Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​AI และเทคโนโลยี: แรงขับเคลื่อนการลงทุนแห่งอนาคต 

        ปัจจุบัน AI (Artificial Intelligence) ไม่ได้ถูกพูดถึงในวงการเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันทางธุรกิจและแนวโน้มการลงทุนในตลาดทุนทั่วโลก สำหรับนักลงทุนที่ต้องการมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในการส​ร้างผลตอบแทน การจับตาความเคลื่อนไหวและทิศทางของ AI รวมถึงเทรนด์เทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม 




การแข่งขันใน AI ต่อตลาดการลงทุน 
        
        การเปิดตัวของ DeepSeek บริษัท AI สัญชาติจีนในสหรัฐฯ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อบริษัท AI รายใหญ่ทั่วโลก จากการใช้ต้นทุนในการพัฒนาที่ต่ำและการใช้ชิปที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่า ทำให้บริษัทขนาดเล็กสามารถเข้าสู่ตลาดและแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังส่งผลกระทบให้ตลาดหุ้นมีความผันผวน โดยเฉพาะ ดัชนี NASDAQ ที่มีหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ เป็นส่วนหลักของดัชนี ปรับตัวลงแรง ในขณะที่หุ้นเทคโนโลยีจีนมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 


ผลกระทบของการแข่งขันในตลาด AI 

  • ความท้าทายทางการเงินต่อบริษัท AI : เมื่อการแข่งขันรุนแรง หลายบริษัทในอุตสาหกรรม AI อาจต้องเร่งพัฒนาเพื่อให้ส่งมอบสินค้าได้ทันต่อความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้ต้นทุน R&D สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากไม่สามารถสร้างรายได้จากโมเดล AI ได้อย่างเพียงพอ บริษัทอาจเผชิญปัญหาสภาพคล่องทางการเงินได้ 
  • ตลาด AI อาจกำลังเผชิญภาวะฟองสบู่ : ด้วยความคาดหวังสูงจากนักลงทุน บวกกับแนวโน้มการเติบโตมหาศาลในระยะยาว ทำให้มีการประเมินว่า ตลาด AI อาจกำลังเผชิญภาวะฟองสบู่ คล้ายกับช่วง *Dot-Com Bubble ในอดีต อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายฝ่ายยังมองว่า AI มีศักยภาพทั้งทางเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้จริง จึงอาจไม่ได้เกิดเหตุการณ์รุนแรงเหมือน Dot-Com Bubble แต่ความคาดหวังถึงโอกาสเติบโตของธุรกิจ AI ที่สูงอาจทำให้เกิดการเก็งกำไรของนักลงทุน ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดเกิดความผันผวนสูงขึ้นได้ ​
    (*วิกฤตดอทคอม (Dot-com Bubble) คือเศรษฐกิจฟองสบู่ที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงปลายทศวรรษ 1990 ถึงต้นทศวรรษ 2000 โดยเป็นผลจากการเก็งกำไรอย่างรุนแรงในหุ้นของบริษัทเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต) ​
  • การเติบโตของภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง : เมื่อ AI ก้าวหน้าขึ้น อุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์อย่างผู้ผลิตชิป เซิร์ฟเวอร์ ระบบเน็ตเวิร์ก และผู้ให้บริการ Cloud อาจได้อานิสงส์ ขณะเดียวกันบริษัทผู้ให้บริการ AI Solutions ก็มีโอกาสเติบโตหากสามารถเจาะตลาดองค์กรที่ต้องการ Digital Transformation เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันได้


 


AI ยังไปต่อได้หรือไม่? ถึงจุดอิ่มตัวแล้วหรือยัง? 

       ในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) ที่พัฒนาจากระบบง่าย ๆ อย่างโปรแกรมจดจำตัวอักษร ไปจนถึงโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model) ที่สามารถโต้ตอบกับมนุษย์ได้อย่างลื่นไหล และไม่ใช่แค่ข้อความเท่านั้นที่ AI เข้าใจ แต่ยังรวมถึงข้อมูลภาพ เสียง และวิดีโออีกด้วย ทำให้ AI สามารถปรับใช้ในสาขาต่าง ๆ อย่างการแพทย์ เกษตรกรรม การบริหารจัดการคลังสินค้า ฯลฯ ความเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า “AI ใกล้มาถึงจุดอิ่มตัวหรือยัง?” แม้จะดูเหมือนว่า AI ทำได้ทุกอย่างแล้ว แต่ความจริงคือเทคโนโลยียังมีพื้นที่ในการพัฒนาอีกมาก ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพ ความแม่นยำ และการนำไปปรับใช้ในอุตสาหกรรมใหม่ ๆ 
 

