ออมและลงทุน
ประสบการณ์บ้านๆ กับการเตรียมไปต่างแดนครั้งแรก
ทำงานมาก็หลายปี เห็นเพื่อนๆ ไปเที่ยวต่างประเทศกันมาก็ตั้งหลายคน แต่ไม่เคยได้ไปเที่ยวกับเขาสักที... ถามว่างานยุ่งเหรอ เปล่า! กลัวเปลืองเงินต่างหาก ก็แหม...ไปเที่ยวต่างประเทศแต่ละทีใช้เงินน้อยๆ ซะที่ไหนล่ะ สู้เอาเงินไปฝากไปลงทุนให้งอกเงยดีกว่า (ขี้เหนียวขนาดนี้ มีอีกมั้ย)
แต่เมื่อมีเหตุให้ต้องไปต่างประเทศครั้งแรกในชีวิต ตอนวัยเกือบ 40 ต้องเตรียมอะไรบ้างล่ะ เพื่อนที่ไปด้วยก็ไม่รู้พึ่งได้แค่ไหน ขู่ฟ่อๆ อยู่ทุกวันว่าจะปล่อยให้หลงอยู่โน่นไม่พากลับมา (ทีใครทีมัน เพราะตอนทีเราก็ทำไว้ไม่น้อย) บทความนี้เลยขอมาแชร์ ประสบการณ์บ้านๆ กับการเตรียมตัวเที่ยวต่างแดนครั้งแรก ส่วนใครมีประสบการณ์ในมุมอื่นๆ ก็มาแชร์ให้ K-Expert และเพื่อนๆ กันได้นะ
I : เตรียมเรื่องเดินทาง
1.1 เตรียมพาสปอร์ต
สิ่งแรกที่ต้องมีก่อนเลย คือ
พาสปอร์ต (หนังสือเดินทาง) เริ่มด้วยวิธีการแบบบ้านๆ ด้วยการถามผู้รู้อย่าง Google โดยเราสามารถทำการจองคิวทำพาสปอร์ตล่วงหน้าทางอินเตอร์เน็ตได้เลย (คลิก) ไม่ต้องไปรอคิวตั้งแต่เช้าตรู่ เพราะเราสามารถเลือกวันเวลาที่ตัวเองสะดวกได้ แค่ไปก่อนเวลาสัก 30 นาทีเท่านั้นเอง โชคดีที่เรามีไปทำงานแถวแนวรถไฟฟ้าบ้าง เลยจองสาขา MRT คลองเตย ให้ตรงกับวันที่ไปทำงานแถวนั้นพอดี
พอถึงวันนัด เราก็เดินทางไปพร้อม Power Bank คู่ใจ กะว่านั่งว่างรอทำเอกสารยาวแน่นอน แต่ผิดคาด เพราะเขามีคิวแยกสำหรับคนที่จองล่วงหน้าโดยเฉพาะ ไปถึงก็แจ้งเจ้าหน้าที่ แล้วเดินไปตามโต๊ะต่างๆ น่าจะสัก 20 นาทีก็เป็นอันเสร็จ เดินทางกลับมาทำงานได้ เพื่อนๆ ที่ออฟฟิศแทบไม่ทันสังเกตด้วยซ้ำว่าเราหายไปข้างนอกมา
หลังจากนั้นสัก 1 สัปดาห์ พาสปอร์ตที่ทำไว้ก็ถูกส่งมาถึงบ้านทางไปรษณีย์เลย เร็วทันใจทีเดียว (บังเอิญประเทศที่ไปไม่ต้องใช้วีซ่า แต่เห็นเพื่อนบอกว่าก็ไม่ได้ทำยากนะ ถ้าใครจะทำก็ลองถาม Google ดูนะ)
1.2 จองตั๋วเครื่องบิน
พอได้พาสปอร์ตแล้ว สิ่งต่อมาคือจองตั๋วเครื่องบิน บอกเลยว่า อะไรก็เกิดขึ้นได้ ตอนแรกก็ไม่นึกว่ามีอะไรเพราะตั้งแต่รู้ตัวว่าต้องเดินทางก็เช็กเที่ยวบินและราคาคร่าวๆ ไว้แล้ว แต่พอเอาเข้าจริง เที่ยวบินที่เล็งไว้ตอนแรกดันเต็มหมดแล้ว เลยต้องรีบช่วยกันหาเที่ยวบินใหม่กับเพื่อน ๆ สรุปคือเที่ยวบินตรงราคาแพงมาก เลยต้องยอมเลือกแบบต่อเครื่องอีกประเทศหนึ่งก่อน
