ออมและลงทุน
บ้างานจนได้เรื่อง อาจสุขภาพดับก่อนรวย
การทำงานหนัก คำๆนี้อาจตีความหมายได้ทั้งความหมายดี คือเป็นคนตั้งใจทำอย่างเต็มที่กับงานที่ได้รับ แต่หากเป็นความหมายไม่ดี อาจแปลว่าทำงานมากจนไม่สนใจเรื่องอื่นๆ หรือที่คนส่วนใหญ่นิยามว่า “บ้างาน” (Workaholic) ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาจเป็นผลจากปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้แต่ละธุรกิจมีการแข่งขันสูง ตัวเลขเด็กจบใหม่ทยอยเข้ามาในตลาดมากขึ้น
คนบ้างานข้อดีคือ มุ่งมั่นกับการทำงาน ชอบการแข่งขัน ทะเยอทะยาน แต่อาจมีข้อเสียตามมาคือ ความเครียดสะสมที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพ การแบ่งเวลาที่กระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง รวมไปถึงปัญหาสุขภาพทางการเงิน ปัญหาเหล่านี้เป็นผลพวงมาจากวิธีคิดของคนบ้างานในหลายๆ ด้าน วันนี้ K-Expert จึงอยากจะมาบอก 3 ความเข้าใจผิดของคนบ้างานที่อาจส่งผลเสียตามมาในระยาว
1. “รวยก่อน แล้วค่อยดูแลสุขภาพ”
คนบ้างาน มักจะละเลยการดูแลสุขภาพทั้งเรื่องของการพักผ่อน การออกกำลังกาย อาหารการกิน และความเครียดสะสม ปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงขึ้น ตัวอย่างเช่น โรคมะเร็งสมอง หากเกิดเจ็บป่วย ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 164,800 บาท (ที่มา
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์) หรือ โรคหัวใจ หากต้องขยายหลอดเลือดแดงด้วยบอลลูนที่ข้อมือ ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 185,000 บาท (ที่มา
โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ) ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น อุปกรณ์พิเศษ ค่าปรึกษาทางการแพทย์ และยังไม่การันตีว่าจะรักษาหาย 1 ครั้งทันที นั่นแปลว่าเงินที่ทำงานมาอย่างหนัก สุดท้ายแทนที่จะเก็บไว้ใช้ในบั้นปลายชีวิต กลับต้องมาจ่ายเพื่อรักษาตนเองแทน
เพื่อป้องกันไม่ให้เงินที่หามาได้อย่างยากลำบากต้องหมดไปกับค่ารักษาพลาบาล สามารถซื้อประกันสุขภาพ เพื่อสร้างความคุ้มครองเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ ก็เหมือนกับการซื้อ
ประกันรถยนต์ ตัวอย่างเช่น สัญญาเพิ่มเติมการ
ประกันภัยสุขภาพแบบอีลิท เฮลท์ พลัส ที่ช่วยคุ้มครองการเจ็บป่วยต่างๆ รวมถึงโรคร้ายแรงด้วย โดยมีทุนประกันเริ่มต้นที่ 20 ล้านบาท ค่าเบี้ยไม่แพงเลยเมื่อเทียบกับความคุ้มครอง เช่น หากอายุ 35 ปี จะจ่ายค่าเบี้ยอยู่ที่ 25,246 บาทต่อปี (แผนที่ 1 คุ้มครองเฉพาะประเทศไทย)ทั้งนี้ต้องซื้อประกันตัวหลักควบคู่ไปด้วย แต่ค่าเบี้ยไม่แพง เช่น ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ 99/9 ยกตัวอย่าง ชายอายุ 35 ปี ทุน 100,000 บาท เบี้ยเพิ่มแค่ 4,487 บาทรวมแล้วแค่ 29,733 บาท เท่านั้นเอง แค่นี้ก็สบายใจไปส่วนหนึ่งแล้วว่าเงินที่ทำงานหามาจะได้ใช้อย่างแน่นอน
