดีขึ้น
สินทรัพย์ที่เหมาะกับวัฏจักรนี้ คือ หุ้น เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง ราคาหุ้นจะวิ่งตามกำไรของภาคธุรกิจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัว เน้นลงทุนหุ้นที่มีการกระจายไปในธุรกิจที่เติบโตสูง หรือ เลือกลงทุนเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์ เช่น K-HIT-A , K-CHANGE-A
Overheat Stage : ระยะที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวในอัตราที่สูง เป็นวัฏจักรที่สภาวะเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวขั้นสูงสุด หรือเติบโตเต็มที่ ผลประกอบการของภาคธุรกิจดีอย่างต่อเนื่อง ผู้คนกล้าใช้จ่ายสูงขึ้น ส่งผลให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ภาครัฐจะเริ่มเข้ามาควบคุมการเติบโตของเศรษฐกิจไม่ให้ขยายตัวเร็วเกินไป โดยการลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนธนาคารกลางจะเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
สินทรัพย์ที่เหมาะกับวัฏจักรนี้ คือ หุ้นทุกกลุ่ม ที่กำลังเติบโตขั้นสุดและกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) เช่น น้ำมัน วัตถุดิบพื้นฐานสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการเติบโตของธุรกิจ ทำให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น ตรงกันข้ามกับราคาของทองคำและตราสารหนี้ที่ปรับตัวลดลง จากการที่ธนาคารกลางเริ่มมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย เน้นกระจายลงทุนหุ้นในภูมิภาคต่าง ๆ หรือ ลงทุนในกองทุนหุ้นทั่วโลกเพื่อกระจายความเสี่ยง เช่น K-WORLDX
Stagflation : ภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว อัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง แต่อัตราเงินเฟ้อกลับเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเศรษฐกิจเกิดภาวะชะลอตัว ผู้ผลิตก็จะลดกำลังการผลิต และลดการจ้างแรงงานในระบบเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้น กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงตามไปด้วย สวนทางกับต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการกลับเพิ่มสูงขึ้น
สินทรัพย์ที่เหมาะกับวัฏจักรนี้ คือ สินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำแท่ง หรือ ถือเงินสด เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่เริ่มกลัวการถดถอยของเศรษฐกิจ ส่วนการลงทุนในหุ้น ราคาหุ้นบางบริษัทจะลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากกำไรของบริษัทที่ลดลงตามสภาวะเศรษฐกิจ หรือบางบริษัททำกำไรไม่ได้ตามที่นักลงทุนคาดการณ์ ทำให้นักลงทุนต่างออกมาเทขายหุ้นจำนวนมากจนทำให้ราคาตกลง แนะนำเน้นลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นเป็นส่วนใหญ่ เช่น K-SF-A , K-SFPLUS
ที่มา : royal london asset management
โดยทั่วไปแต่ละวัฏจักรเศรษฐกิจนั้น มักจะมีระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 2 - 5 ปี ดังนั้น 1 รอบวัฏจักร จึงมีระยะเวลาประมาณ 10 ปี สิ่งสำคัญคือ เราต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าปัจจุบันเราอยู่ในวัฏจักรเศรษฐกิจใดเพื่อเป็นโอกาสในการลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะสมกับวัฏจักรนั้น ๆ หรือ อีกทางเลือก คือ การเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวมผสม Wealth Plus ที่มีการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย มีให้เลือกถึง 5 สไตล์ เพื่อให้เหมาะกับลูกค้าที่ต้องการการลงทุนที่แตกต่างกันตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
กองทุนแนะนำที่เกี่ยวข้อง
สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางและเป็นพอร์ตการลงทุนหลัก
Wealth Plus
โอกาสสร้างความมั่งคั่งให้ทุกแผนการลงทุนเป็นจริงได้ แม้ในภาวะตลาดผันผวน ด้วย ที่ช่วยให้การลงทุนง่ายขึ้นเลือกลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่คุณรับได้ และกำหนดแผนการลงทุนได้เองในแบบคุณ
อ่านรายละเอียดบริการ
สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงสูง
K-HIT-A(A)
กองทุนที่กระจายการลงทุนหลากหลาย เป็นธีม Megatrends กระแสการเปลี่ยนแปลงโลก 5 - 7 ธีม และ จะมีการพิจารณาการลงทุนเทรนด์ใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอจากการเปลี่ยนธีมอย่างน้อย 1 - 3 ธีม ในทุก ๆ ปี ผ่านกองทุนหลัก Allianz Global Investors Fund - Allianz Thematica Share Class P (EUR)
อ่านรายละเอียดกองทุน
| ซื้อกองทุนผ่าน KPLUS
|
|
|
บทความโดย
กานต์พิชชา แดงพิบูลย์สกุล AFPT
K WEALTH Trainer