แล้วพอจะจ่ายค่าตั๋วเงินในบัญชีก็ดันไม่พออีก (แน่ล่ะก็ไม่คิดว่าตั๋วจะแพงขนาดนี้) เพราะด้วยความเป็นคนขี้เหนียวแทบไม่ทิ้งเงินไว้ในออมทรัพย์เฉยๆ เลย เงินแทบทุกบาทก็เก็บไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่ต้องขายคืนก่อนแล้วรออีก 1 วันทำการถึงจะได้เงิน แถมตอนนั้นก็เที่ยงวันศุกร์ ถ้าขายคืนกว่าจะได้เงินเข้าบัญชีก็ตั้งวันจันทร์ ตอนนั้นคงไม่เหลือตั๋วให้ซื้อแน่ๆ
โชคดีเป็นคนพกบัตรเครดิตติดตัวทุกวัน เลยจ่ายด้วยบัตรไปก่อน แล้วก็เพิ่งเห็นข้อดีของการใช้บัตรเหมือนกันว่าคะแนนสะสมก็ได้ ค่าตั๋วที่จ่ายไปอีกไม่กี่วันเพื่อนก็โอนมา เราก็เอาเงินไปเก็บไว้ในกองทุนที่เสี่ยงต่ำๆ ได้ผลตอบแทนมานิดๆ หน่อยๆ แล้วอีกสักเดือนกว่าๆ ค่อยไปจ่ายค่าบัตรตามกำหนด ไม่เสียดอกเบี้ยบัตรแถมได้คะแนนและผลตอบแทนอีกต่างหาก (เก็บทุกเม็ดจริงๆ)
II : เตรียมเรื่องเงินๆ ทองๆ
หลังจากเจ็บตัวกับค่าตั๋วแล้ว คราวนี้เรื่องเงินๆ ทองๆ ต้องไม่ให้พลาดอีก โดยเริ่มจาก
แลกเงินไปสักเท่าไรดี:
สำหรับคนที่ไม่เคยไปต่างประเทศ การต้องคิดว่า ไปถึงแล้วจะมีค่ากินมื้อละเท่าไรบอกเลยว่าไม่ง่าย แค่คิดว่าจะกินอะไรบ้างแต่ละวันก็ทำเราเหนื่อยไม่เบากับการหาร้านอาหาร โชคดีที่เพื่อนร่วมทริปของเราถนัดเรื่องกินและการสรรหาร้านอร่อย เราเลยปล่อยให้เขาจัดการวางแผนแล้วบอก Budget มาเลย ส่วนเราก็รอแลกเงินก็พอ เช็กไปเช็กมาเพิ่งรู้ว่า
ธนาคารกสิกรไทยมีตัวช่วยให้ได้อัตราแลกเงินที่ถูกกว่าหลายๆ ที่ มีทั้ง Multi-Currency Wallet ที่ใช้บัตรและแอปพลิเคชัน
YouTrip โดยแลกเงินเก็บไว้ แล้วค่อยนำบัตรไปรูดใช้งานที่ต่างประเทศ หรือจะถือ
บัตรเดบิต JOURNEY ไปแสดงที่สาขาหรือจุดแลกเงินของธนาคารกสิกรไทยเพื่อรับสิทธิอัตราแลกเงินพิเศษได้
เปรียบเทียบตัวเลือกแลกเงินที่เหมาะกับเรา ได้ที่ >>
คลิก
ถือบัตรเครดิต ใบไหนไปดี:
แลกเงินสดไว้แล้วแต่ก็อยากพกบัตรเครดิตไปด้วย เผื่อต้องรูดต้องจ่ายค่าใช้จ่ายที่ไม่อยู่ในแผน พอเช็กสิทธิประโยชน์ของบัตรเครดิตกว่าสิบใบที่มีอยู่แล้วก็ไปเจอว่า
บัตรเครดิต THE PASSION ที่ยอดการใช้จ่ายที่ต่างประเทศ