2. “เงินใช้ไปแล้ว เดี๋ยวหาใหม่ได้”
คนส่วนใหญ่มักมองประโยชน์เฉพาะหน้า มากกว่าที่จะมองประโยชน์ในระยะยาว เหมือนกับการออมเงินเพื่อเก็บไว้ใช้ในวัยเกษียณอย่างมีความสุข เทียบกับการซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่ คนส่วนใหญ่มักเลือกการซื้อโทรศัพท์ก่อนการออมเงิน เพราะเมื่อซื้อแล้วได้ใช้ในทันที
เป็นการสู้กันระหว่าง เหตุผลและอารมณ์ แม้ฝั่งเหตุผลจะรู้ประโยชน์จากการออมที่ชัดเจนแค่ไหน แต่บางคนก็ต้องแพ้ให้กับฝั่งอารมณ์ที่มีอิทธิพลเหนือกว่า กว่าจะรู้ตัวอีกทีว่าต้องออมก็เป็นเวลาที่ใกล้เกษียณ
ทำให้หลายๆ คนเก็บเงินกันไม่ทันแล้ว หรือบางทีเกิดเหตุไม่คาดคิด ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ล่าสุดคือ สถานการณ์ COVID-19 ที่ทำให้ใครหลายๆ คนได้รับผลกระทบจากการที่ธุรกิจส่วนตัวหรือธุรกิจของนายจ้างต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว ทำให้รายรับที่เคยได้น้อยลงหรือบางคนไม่ได้เลย คนที่มีเงินเก็บอยู่บ้างก็พอจะประคองตัวไปได้ แต่ถ้าใครเคยใช้แบบเดือนชนเดือน แบบนี้ได้รับผลกระทบแน่นอน และถ้าสถานการณ์นี้ยืดเยื้อออกไป ยิ่งทำให้ปัญหาทางการเงินเพิ่มมากขึ้นแน่นอน
กลับมาที่เรื่องเกษียณหากดูที่ค่าใช้จ่ายในปัจจุบันสำหรับครัวเรือนต่างๆ ของคนกรุงเทพฯ และภาพรวมทั่วประเทศ
พื้นที่
|
ค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือน
เดือนละ
|
คำใช้จ่ายหลังเกษียณ
ตลอดช่วงอายุ 60-85 ปี
(300 เดือน)
|
ค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนรวมเงินเฟ้อ 3% ในอีก 25 ปีข้างหน้า
เดือนละ
|
คำใช้จ่ายหลังเกษียณรวมเงินเฟ้อ 3% ตลอดช่วงอายุ 60-85 ปี
(300 เดือน)
|
กรุงเทพ
| 34,127 บาท
| 10,238,232 บาท
| 71,455 บาท
| 21,436,584 บาท*
|
ทั่วประเทศ
| 21,346 บาท
| 6,403,800 บาท
| 44,694 บาท
| 13,408,135 บาท*
|
* หลังเกษียณมีการลงทุนเพื่อให้ได้อัตราผลตอบแทนเท่ากับเงินเฟ้อ
พบว่าถ้าเกษียณตอนอายุ 60 ปี และมีอายุจนถึง 85 ปี คนกรุงเทพฯจะต้องมีเงินก้อนตอนอายุ 60 ปี เพื่อรองรับชีวิตหลังเกษียณอยู่ที่ 10,238,232 บาท และถ้าเป็นจังหวัดอื่นๆ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 6,403,800 บาท ณ ตอนอายุ 60 ปี คำถาม คือ ปัจจุบันมีแผนสำหรับเตรียมเงินก้อนนี้ไว้แล้วหรือยัง