สัญญาณที่บ่งบอกว่า AI ยังไม่อิ่มตัว 

  • การลงทุนใน R&D ยังไม่ลดลง : บริษัทเทคโนโลยีและนักลงทุนทั่วโลก ยังคงเทงบประมาณเข้าสู่การพัฒนาโมเดลใหม่ๆ และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เช่น เซิร์ฟเวอร์ ความสามารถด้าน Cloud และชิปประมวลผลเฉพาะทาง เมื่อยิ่งมีการวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ มากขึ้นตามไปด้วย 
  • เครื่องมือและแพลตฟอร์มสำหรับองค์กร : หลายบริษัทกำลังนำ AI มาเป็นแกนหลักในการปรับโครงสร้างธุรกิจ (Digital Transformation) ตั้งแต่การจัดการข้อมูลลูกค้าจำนวนมหาศาล การวิเคราะห์คาดการณ์ยอดขาย ไปจนถึงการปรับปรุงกระบวนการผลิตในโรงงาน แต่ก็ยังมีอีกหลายอุตสาหกรรมที่เพิ่งเริ่มต้นใช้งาน AI ซึ่งเปิดโอกาสให้ตลาดยังขยายตัวได้อีกยาวไกล 
  • มาตรฐานและข้อกำกับดูแล (Regulations) : หน่วยงานกำกับดูแลยังคงอยู่ในช่วง วิ่งไล่ตามเทคโนโลยี เพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเร็วมาก การออกกฎหมายควบคุมการใช้งาน AI หรือการป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เป็นเรื่องที่อยู่ในกระบวนการพิจารณา การที่กฎเหล่านี้ยังไม่ชัดเจน ทำให้นักพัฒนามีโอกาสในการปรับปรุงเทคโนโลยีให้มีความโปร่งใสและปลอดภัยยิ่งขึ้น 



คำแนะนำสำหรับนักลงทุนในยุค AI 

  • กระจายความเสี่ยง (Diversification) แม้ว่า AI จะมีโอกาสเติบโตสูง แต่ก็มีความไม่แน่นอนและการแข่งขันที่รุนแรง นักลงทุนควรกระจายการลงทุน ไม่ควรทุ่มเงินทั้งหมดไปที่บริษัท AI เพียงรายเดียว แต่ควรเลือกลงทุนในหุ้นหลายตัวที่เกี่ยวข้อง เช่น หุ้น AI, หุ้นชิปเซมิคอนดักเตอร์ และหุ้น Cloud Computing
  • มองภาพระยะยาว (Long-Term Investment) การพัฒนา AI ต้องใช้เวลา และยังต้องผ่านหลายขั้นตอนกว่าที่เทคโนโลยีจะถูกใช้อย่างแพร่หลาย นักลงทุนไม่ควรคาดหวังผลตอบแทนในระยะสั้น แต่ควรมองไปถึงศักยภาพการเติบโตในอีก 5-10 ปีข้างหน้า
  • การเลือกลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ของ AI เช่น ลงทุนในผู้ผลิตชิป AI และบริษัทให้บริการ Cloud อาจเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าในบางกรณี เนื่องจาก  AI ยังจำเป็นต้องพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้  


       กองทุนแนะนำ สำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในอุตสาหกรรม AI แต่ไม่มีเวลาติดตามหุ้นรายตัว สามารถเลือกลงทุนผ่านกองทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงในหุ้นกลุ่ม AI และเทคโนโลยี 

กองทุนหุ้นเทคโนโลยีระดับโลก 

    • K-GTECH: กองทุนที่เน้นลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยี​ระดับโลก ซึ่งรวมถึงบริษัทด้าน AI ระบบ Cloud และ Data Center 
    • K-CHANGE: กองทุนที่โฟกัสลงทุนในธุรกิจที่เป็น “Change Leaders” มีนวัตกรรมหรือแนวคิดใหม่ ๆ ที่พร้อมขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่ง AI ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ 

กองทุนหุ้นเทคโนโลยีจีน 

    • K-CHINA: กองทุนที่เน้นลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีจีนที่มีโอกาสเติบโตสูง เช่น Alibaba, Baidu และ Tencent 
    • K-ATECH: กองทุนเน้นลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จีน และญี่ปุ่น  


 บทความโดย
 ​วรสุดา ใช้เทียมวงศ์ CFP® ​

กองทุนแนะนำ

K-ATECH
อ่านรายละเอียดกองทุน        ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS
       ​                            ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS_k-china-ad

K-GTECH
อ่านรายละเอียดกองทุน        ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS​
                                     ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS_k-china-ad

K-CHANGE-A(A)
อ่านรายละเอียดกองทุน        ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS​
       ​                            ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS_k-china-ad

K-CHINA-A(A)
อ่านรายละเอียดกองทุน        ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS​
       ​                            ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS_k-china-ad

K-CHINA-A(D)
อ่านรายละเอียดกองทุน        ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS​
       ​                            ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS_k-china-ad

K-CHINA-SSF
อ่านรายละเอียดกองทุน        ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS​
       ​                            ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS_k-china-ad

K-CHINA-RMF
อ่านรายละเอียดกองทุน        ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS​
       ​                            ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS_k-china-ad

กลับ