ได้คะแนน x3 ถือว่าเยอะเลยทีเดียวนะ ที่สำคัญอย่าลืมโทร Call Center เพื่อแจ้งเปิดการใช้บัตรที่ต่างประเทศด้วยนะ สมัยนี้ไม่ต้องกลัวว่าใช้บัตรที่ต่างประเทศแล้วจะโดนมิจฉาชีพแอบคัดลอกข้อมูลหรือถูกแอบเอาบัตรไปรูดอะไรโดยเราไม่รู้ตัว เพราะเราสามารถเปิดแจ้งเตือนการใช้บัตรทาง K PLUS (Mobile Banking Application) ได้แม้จะใช้บัตรที่ต่างประเทศ แค่ K PLUS จะถูกจำกัดการทำธุรกรรมเท่านั้นเมื่อเราเปลี่ยนซิม โดยเราสามารถใช้งาน K PLUS ได้ผ่าน Wi-Fi
SIM มือถือฟรี มีให้ใช้:
เพราะการสื่อสารขาดไม่ได้ ยังไงไปที่โน่นแม้ไม่ใช้โทรศัพท์โทรเข้าโทรออก ก็ต้องใช้สัญญาณ Internet อยู่ดี SIM มือถือสำหรับต่างประเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็น ดีที่เรามีบัตรเดบิต JOURNEY พอวันหยุดว่างๆ ก็เลยแวะศูนย์ DTAC เพื่อรับสิทธิ SIM GO INTER ได้ฟรีไม่เสียเงิน ส่วนเพื่อนๆ ที่ไปด้วยนะเหรอ บอกเลยตอนเห็นเดินไปซื้อ SIM ที่สนามบิน นี่แอบสะใจเบาๆ
เดินทางทั้งทีต้องอุ่นใจ :
คืนก่อนบินด้วยความที่เป็นการเดินทางครั้งแรก เราก็ Search หา Review ที่เที่ยวไปเรื่อยๆ แล้วไปสะดุดตรงที่มีคนแชร์ว่าเคยมีคนไทยไปประสบอุบัติเหตุที่ต่างประเทศ แล้วค่าใช้จ่ายแบบว่าแพงกว่าบ้านเราหลายเท่าตัว เลยรีบโทรหาเพื่อนว่าจะทำยังไงดี โชคดีที่ทุกคนใช้ K PLUS เลยรีบกดซื้อ ประกันเดินทางระหว่างประเทศ ทันทีบนมือถือคืนนั้นเลย ส่วนกรมธรรม์ก็จะถูกส่งมาทาง e-mail ของเราเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
III : ก้าวเท้าออกจากบ้านสู่ต่างแดน
เมื่อทุกอย่างได้วางแผนและเตรียมพร้อมไว้หมดแล้ว คืนก่อนเดินทางก็นอนหลับเอาแรงได้อย่างเต็มที่ ตื่นเช้ามาเมื่อพร้อมลากกระเป๋าออกจากบ้าน จะรบกวนคนที่บ้านขับรถไปส่งสนามบิน เที่ยวบินที่เลือกไว้ก็เช้ามาก แล้วยังต้องถึงสนามบินก่อนเวลาตั้ง 2 ชั่วโมงอีก เลยเรียกใช้บริการ
Grab ดีกว่า เพราะได้ผูกบัตรเดบิต JOURNEY กับ
GrabPay ไว้แล้ว ก็เลยได้ส่วนลดค่าเรียกรถไปสนามบินถึง 100 บาทเลยนะ
พอไปถึงสนามบินเจอเพื่อนๆ บางคนก็เริ่มพูดขึ้นมาว่าเงินสดที่แลกไปจะพอไหม แล้วบัตรที่เตรียมไปจะใช้ได้ทุกที่เหรอ เกิดอยากซื้ออยากกินอะไรบ้านๆ ที่เขาไม่รับบัตรจะทำยังไง ก็จบลงที่ว่าพากันเดินไปแลกเงินเพิ่มที่
เครื่องแลกเปลี่ยนเงินอัตโนมัติ (Automated Currency Exchange Machine) ซึ่งอยู่ในสนามบินสุวรรณภูมินี่แหล่ะ อัตราอาจจะไม่ได้ถูกเท่าบัตรหรือแอปก่อนหน้านี้ แต่ก็ถูกกว่าเคาน์เตอร์แลกเงินของธนาคารนะเมื่อสบายใจกันแล้วก็เตรียมขึ้นเครื่องได้