นอกจากนี้ในความเป็นจริงค่าใช้จ่ายมีการเพิ่มขึ้นทุกปี เช่น ก๋วยเตี๋ยวชามละ 25 บาท เมื่อ 10 ปีที่แล้วตอนนี้กลายเป็นชามละ 35-50 บาท หรือที่คนส่วนใหญ่มักได้ยินกันในคำว่าเงินเฟ้อ นั่นแปลว่าคนทำงานต้องเก็บเงินมากขึ้น เช่น เงินเฟ้อ 3% ต่อปี หากปัจจุบันอายุ 35 ปี หรือเกษียณในอีก 25 ปีข้างหน้า ค่าใช้จ่ายต่อเดือนของครัวเรือนเมื่อรวมเงินเฟ้อเข้าไปด้วยสำหรับคนกรุงเทพฯ จะอยู่ที่ 71,455 บาทต่อเดือน และจังหวัดอื่นๆ โดยเฉลี่ย 44,694 บาทต่อเดือน หมายความว่าเงินที่ต้องมีตอนอายุ 60 ปี เพื่อใช้สำหรับเกษียณจะเพิ่มขึ้นเป็น 21,436,584 บาท และ 13,408,135 บาท ตามลำดับ
ดังนั้นหากไม่เริ่มเก็บตอนนี้ไปเริ่มตอนใกล้เกษียณก็อาจสายเกินไป
3. “มีเงินแล้ว ค่อยวางแผนการเงิน”
หากรอให้เริ่มมีเงินแล้วจึงเริ่มเก็บ จากตัวอย่างของคนกรุงเทพฯ อายุ 35 ปี ต้องเก็บเงินหยอดกระปุกถึง 71,455 ต่อเดือน หรือสำหรับจังหวัดอื่นๆ ต้องเก็บเดือนละ 44,694 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยเลย
พื้นที่
|
เงินที่ต้องเก็บต่อเดือน
โดยไม่มีการลงทุน
|
เงินที่ต้องเก็บต่อเดือน
เมื่อนำไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทน 3% ต่อปี
|
เงินที่ต้องเก็บต่อเดือน
เมื่อนำไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทน 5% ต่อปี
|
เงินที่ต้องเก็บต่อเดือน
เมื่อนำไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทน 10% ต่อปี
|
กรุงเทพ
| 71,455บาท
| 48,063 บาท
| 35,997 บาท
| 16,156 บาท
|
ทั่วประเทศ
| 44,694 บาท
| 30,062 บาท
| 22,515 บาท
| 10,105 บาท
|
หรือต่อให้ลงทุนที่ผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ต่อปี ต้องลงทุนเดือนละ 35,957 บาท และ 22,515 บาท สำหรับคนกรุงเทพฯ และภาพรวมทั่วประเทศตามลำดับ แล้วลองจินตนาการดูว่าหากรอไปอีก ต้องลงทุนเดือนละเท่าไร ยิ่งถ้าใครมีรายได้ที่ต้องเสียภาษี กองทุน RMF (กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเลือกลงทุน เพราะนอกจากจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนแล้ว ยังสามารถลดหย่อนภาษีตามเงื่อนไขได้ตั้งแต่ปีนี้อีกด้วย เรียกว่าวางแผนตั้งแต่ตอนนี้ นอกจากมีเงินเกษียณแล้ว ยังเห็นผลจากภาษีที่ลดลงตั้งแต่ตอนนี้เลย
เคยมีคนบอกว่า
“คนเรารู้วันเกิด แต่ใครจะรู้วันที่ตาย” บางคนมาช้า บางคนมาเร็ว หากวางแผนการเงินในชีวิตไว้ไม่ดีผลที่ได้ก็อาจส่งผลให้คุณภาพชีวิตแย่ลง มาเริ่มวางแผนการเงินให้กับชีวิตของตนนเองกันเถอะ เริ่มตั้งแต่วันนี้จะทำให้มีเวลาเตรียมตัวที่มากขึ้นนั่นเอง
** ที่มาข้อมูล “ค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือน” จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2561
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง :
ประกันภัยสุขภาพแบบอีลิท เฮลท์ พลัส
| ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ 99/9
|
กองทุน RMF
|
|