หลังจากการดีเบตครั้งแรกในวันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา ในภาพรวมทรัมป์แสดงผลงานการดีเบตได้ดีกว่าไบเดน เนื่องจากไบเดนมีปัญหาด้านสุขภาพจากอายุที่มากขึ้นและมีการตอบคำถามไม่ตรงประเด็นในบางเรื่อง ทำให้หลังจบการดีเบต ผลคะแนนของไบเดนลดลงต่ำกว่าระดับ 40% และลดลงต่อเนื่องหลังการดีเบต
Source : FiveThirtyEight.com, 10 ก.ค. 2567
ส่งผลให้ทรัมป์มีโอกาสสูงที่จะได้กลับมาเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2 และ ถ้ามองจากสถิติในอดีตไม่เคยมีประธานาธิบดีคนใดที่ได้รับคะแนนความนิยมต่ำกว่า 40% แล้วได้กลับมาครองตำแหน่งประธานาธิบดีต่อ ล่าสุดประธานาธิบดีไบเดนถอนตัวจากการเป็นผู้สมัครประธานาธิบดีสหรัฐฯ หลังจากได้รับคำวิจารณ์จากคนในวงกว้างว่าทำผลงานได้ไม่ดี ไม่สามารถทำคะแนนกลับขึ้นมาได้ จึงถอนตัวแล้วสนับสนุนให้ กมลา แฮร์ริส ผู้เป็นรองประธานาธิบดีคนปัจจุบัน เป็นผู้สมัครประธานาธิบดีของพรรค Democrat แทน และ ผู้สนับสนุนพรรค Democrat ทั้งภายนอกและภายในพรรคมีผลตอบรับที่ดีกับการเปลี่ยนตัวผู้สมัครในครั้งนี้ โดยหลังจากนี้ต้องติดตามผลการดีเบตครั้งต่อไป และ ดูว่าทางฝั่ง Democrat จะแก้เกมนี้อย่างไร ตารางด้านล่างจะเป็น timeline วันสำคัญในการเลือกตั้งสหรัฐฯ
วันสำคัญในการเลือกตั้งสหรัฐฯ |
27 มิถุนายน 2024
|
ดีเบตครั้งแรก
|
10 กันยายน 2024
|
ดีเบตครั้งที่สอง
|
5 พฤศจิกายน 2024
|
วันเลือกตั้ง
|
6 มกราคม 2025
|
รับรองผลการเลือกตั้ง
|
20 มกราคม 2025
|
วันสาบานเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
|
โดยจากข้อมูลปัจจัยสำคัญในการเลือกประธานาธิบดีจาก Goldman Sachs กล่าวว่า ประชาชนสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับการเติบโตของรายได้และราคาสินค้าและบริการเป็นหลัก แต่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับสงครามนอกประเทศและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ในภาพรวมประชาชนสหรัฐฯ มองว่าพรรค Republican มีความสามารถในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ดีกว่าพรรค Democrat
เทียบนโยบาย Democrat vs Republican
Policy
|
Democrat
|
Republican
|
งบประมาณ
| -
สนับสนุนสวัสดิการให้ชนชั้นล่างและกลาง
-
สนับสนุนสวัสดิการครอบครัวและการศึกษา
| -
ลดงบช่วยเหลือประเทศอื่น ผู้อพยพ และ พลังงานสะอาด
|
ภาษี
| -
ลดภาษีให้ชนชั้นกลาง เพิ่มภาษีผู้มั่งคั่ง
| |
การต่างประเทศ และ การทหาร
| -
เพิ่มการกีดกันทางการค้ากับจีนในสินค้าเชิงกลยุทธ์ ยังมีความตึงเครียดในหลายจุด แต่อาจลดความช่วยเหลือลง
| -
เน้นการกีดกันทางการค้ากับสินค้าทุกชนิดที่สหรัฐฯขาดดุลการค้า มีสัมพันธ์กับประเทศพันธมิตรน้อยลง
|
การควบคุมนิติบุคคล และ ตลาดทุน
| -
คงการควบคุมในระดับสูง บังคับใช้กฎหมายควบคุมการผูกขาด (antitrust)
| -
เปิดเสรีด้านการเงิน ลดการตรวจสอบนิติบุคคล
|
พลังงาน
| -
สนับสนุนพลังงานสะอาด และ โครงสร้างพื้นฐาน
| -
สนับสนุนการค้นหาพลังงาน เน้นความมั่งคั่งด้านพลังงานของประเทศ
|
จากตารางจะเห็นว่านโยบายของทั้ง 2 พรรคมีความแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน และถ้าหากไปเจาะลึกถึงความแตกต่าง สังเกตได้ว่า ถ้าหากไบเดนได้ครองตำแหน่งต่อ อาจลดการสนับสนุนต่อยูเครนและเพิ่มภาษีผู้มั่งคั่ง เน้นการกีดกันทางการค้ากับจีนเป็นหลัก และสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดต่อจากสมัยก่อนหน้า และถ้าหากมีการเปลี่ยนขั้วอำนาจ ทรัมป์กลับมาดำรงตำแหน่ง โดยจะทำการเพิ่มภาษีนำเข้ากับหลายชาติที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าด้วย จะเน้นนโยบายต่างประเทศที่เห็นผลประโยชน์ของสหรัฐฯ เป็นหลัก ลดการช่วยเหลือชาติพันธมิตรลง โดยเฉพาะยูเครน และให้เงินอุดหนุนการใช้พลังงานดั้งเดิม (Oil & Gas) เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของสหรัฐฯ
การเปลี่ยนตัวผู้สมัครประธานาธิบดีของทางฝั่ง Democrat ไม่น่าจะมีผลเรื่องการเปลี่ยนแปลงในทิศทางของนโยบายมากขนาดนั้น ยังคงยึดทิศทางนโยบายคล้ายกับไบเดนก่อนหน้านี้
ผลของนโยบายต่อตลาดหุ้น กลุ่มไหนที่จะได้รับประโยชน์จากการเลือกตั้ง
Source: Capital Group, มิ.ย. 2567
