Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

        จากความคาดหวังที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ไม่น้อยกว่า 6 ครั้ง และ ความตื่นเต้นกับกระแสเทคโนโลยี AI ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกนั้นปรับตัวเดินหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดไตรมาสแรกของปี อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯไม่ได้ปรับตัวลงต่อเนื่องอย่างที่คาดหวังไว้ 


        ในเวลาเดียวกันปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากความตึงเครียดระห่างอิสราเอลและอิหร่านก็ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกเกิดความผันผวนในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง แม้นักลงทุนจะมีการลดความกังวลต่อความตึงเครียดในตะวันออกกลางไปแล้วนั้น แต่ประเด็นของอัตาเงินเฟ้อยังคงเป็นปัจจัยที่พร้อมจะสร้างความผันผวนให้ตลาด ทำให้ยังคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป 

สำหรับผลตอบแทนของกองทุนแนะนำครึ่งแรกของปี 2024 มีดังนี้ (ผลตอบแทน ณ วันที่ 8 พ.ค. 2024)
K-HIT-A(A) 6.49% 
K-GHEALTH 3.92% 
K-CHANGE-A(A) 0.38% 
K-GOLD-A(A) 10.04% 
K-VIETNAM 20.15% 
K-FIXEDPLUS 0.69% 
K-JPX-A(A) 15.08% 
K-GB-A(D) -1.08% 

6 ปัจจัยกระทบธีมการลงทุนครึ่งหลังปี 2567 

        แม้ตลาดจะมีความผันผวนมากขึ้น แต่โอกาสลงทุนก็ยังมีอยู่เสมอ คาดว่าครึ่งหลังของปี 2024 ตลาดหุ้นจะมีปัจจัยหนุนจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วและเศรษฐกิจโลกยังเติบโตด้วยภาคการผลิตและการส่งออก โดยมีธีมการลงทุนดังนี้



1. ดอกเบี้ยผ่านจุดสูงสุดแน่นอนแล้ว แต่ลดช้ากว่าที่คาด 

        แม้ในครึ่งแรกของปี 2024 อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ จะลดลงช้าและมีแนวโน้มทรงตัว ส่งผลให้นักลงทุนมีความกังวลและตลาดผันผวนไปตามข่าวในแต่ละช่วงเวลา อย่างไรก็ตามในการประชุม FED เมื่อธันวาคมปีที่ผ่านมาได้ประกาศว่าอัตราดอกเบี้ยนั้นแตะระดับสูงสุด พร้อมย้ำอีกครั้งในการประชุมเมื่อเดือนพฤษภาคมว่าจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิถุนายนแน่นอน อย่างไรก็ตามยังไม่มีกรอบเวลาที่ชัดเจนสำหรับการลดดอกเบี้ย เพราะ FED ต้องมีความมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มลดลงสู่ระดับเป้าหมายอย่างชัดเจน 

        จากปัจจัยข้างต้นส่งผลให้นักลงทุนลดความคาดหวังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ FED ลง จากเดิมที่คาดว่าจะลด 3 ครั้ง เหลือเพียง 2 ครั้ง และ คาดว่าจะเริ่มลดได้ในเดือนกันยายน จากเดิมที่คาดไว้ในเดือนมิถุนายน หรือมีมุมมองว่าดอกเบี้ยจะปรับลดได้ช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้



2. เน้นการลงทุนกลุ่ม Defensive และ Laggard 

        จากข่าวอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับลดลง และ กระแสการพัฒนาเทคโนโลยี AI ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และ กลุ่มหุ้นเทคโนโลยีมีระดับอัตราส่วน P/E ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นหรืออุตสาหกรรมอื่นที่มีระดับสูงกว่า ในขณะที่ตลาดหุ้นที่มีพื้นฐานดีและมูลค่าไม่สูง เช่น ตลาดหุ้นญี่ปุ่นและตลาดหุ้นในเอเชียต่างปรับตัวขึ้นจากปัจจัยทั้งในและนอกประเทศ โดยปัจจุบันมูลค่าอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยหรือสูงกว่าเล็กน้อย สะท้อนว่าดัชนีตลาดได้รับปัจจัยหนุนไปแล้ว 

        ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนในครึ่งปีหลัง จึงเน้นไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีลักษณะ Defensive เช่น กลุ่มอุตสาหกรรม Healthcare ผ่านกองทุน K-GHEALTH และ ตลาดหุ้น Laggard เช่น ตลาดหุ้นยุโรปผ่านกองทุน K-EUROPE-A(D)
Defensive : มีรายได้และกำไรสม่ำเสมอ การเติบโตของธุรกิจไม่ขึ้นอยู่กับวัฏจักรเศรษฐกิจ
Laggard : ตลาดหุ้นที่มีมูลค่าไม่สูง เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง ซึ่งมูลค่าที่ไม่สูงนี้จะช่วยดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากตลาดหุ้นหรืออุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงในช่วงที่ยังไม่มีปัจจัยหนุนใหม่



3. ศรษฐกิจโลกฟื้นตัวจากการผลิตและส่งออก 

        ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจยังมีกลุ่มอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์และเกี่ยวข้องกับชิป ที่กลับมาฟื้นตัวในปีนี้ จากปริมาณสินค้าคงคลังที่สูงเมื่อปีที่ผ่านมาจากเหตุการณ์ COVID-19 ปัจจุบันเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากการพัฒนาเทคโนโลยี AI ที่ต้องการชิปเป็นจำนวนมาก ได้เป็นปัจจัยหนุนให้กับเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นฐานการผลิตสำคัญของโลกอย่าง ไต้หวัน เกาหลีใต้ และ เวียดนาม ซึ่งตัวเลขส่งออกของประเทศเหล่านี้กลับมาเติบโตได้อีกครั้งตั้งแต่การเข้าสู่ปี 2024 

        โดยในกลุ่มประเทศเหล่านี้ ตลาดหุ้นเวียดนามยังมีอัตราส่วน P/E ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี รวมถึงคาดการณ์กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่เติบโตเด่นกว่าภูมิภาคอื่น และยังมีปัจจัยหนุนทั้งระยะกลาง และ ระยะยาว ทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามมีความน่าสนใจในการลงทุน ในครึ่งหลังของปี 2024 ผ่านกองทุน K-VIETNAM 

4. ความเสี่ยงการลงทุนในครึ่งปีหลัง 

        แม้โลกการลงทุนจะฉายภาพโอกาสในอนาคตมากแค่ไหนก็ตาม ย่อมมีความเสี่ยงอยู่เสมอ โดยความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจถดถอยที่ได้กังวลกันมาก่อนหน้านี้ลดลงไป แต่ความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อ และ ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศยังเป็นประเด็นที่ต้องจับตาในช่วงครึ่งหลังของปี 2024



5. เงินเฟ้ออาจกลับมาเพิ่มขึ้น 

        ตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ดำเนินไปในทิศทางที่ดีด้วยอัตราการว่างงานที่ต่ำกว่า 4% มีการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้อัตราค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงเพิ่มขึ้นกว่า 4% อย่างต่อเนื่อง ทำให้ในกระเป๋มเงินของภาคประชาชนมีมากขึ้น ส่งผลไปที่ตัวเลขเศรษฐกิจที่เติบโตโดดเด่น ผลที่ตามมา คือ ราคาสินค้าและการบริการเพิ่มขึ้น แม้ต่อจากนี้ราคาพลังงาน ละอาหารสดจะมีบทบาทต่ออัตราเงินเฟ้อที่น้อยลง แต่ยังจำเป็นต้องจับตากลุ่มสินค้าและบริการที่ปรับราคาขึ้นลงช้า (Sticky) ซึ่งเป็นผลให้อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ นั้นลดลงช้ากว่าที่คาดการณ์ 

        Bank of America คาดการณ์ไว้ว่า หากอัตราเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นระหว่างเดือนมีนาคม – พฤศจิกายน 2024 เดือนละ 0.3% (MoM) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยระหว่างเดือนกันยายน 2023 - เดือนกุมภาพันธ์ 2024 จะทำให้อัตราเงินเฟ้อของเดือนพฤศจิกายน 2024 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 3.9% (YoY) ซึ่งมากกว่าระดับปัจจุบัน หรือ อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องทำให้ FED ต้องคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงต่อไป (Higher for Longer)



6. ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ 

        ความตึงเครียดระหว่างประเทศทวีความรุนแรงมากขึ้นตลอดครึ่งปีที่ผ่านมา โดยมีสงครามอิสราเอล - อิหร่านเป็นเหตุการณ์หลัก แม้ไม่ลุกลามกลายเป็นสงครามระดับภูมิภาค แต่ยังต้องติดตามความตึงเครียดทั้งในภูมิภาคดังกล่าวและภูมิภาคอื่น ซึ่งหากทวีความรุนแรงอาจส่งให้ราคาน้ำมันดิบโลกปรับตัวขึ้นอีกครั้ง และกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อที่เป็นอีกปัจจัยเสี่ยง



แนวทางการจัดพอร์ตสำหรับการลงทุนครึ่งหลังของปี 2024 

        ด้วยตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับตัวขึ้นรับความคาดหวังการลดอัตราดอกเบี้ยและกระแสเทคโนโลยี AI มูลค่าของหลายตลาดหุ้นจึงเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง และยังมีความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อและความตึงเครียดระหว่างประเทศที่นักลงทุนต้องติดตาม ดังนั้นการแบ่งสัดส่วนพอร์ตการลงทุนเพื่อค้นหาโอกาสและกระจายความเสี่ยงเป็นกลยุทธ์แนะนำสำหรับครึ่งหลังของปี 2024 

        กองทุน K-WealthPLUS Series มีนโยบายการลงทุนกระจายสัดส่วนไปยังสินทรัพย์หลายประเภททั่วโลก เช่น หุ้น ตราสารหนี้ และสินทรัพย์ทางเลือก ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นจัดสัดส่วนด้วยโมเดลที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง KAsset และ JPMorgan Asset Management ช่วยกระจายความเสี่ยงและค้นหาโอกาสลงทุนไปในเวลาเดียวกัน 

บทความโดย
วีรพล บางแวก
K WEALTH Trainer 

ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Bank of America, Bloomberg 

กองทุนแนะนำที่เกี่ยวข้อง
สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงสูง

K-VIETNAM
        แนะนำลงทุนหุ้นเวียดนามมีคุณภาพ เน้นหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนาม เช่น กลุ่มการเงิน กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มอุปโภคบริโภคภายใน
อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS


K-EUROPE-A(D)
        แนะนำลงทุนหุ้นยุโรปโดยเน้นไปยังหุ้นเติบโต รับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ผ่านกองทุนหลัก Allianz Europe Equity Growth, Class AT-EUR
อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS


K-GHEALTH
        แนะนำ K-GHEALTH มีสัดส่วนของหุ้นกลุ่ม Biotech อยู่ค่อนข้างมาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบที่สนับสนุนนวัตกรรมด้านสุขภาพ และเทรนด์ดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนให้หุ้น Healthcare มีโอกาสเติบโตในระยะยาว ผ่านกองทุนหลัก JPMorgan Funds – Global Healthcare Fund, Class A (acc) - USD (กองทุนหลัก)
อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS



สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง-ต่ำ 
K-WealthPLUS Series 
        แนะนำกองทุนเดียวได้ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ และสินทรัพย์ทางเลือกทั่วโลก บริหารพอร์ตร่วมกับบลจ. ชั้นนำระดับโลก J.P. Morgan Asset Management รับความผันผวนของเศรษฐกิจได้ดีกว่า สามารถเลือกที่เหมาะกับสไตล์คุณ
อ่านรายละเอียดผลิตภัณฑ์
 

บทความอื่น ๆ ประจำเดือน

ULTIMATE LEISURE
พบ 4 โรงแรมหรูสุดวิจิตร ผสานทั้งความงดงามอย่างลงตัว อีกหนึ่งจุดหมายปลายทางของนักเดินทาง



THE EXPLORER
หลบฝนด้วยมื้อพิเศษ วัตถุดิบชั้นเลิศ ไปกับ 4 ร้านอาหารหรูใจกลางเมือง 

 



กลับ