เหตุเกิดเมื่อแวะต่อเครื่องที่ประเทศกลางทาง
เพราะเป็นการบินแบบต่อเครื่องก็เลยต้องแวะประเทศกลางทางสักพัก แต่พอไปถึงเท่านั้นแหล่ะทุกคนก็นึกขึ้นได้ว่า ไม่มีใครแลกเงินสดประเทศนี้มาเลย ความรู้สึกประมาณว่าพวกเราคือกลุ่มคนที่จนที่สุดในประเทศนี้ เพราะแค่เงินสดจะซื้อน้ำสักขวดยังไม่มีเลย ไม่ต้องพูดถึงเรื่องซื้อขนมอร่อยๆ หรือสินค้าเด็ดๆ เลย จะรูดบัตรเครดิตก็มองหน้ากันว่าอย่าเลยเสียดายค่าธรรมเนียม 2.5% แต่เมื่อทนต่อความหิวและสิ่งยั่วยุกันไม่ไหว ตอนกำลังจะหยิบบัตรเครดิตออกจากกระเป๋า ก็เหลือบไปเห็นบัตรเดบิต JOURNEY และบัตร YouTrip ที่สามารถรูดใช้จ่ายได้โดยหักเงินบาทในบัญชี ซึ่งไม่มีค่าธรรมเนียม 2.5% และได้อัตราแลกเงินพิเศษ ณ ตอนใช้จ่ายด้วย
แต่สุดท้ายทุกครั้งที่จะใช้จ่ายก็ต้องคิดในใจว่าราคาสินค้าที่ติดอยู่นั้น คิดเป็นเงินไทยกี่บาท แพงไปไหม ต้องบอกตัวเองว่า
“อย่าใช้จ่ายเกินตัว ระวังเป็นหนี้ก่อนกลับบ้าน”
เคล็ดลับ หาของกินก่อนจากกัน
เรื่องสุดท้ายที่อยากจะแชร์มากๆ เลย ซึ่งไม่เกี่ยวกับเงินเลยสักนิด นั่นคือเรื่องกิน... เพราะไม่ว่าจะไปกินอาหารร้านไหนต่อให้มีเมนูเป็นภาษาอังกฤษ ก็ไม่ได้ช่วยอะไร ไม่ใช่เพราะอ่านไม่ออกหรอกนะ ต่อให้แปลได้ทุกคำ ก็ไม่รู้ว่าหน้าตาอาหารเป็นอย่างไร น่ากินหรือเปล่า ซึ่งสิ่งที่ช่วยได้มากๆ คือ Google, Facebook และ Instagram เพราะแค่พิมพ์ชื่อร้านก็จะมีรูปอาหารสวยๆ พร้อม Review อีกนิดหน่อยให้เราดู แล้วก็แค่โชว์รูปอาหารที่อยากกินให้พนักงานและสั่งตามนั้นเท่านั้นเอง ผมว่าดีกว่า Google Translate เยอะเลยนะ ถ้าเป็นเรื่องกิน
นานๆ ทีได้เที่ยวต่างประเทศก็สนุกดี ได้เห็นอะไรใหม่ๆ ที่ไม่เคยเจอในบ้านเรา แต่แน่นอนเที่ยวทุกครั้งย่อมใช้เงิน ต้องรู้จักตั้งเป้าหมายเก็บเงินท่องเที่ยว อย่าได้คิดใช้บัตรเครดิตจนเกินตัวเพราะกลับมาอาจกลายเป็นหนี้ตัวโตไปอีกนาน และถ้าจะให้ดีก็ควรติดตามเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ อย่างการแลกเงินหรือประกันเดินทาง ไว้ด้วยนะครับ
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง :
บัตรเดบิต Journey ประกันเดินทาง บัตรเครดิต The Passion
บทความที่เกี่ยวข้อง :