พรรคการเมืองแต่ละพรรคจะมีนโยบายที่ส่งผลดีต่อหุ้นในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน โดยถ้าพรรค Republican ชนะการเลือกตั้ง จะส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มธนาคารและการเงิน หุ้นกลุ่มบริการทางการแพทย์ หุ้นอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและอวกาศ หุ้นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่และหุ้นอุตสาหกรรมน้ำมันเละก๊าซธรรมชาติ จากนโยบายที่เน้นด้านการลดภาษีบริษัทขนาดใหญ่และลดการตรวจสอบควบคุมลง หรือถ้าพรรค Democrat ชนะการเลือกตั้ง จะส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มพลังงานสะอาด หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และหุ้นกลุ่มโทรคมนาคม จากนโยบายสนับสนุนพลังงานสะอาด โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่เกี่ยวข้อง และสานต่อนโยบาย Inflation Reduction Act
สถิติของตลาดหุ้นในช่วงก่อนและหลังเลือกตั้ง
Source: Franklin Templeton, มิ.ย. 2567
จากสถิติการเลือกตั้งสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 1932 ที่ผ่านมาตลาดหุ้นดัชนี S&P500 มักจะทำผลงานได้ดีที่สุดเมื่อพรรค Republican ได้ทั้งตำแหน่งประธานาธิบดีและครองสภา ได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 16% เนื่องจากฝั่ง Republican มีนโยบายที่สนับสนุนตลาดทุนมากกว่า แต่ถ้ามีการแบ่งสภาเกิดขึ้น ควรที่จะเป็นกรณีที่ Democrat ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี จะสร้างผลตอบแทนได้ราว 15% แต่ถ้าพรรค Republican ได้ประธานาธิบดี แต่พรรค Democrat ครองสภา ตลาดหุ้นจะสร้างผลตอบแทนได้เพียงแค่ 4% เป็นฉากทัศน์ที่นักลงทุนไม่อยากให้เกิดขึ้น
Source: J.P. Morgan, มิ.ย. 2567
และมองจากสถิติตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในอดีตตั้งแต่ปี 1980 ดัชนี S&P500 จะมีความผันผวนในช่วงก่อนการเลือกตั้งประมาณ 1 - 3 เดือน จากความไม่แน่นอนทางการเมือง แต่จะกลับมาสร้างผลตอบแทนได้ดีหลังจากผ่านเลือกตั้งไปแล้ว ซึ่งมาจากนโยบายต่าง ๆ ที่มีความชัดเจนและการเมืองที่มีเสถียรภาพมากขึ้นหลังการเลือกตั้ง
มุมมองการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ
ในภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรวมยังแข็งแกร่ง เงินเฟ้อสหรัฐฯ อยู่ในช่วงขาลง เข้าสู่เป้าหมายของธนาคารกลางที่ 2% มีโอกาสที่ Fed จะลดดอกเบี้ยในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้ แต่อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นมาในช่วงก่อนหน้ามาจากความคาดหวังการลดอัตราดอกเบี้ยและกระแส AI ซึ่งปัจจัยทั้ง 2 นี้สะท้อนผ่านระดับมูลค่าที่ตึงตัวของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทำให้ upside มีค่อนข้างจำกัด และอาจได้รับแรงกดดันเพิ่มจากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังในอนาคต
และจากสถิติที่ผ่านมาในระยะสั้นก่อนเลือกตั้ง 1 - 3 เดือน มักมีความผันผวนเกิดขึ้น แต่สถิติชี้หลังเลือกตั้งตลาดหุ้นมักปรับตัวขึ้นต่อ ดังนั้นอาจต้องรอให้เห็นภาพที่ชัดเจนช่วงใกล้เลือกตั้ง จากนั้นจึงมองหาโอกาสในอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากผลการเลือกตั้งอีกครั้ง ดังนั้น K-WEALTH จึงมีมุมมองเป็นกลางต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ
การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นสหรัฐฯ ทาง K-WEALTH มีมุมมอง Neutral โดยมีคำแนะนำ ดังนี้
นักลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ หรือมีแต่สัดส่วนน้อยกว่า 30% ของเงินลงทุนทั้งหมด แนะนำถือต่อ และรอจังหวะลงทุนในอนาคต
นักลงทุนที่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ และมีสัดส่วนมากกว่า 30% ของเงินลงทุนทั้งหมด แนะนำให้ทยอยขายบางส่วนเพื่อลดสัดส่วนให้ต่ำกว่า 30% ของเงินลงทุนทั้งหมด อาจนำเงินส่วนต่างไปลงทุนในกองทุนแนะนำอื่น ๆ
สำหรับกองทุนแนะนำอื่น มีดังนี้
ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-EUROPE-A(D) คว้าโอกาสหุ้นเติบโตในยุโรปทุกกลุ่ม ด้วยการคัดเลือกหุ้นแบบ Bottom-up หรือ K-EUSMALL ที่เน้นลงทุนในหุ้นขนาดเล็กของยุโรป เพื่อรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GHEALTH ลงทุนในบริษัท Healthcare ครอบคลุมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น Pharmaceutical, Healthcare Services และกลุ่ม Growth เช่น Medtech, Biotechnology
แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-VIETNAM ลงทุนหุ้นเวียดนามที่รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น บริโภคภายใน การเงิน อุตสาหกรรม