Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

โครงสร้างการบริหารงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน


ธนาคารมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ ทำหน้าที่ดูแลการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งมีการจัดประชุมทุกไตรมาสเพื่อกำหนดแนวทาง พิจารณาทบทวน ติดตามผลการดำเนินงาน และรายงานต่อคณะกรรมการธนาคาร


ธนาคารจัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน โดยมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารเป็นประธาน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล/เศรษฐกิจ (ESG) ภายใต้กรอบนโยบายการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีภารกิจในการกำหนดกรอบและแผนงาน การกำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน


ธนาคารมีฝ่ายบูรณาการความยั่งยืนองค์การ สายงานเลขาธิการองค์การ ทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานร่วมกับคณะทำงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากฝ่ายงานต่างๆ ภายในธนาคาร เพื่อร่วมกันดำเนินงานตามแนวทางที่คณะกรรมการธนาคารกำหนด ให้บรรลุเป้าหมายและตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย



การกำหนดประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ


ในปี 2566 ธนาคารพัฒนากระบวนการประเมินประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนในเชิงคุณภาพ เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และสิทธิมนุษยชน ที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมและความสัมพันธ์ทางธุรกิจของธนาคาร ซึ่งการประเมินประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนของธนาคารเป็นไปตามหลักการ “สาระสำคัญ 2 แง่มุม หรือ “Double Materiality” ได้แก่ แง่มุมที่ 1 สาระสำคัญเชิงการเงินต่อองค์กร (Financial Materiality) และแง่มุมที่ 2 สาระสำคัญเชิงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Impact)



กรอบและนโยบายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน


ธนาคารกสิกรไทยกำหนดกรอบและนโยบายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ เป้าหมาย และแผนการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กร


  • สิ่งแวดล้อม

    เป้าหมาย: การเป็นพลเมืองที่รับผิดชอบเพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน
    ความมุ่งมั่น: เรามุ่งมั่นพัฒนาความสัมพันธ์อันดีกับพนักงานและชุมชนเพื่อสร้างความมั่งคั่งผาสุก และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
    นโยบายการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน:

    • การเป็นธนาคารที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจากการดำเนินงานของธนาคารเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2573
    • การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในพอร์ตโฟลิโอของธนาคารให้สอดคล้องตามเป้าหมายของประเทศไทย และดำเนินการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมที่มีนัยสำคัญในมิติของสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปล่อยสินเชื่อโดยจะเร่งดำเนินการในส่วนที่เป็นไปได้ให้รวดเร็วขึ้น
    • การเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการให้สินเชื่อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
    • การให้บริการที่มากกว่าบริการทางการเงิน เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย

  • สังคม

    เป้าหมาย: การเป็นพลเมืองที่รับผิดชอบเพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน
    ความมุ่งมั่น: เรามุ่งมั่นพัฒนาความสัมพันธ์อันดีกับพนักงานและชุมชนเพื่อสร้างความมั่งคั่งผาสุก และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
    นโยบายการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน:

    • การสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงิน และการให้ความรู้ทางการเงิน
    • การรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้า
    • การเป็นที่ทำงานที่ดีที่สุดสำหรับการทำงาน การเรียนรู้และการเป็นผู้นำ ด้วยการปลูกฝังค่านิยมกรีนดีเอ็นเอและสร้างให้พนักงานมีความพร้อมต่ออนาคต
    • การเคารพสิทธิมนุษยชนและความแตกต่างหลากหลาย
    • การพัฒนาศักยภาพเยาวชนและดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และสาธารณประโยชน์

  • ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ

    เป้าหมาย: การเป็นธนาคารที่รับผิดชอบเพื่อสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืน
    ความมุ่งมั่น: เรามุ่งมั่นที่จะบรรลุหลักการ ESG เพื่อเป็นธนาคารที่มีสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่
    นโยบายการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน:

    • การดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาลที่ดีและการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม
    • การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางโดยสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินที่ตอบโจทย์ทุกด้านของลูกค้า
    • การบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพและพิจารณาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล



กลยุทธ์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน


ธนาคารประกาศความมุ่งมั่นสู่การเป็นผู้นำด้าน ESG ของกลุ่มธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ESG Aspiration) กลยุทธ์ทางธุรกิจด้าน ESG (KBank ESG Strategy) ปี 2566 เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักการด้าน ESG เน้นการวัดผลที่เป็นรูปธรรม และดำเนินงานตามหลักการและมาตรฐานสากล




บริการทุกระดับประทับใจ